gedgoodlife

ทำยังไงดี? ไวรัสโรต้า ระบาดหนัก ไม่มียาแก้!

  ไวรัสโรต้า (Rotavirus) คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ซึ่งอาการท้องร่วง หรือท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า จะมีอาการถ่ายท้อง หรือถ่ายอุจจาระเหลวมากผิดปกติควรระวังไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำจนช็อก โดยในเด็กเล็ก ๆ อาจมีอาการรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ ซึ่งต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ข้อเท็จจริงของ ไวรัสโรต้า • เกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่มักแพร่ระบาดมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง หรือในช่วงฤดูหนาวของทุก ๆ ปี • ท้องร่วงจากไวรัสโรต้า มักเกิดในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 เดือน – 2 ปี แต่ในเด็กโต หรือในผู้ใหญ่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่มักจะเจอน้อย หรืออาการไม่รุนแรงเท่ากับในเด็กเล็ก • การติดเชื้อไวรัสโรต้าครั้งแรกมักมีอาการรุนแรง แต่การติดเชื้อครั้งต่อไปอาการจะรุนแรงน้อยลง อาการท้องร่วง ท้องเสีย จาก ไวรัสโรต้า อาการท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า จะมีอาการใกล้เคียงกับอาการท้องร่วงทั่วไป เช่น อาหารเป็นพิษ ( Link : http://www.gedgoodlife.com/blogs/1268-อาหารเป็นพิษ ) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสอื่น ทำยังไงดี? ไวรัสโรต้า ระบาดหนัก ไม่มียาแก้!

อยากลำไส้ดี ย่อยง่าย ต้องกินและเลี่ยง 6 เมนูนี้!

  6 เมนูอาหารที่ย่อยได้ง่าย เป็นมิตรต่อลำไส้ ได้แก่ 1. ข้าวต้มหมูสับ 2. เต้าหู้ทรงเครื่อง 3. แกงจืดวุ้นเส้น 4. ซุปมักกะโรนี 5. ผัดผักรวมมิตร 6. สับปะรด มะละกอ ข้อดี ของอาหารที่ย่อยง่าย 1. ดูดซึมง่าย 2. ขับถ่ายง่าย 3. เคี้ยวง่าย 4. สบายท้อง 5. แคลอรีต่ำ 6. ดีต่อผู้ป่วย 6 เมนูอาหารที่ย่อยยาก ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 1. ของทอด ของมัน 2. อาหารไขมันสูง 3. เมนูต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของกะทิสูง 4. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 5.เนื้อสัตว์ติดมัน 6. นมวัว ข้อเสีย ของอาหารที่ย่อยยาก 1. ท้องอืด ท้องเฟ้อ 2. มีลมในท้อง อยากลำไส้ดี ย่อยง่าย ต้องกินและเลี่ยง 6 เมนูนี้!

ตัดพ้อ หดหู่… ภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงวัย ควรดูแลอย่างไรดี?

  ภาวะซึมเศร้า เป็นโรคที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โรคที่ทำร้ายทั้งร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยนี้ ต้องใช้ความใส่ใจอย่างมากจึงจะสามารถสังเกตเห็นได้ ข้อมูลของกรมสุขภาพจิตระบุว่า คนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาถึง 1.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน 62% ส่วนอันดับที่ตามมาอีก 26.5% นั้นเป็นวัยชรา หรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยมีแนวโน้มว่าอัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมากกว่าคนในกลุ่มอายุอื่น ๆ เนื่องจากผู้สูงอายุมีปัจจัยในการเกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่ากลุ่มอายุอื่นมาก ทดสอบอาการซึมเศร้าได้ที่ —> แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ซึ่งสาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักเกิดจาก… • โรคทางกายในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นต้น • ผลข้างเคียงจากยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ • สารสื่อประสาทในสมองบางชนิดลดน้อยลง • มีเหตุการณ์ร้ายแรงกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคร้ายแรง มีปัญหาด้านการเงิน ขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและคนรอบข้าง รู้ได้อย่างไรว่าผู้ใหญ่ในบ้านมี ภาวะซึมเศร้า? ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า มักมีอาการดังต่อไป • เบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่าง ๆ น้อยลง หรือหมดความสนใจ ตัดพ้อ หดหู่… ภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงวัย ควรดูแลอย่างไรดี?

“วิกฤตชีวิต ตกงาน จนจิตตก” คิดบวกอย่างไร ให้ชีวิตดี๊ดี

  เมื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงาน ทุกคนคงคาดหวังว่างานที่ทำอยู่จะเป็นงานที่ดี มั่นคง เป็นชีวิตที่มีความสุข หลายคนทุ่มเทชีวิตเพื่องาน เพื่อรากฐานชีวิต และอนาคตที่มั่นคง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างกลับไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังเสมอไป เพราะเราอาจ ตกงาน ได้ไม่โดยไม่รู้ตัว! งานที่เหมือนจะดีสมบูรณ์สำหรับเรา หน้าที่การงานที่ดูเหมือนกำลังไปได้ดีก็อาจจะหยุดชะงักลงไป หลายคนตกงานด้วยความสมัครใจ เพราะค้นพบว่างานที่ทำไม่ใช่สำหรับตัวเอง แต่หลายคนก็ตกงานโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาก่อน จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เมื่อตกงาน สภาพจิตใจเป็นเรื่องที่ต้องเยียวยา ดูแลกันให้ดีที่สุด หลายคนตกงาน จิตตก แต่อย่าปล่อยให้ความเครียดนี้อยู่กับเรานานเกินไป ในช่วงที่กำลัง ตกงาน ท้อแท้ เรามามองหามุมดี ๆ คิดบวกให้ชีวิตเดินหน้าต่อไปกันเถอะ ตกงานทำให้ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่ – ในช่วงที่เรามีงานทำ เราอาจจะทำงานในหน้าที่ของตัวเองอยู่ จนไม่ดิ้นรน หรือไม่เคยรู้เลยว่าเรายังทำอะไรได้อีกมากมายหลายอย่างนัก เราอาจพบว่างานที่เราเคยทำใช้ศักยภาพความสามารถของเราไปไม่ไม่ถึง 10% เลยก็เป็นได้ เพราะในยามที่เราลำบาก มนุษย์เราจะดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาได้อีกมากมาย ขอเพียงอย่าวนเวียนคิดว่าตกงาน ท้อแท้ เครียด แล้วก็จมอยู่กับความคิดนี้ ตกงานทำให้มีโอกาสเริ่มต้นธุรกิจ เป็นเจ้านายตัวเอง – จากศักยภาพที่เราค้นพบในตัวเอง อาจเป็นโอกาสที่เราจะได้นำมาใช้ หรือหลายคนเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง อาจจะเริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามกำลังของตัวเอง เมื่อชำนาญขึ้น “วิกฤตชีวิต ตกงาน จนจิตตก” คิดบวกอย่างไร ให้ชีวิตดี๊ดี

MIS-C ภาวะหลังหายป่วยโควิด-19 ในเด็ก ที่ผู้ปกครองต้องเฝ้าระวัง!

  ภาวะ MIS-C (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children) คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก หลังหายจากโรคโควิด-19 เด็กจะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรค จนถึงหลังติดเชื้อ 2-6 สัปดาห์ อาการที่พบในภาวะ MIS-C มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส นานเกิน 24 ชั่วโมง มีผื่นขึ้นตามตัว ปากแดง ตาแดง ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว บางรายมีหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่… Facebook : GEDGoodLife Nutroplex : nutroplexclub Twitter      : @gedgoodlife Line          : @gedgoodlife Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี TikTok      MIS-C ภาวะหลังหายป่วยโควิด-19 ในเด็ก ที่ผู้ปกครองต้องเฝ้าระวัง!

“โรคเครียดลงกระเพาะ” ภัยใกล้ตัวของมนุษย์เงินเดือน

  ผ่อนคลายบ้าง… เพราะความเครียดสะสมคือจุดเริ่มต้นของโรคร้ายหลายโรคเลยทีเดียว และหนึ่งในโรคยอดนิยมที่เกิดจากความเครียดสะสมเป็นประจำทุกวันของเหล่ามนุษย์เงินเดือน หรือชาวออฟฟิศนั้น ก็คือ “โรคเครียดลงกระเพาะ” นั่นเอง โรคนี้เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดอาการ ปวดท้อง อึดอัดท้อง ระบบการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป… มาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น ว่าจะมีอาการ วิธีดูแลรักษา อย่างไรบ้าง… ทำความรู้จักกับ โรคเครียดลงกระเพาะ โรคเครียดลงกระเพาะ (Nervous stomach) โรคยอดนิยมของคนวัยทำงาน ซึ่งโรคเครียดลงกระเพาะ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา (ไม่มีแผลที่กระเพาะอาหาร) แต่เป็นการสั่งการของสมอง ยิ่งเครียดก็ยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะเกิดการบิดตัว และหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ ทำให้เมือกในกระเพาะอาหารเสียสมดุล และเกิดการระคายเคืองในช่องท้องได้ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือ 18-35 ปี เกิดจากกลุ่มช่วงอายุดังกล่าว จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง เช่น เข้ามหาวิทยาลัย เข้าทำงาน แต่งงาน หรือมีลูก จึงเกิดความเครียด และกระตุ้นให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน และมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าที่จะมีอารมณ์แปรปรวนได้มากเสี่ยงต่อโรค โรคเครียดลงกระเพาะ เกิดจากสาเหตุใด? “ความเครียดสะสม” คือสาเหตุหลักของโรคเครียดลงกระเพาะ เพราะเมื่อเราเครียดมาก ๆ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดความแปรปรวน ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก และกระเพาะอาหารจะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลทำให้ระบบการทำงานย่อยอาหารแย่ลงได้ ผลกระทบอื่น “โรคเครียดลงกระเพาะ” ภัยใกล้ตัวของมนุษย์เงินเดือน

จัดบ้านยังไงให้เป็นพื้นที่ “เซฟโซน” สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

  เคยเป็นไหม กลับเข้ามาในบ้านทีไร มีอาการภูมิแพ้กำเริบทุกที! ทั้งน้ำมูกไหล ไอ จาม ลามไปถึงคันตามผิวหนัง อาการภูมิแพ้เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะ ภายในบ้านเรามีแต่ฝุ่น เชื้อโรค นั่นเอง ฉะนั้นถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องปรับเปลี่ยน จัดบ้านใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม เพื่อให้บ้านเป็นพื้นที่ “เซฟโซน” สำหรับชาวภูมิแพ้ ด้วย 6 วิธีนี้ จัดห้องให้โล่งอย่ามีของเยอะ เพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่น ซักผ้าปูที่นอนทุก 1-2 อาทิตย์ เพื่อกำจัดไรฝุ่น เลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บกักฝุ่นง่าย เช่น โซฟา พรม ผ้าม่าน ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ ช่วยลดฝุ่นในบ้านได้เป็นอย่างดี หมั่นล้างแอร์ทุก 6 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และฝุ่น ปลูกต้นไม้ฟอกอากาศ เช่น ต้นพลูด่าง ลิ้นมังกร เดหลี อ่านเพิ่มเติม :  ฝุ่นไรมันเยอะ! มาดูวิธีทำความสะอาดบ้าน ให้ห่างไกลจากภูมิแพ้กันดีกว่า 9 เคล็ดลับกำจัดฝุ่นในห้องนอน ห่างไกลภูมิแพ้ ลดอาการคันยุบยิบตามร่างกาย 8 ต้นไม้ไล่ภูมิแพ้ จัดบ้านยังไงให้เป็นพื้นที่ “เซฟโซน” สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

8 วิธีเด็ด! สร้าง ภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่ต้นปี

  ใครบ้างจะอยากป่วย เพราะนอกจากจะรู้สึกทรมานแล้ว ยังทำให้เสียเวลาในการพักรักษาตัวอีกด้วย แต่รู้หรือไม่ว่า เพียงแค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง ก็สามารถช่วยสร้าง ภูมิคุ้มกันโรค และลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยได้แล้ว มาดูกันดีว่าวิธีเด็ดๆ ในการสร้างภูมิคุ้มกันที่เรานำมาฝากนั้นมีอะไรบ้าง ไปเริ่มต้นสู่การมีสุขภาพดีกันตั้งแต่ต้นปีเลย! 8 วิธีสร้าง ภูมิคุ้มกันโรค 1. ออกกำลังกายทุกวัน การออกกำลังกายเป็นยาครอบจักรวาลที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ให้คุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาที จะทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคที่มองไม่เห็น และช่วยลดโอกาสการเป็นโรคสุดฮิตอย่างไข้หวัด ลงไปได้เยอะ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็สามารถช่วยให้คุณหายป่วยเร็วขึ้นได้ 2. ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ การดื่มน้ำเปล่า นอกจากจะทำให้ร่างกายชุ่มชื้นแล้ว ยังเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญในการช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี การดื่มน้ำเมื่อไม่สบาย ยังช่วยกำจัดโรคที่กำลังก่อตัวขึ้นได้อีกด้วย แต่ต้องระวังว่า อย่าดื่มน้ำระหว่างทานอาหารมากเกินไป เพราะจะทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อขึ้นมาได้เหมือนกัน 3. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การอดนอนจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น การนอนหลับอย่างเพียงพอในแต่ละคืน ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้ 4. เลิกสูบบุหรี่ พยายามหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ การสูบบุหรี่ หรือแม้แต่การสูดควันบุหรี่เข้าปอด สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายมากมาย ทั้งโรคปอด โรคมะเร็ง รวมไปถึงโรคไอเรื้อรัง และทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง 8 วิธีเด็ด! สร้าง ภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่ต้นปี

“ถึงป่วยก็เที่ยวเมืองนอกได้” จะ เตรียมยา อย่างไร ไม่ให้โดนจับ!

  คุณเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมหมดแล้ว ซื้อตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม ลิสต์รายการสถานที่ที่อยากไป รวมถึงอาหารที่ต้องชิม แล้วสุขภาพของคุณล่ะ ได้เตรียมหรือยัง? การ เตรียมยา ติดตัวไปต่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งยาประจำตัว เช่น ยารักษาโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน และยาสามัญทั่วไป เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด แต่ยาเหล่านี้ก็อาจสร้างปัญหาให้กับการเดินทางของคุณได้อย่างไม่คาดฝันเช่นกัน มาดูกันดีกว่า เตรียมยา ไปเที่ยวแบบไหนให้ปลอดภัยไร้ปัญหา 1. ตรวจสอบกฎหมายระหว่างประเทศในการนำเข้ายา แต่ละประเทศมีกฎหมายในการใช้ยาที่แตกต่างกัน ยาที่ถูกกฎหมายในบ้านเราอาจจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศที่คุณกำลังจะเดินทางไปก็ได้ คุณจึงควรตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือโทรไปสอบถามกับทางสถานทูตให้แน่ใจตั้งแต่ก่อนเดินทางว่า ยาที่คุณจำเป็นต้องใช้ หรือกำลังจะพกไปด้วย จัดอยู่ในกลุ่มสารต้องห้ามของประเทศนั้นหรือไม่ ถ้าคุณคงไม่อยากมีปัญหาที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เพราะยาแค่ไม่กี่เม็ดหรอก จริงมั้ย? 2. พกใบรับรองแพทย์เป็นภาษาอังกฤษไปด้วยทุกครั้ง หากคุณป่วย หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาอยู่เสมอ การพกใบรับรองแพทย์ติดตัวไปเที่ยวด้วย ก็จะช่วยลดความกังวลเรื่องการพกยาได้มากทีเดียว อย่าลืมว่าใบรับรองแพทย์นี้ต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วยนะ 3. ห้ามแกะยาออกจากฉลากหรือซองยาเด็ดขาด! คนที่ต้องทานยาอยู่เป็นประจำอาจจะเคยชินกับการแกะยาออกจากแผงมาจัดเป็นชุดเองเพื่อความสะดวกในการทานยาแต่ละครั้ง แต่ถ้าหากคุณกำลังจะเดินทางไปเมืองนอกแล้วละก็ เราขอแนะนำว่าอย่าทำดีกว่า เพราะเมื่อแกะยาออกจากแผงแล้ว คุณก็จะไม่มีหลักฐานที่ช่วยระบุว่ายาที่คุณนำไปนั้นเป็นยาชนิดใดอีกต่อไป 4. ตรวจดูวันหมดอายุของยา การกินยาหมดอายุไม่ช่วยให้หายป่วย และยังอาจมีอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนี้ การซื้อยาที่ต่างประเทศก็ยุ่งยากกว่าการซื้อยาในบ้านเรามาก “ถึงป่วยก็เที่ยวเมืองนอกได้” จะ เตรียมยา อย่างไร ไม่ให้โดนจับ!

อวัยวะบริเวณหน้าท้อง มีอะไรบ้าง? และ 5 วิธีดูแลระบบทางเดินอาหารให้สุขภาพดี แข็งแรง!

  ข้างขวา – ตับ (Liver) – ถุงน้ำดี (Gallbladder) – ลำไส้เล็ก (Duodenum) – ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cecum) – ไส้ติ่ง (Appendix) ข้างซ้าย – กระเพาะอาหาร (Stomach) – ม้าม (Spleen) – ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดลงล่าง (Ascending Colon) บริเวณตรงกลาง – หลอดอาหาร (Esophagus) – ลำไส้ตรง (Rectum) – ช่องทวารหนัก (Anal canal) 5 วิธีดูแลระบบทางเดินอาหาร ให้แข็งแรง! – รับประทานอาหาร ให้ตรงต่อเวลาทุกวัน – รับประทานผัก-ผลไม้ หลากสี มีเส้นใยสูง – ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว – ลดละเลิก อวัยวะบริเวณหน้าท้อง มีอะไรบ้าง? และ 5 วิธีดูแลระบบทางเดินอาหารให้สุขภาพดี แข็งแรง!

ไอจนเสียงหาย! จะดูแลอย่างไรดีนะ?

  เคยเจอปัญหานี้มั้ย กำลังพูดอยู่ดี ๆ ไอ ไม่กี่ที แล้วเสียงก็หายไปดื้อ ๆ เลย จะใช้ยาแก้ไอมารักษา ก็อาจไม่ทันการ เพราะคุณอาจอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องใช้เสียงต่อ อย่างเช่น กำลังนำเสนองานอยู่ ก็เป็นได้! แถมการ ไอจนเสียงหาย ยังอาจเป็นสัญญาณของอาการสายเสียงอักเสบอีกด้วย! เราจะมีวิธีการดูแลรักษาไม่ให้ไอจนเสียงหายได้อย่างไรบ้าง มาดูกันดีกว่า วิธีแก้อาการ ไอจนเสียงหาย 1.ดื่มน้ำเยอะ ๆ การดื่มน้ำเปล่าเป็นตัวช่วยที่ง่ายที่สุด และหาได้ในทุกสถานการณ์ คุณควรดื่มน้ำอย่างน้อยราว 3 ลิตร ต่อหนึ่งวัน และควรดื่มเฉพาะน้ำเปล่าธรรมดา ที่อุณหภูมิห้อง หรือถ้าอาการไอของคุณมีเสมหะปนออกมา ก็ควรดื่มน้ำอุ่นในอุณหภูมิที่พอดี ไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะน้ำเย็นจะยิ่งทำให้เกิดอาการระคายคอ แล้วคุณก็จะไอมากขึ้นไปอีก! 2.ดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ เพราะช่องปากและลำคอของคนเรานั้น มีแบคทีเรีย หรือไวรัสอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแบคทีเรียหรือไวรัสเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้เกิดอาการไอได้ การรักษาความสะอาดของช่องปากอยู่เสมอ และกลั้วคอด้วยน้ำผสมเกลือวันละ 2-3 ครั้ง จะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ 3.งดอาหาร เราไม่ได้บอกให้คุณอดอาหาร แต่การงดอาหารในที่นี้ หมายถึงการงดอาหารที่สร้างความระคายเคืองให้กับคอของคุณ ได้แก่ ของมัน ไอจนเสียงหาย! จะดูแลอย่างไรดีนะ?

6 อาหารต้องห้าม! เมื่อป่วยเป็นกรดไหลย้อน

  1. อาหารที่มีแก๊สมาก เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด อาหารรสเผ็ดจัด หรือถั่ว เพราะอาหารกลุ่มนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำย่อยมากยิ่งขึ้น 2. อาหารไขมันสูง เช่น ของทอด ของมัน ช็อกโกแลต ฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ นม เนย ชีส ไอศกรีม หรือไขมันจากเนื้อสัตว์ เป็นต้น เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้ 3. อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม กิมจิ ซูชิบางชนิดที่มีผักดอง ล้วนมีส่วนเพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดอาการจุดเสียดแน่นท้องได้ 4. ผักที่มีกรดแก๊สมาก เช่น หอมหัวใหญ่ดิบ ผักดิบทุกชนิด กระเทียม พริก พริกไทย หอมแดง เปปเปอร์มินต์ หรือสะระแหน่ เพราะผักเหล่านี้จะไปเพิ่มกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร 6 อาหารต้องห้าม! เมื่อป่วยเป็นกรดไหลย้อน

เบื่ออาหารทุกที ที่เป็นไข้หวัด ทำยังไงดีนะ?

  หลายครั้งที่เป็นไข้ อาหารรสเลิศ หรือของหวานสุดโปรวางตรงหน้า ก็กลับกินไม่ลงสะงั้น ต่อให้อร่อยแค่ไหนกลับรู้สึกว่าต้องฝืนกินเข้าไป หรืออาจเหม็นคาวอาหารทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาการ เบื่ออาหาร จากไข้หวัดนี้ จึงนับได้ว่า เป็นปัญหาต่อสุขภาพที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ ทำไมจึง เบื่ออาหาร? ภาวะ เบื่ออาหาร (Loss of Appetite) คือ อาการไม่รู้สึกอยากกินอาหาร ความต้องการอาหารลดลง ไม่อยากกินหรือปฏิเสธอาหารที่เคยชอบ รวมถึงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด หรือขาดสารอาหาร เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ • ปัญหาสุขภาพกาย มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย เช่น ไอ มีไข้ อ่อนเพลีย หรือจาม เมื่อรักษาตัวจนหายเป็นปกติ ก็จะกลับมารู้สึกอยากอาหาร และกินได้ตามเดิม โรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน สมองเสื่อม ตับวายเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เชื้อเอชไอวี ร่วมถึงการตั้งครรภ์ในช่วงแรกด้วย • เบื่ออาหารทุกที ที่เป็นไข้หวัด ทำยังไงดีนะ?

อาหารใจ แค่กินดี หัวใจก็ดีตาม

  “หัวใจ” อวัยวะส่วนเล็ก ๆ ที่ไม่เคยหยุดทำงาน รู้ไหมว่าแค่การรับประทานอาหารตามปกติของเรา ก็สามารถเป็นได้ทั้งการบำรุง และทำร้ายหัวใจในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า อาหารใจ หรืออาหารที่ดีต่อใจ ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรงนั้นมีอะไรกันบ้าง? 7 อาหารใจ ดีต่อกาย ดีต่อใจ ปลาแซลมอน ปลาแซลมอน ปลายอดนิยมที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ชนิดนี้ นอกจากจะช่วยบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำแล้ว ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ด้วยนะ แนะนำเป็นพวกเมนูประเภทต้ม ย่าง หรือนึ่ง จะดีที่สุด อะโวคาโด อะโวคาโด มีไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งมีประโยชน์ต่อหัวใจอย่างมาก เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยลดไขมันเลวในหลอดเลือดได้ จึงช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจวาย อัลมอนด์ ถั่วอัลมอนด์นั้นมีสารอาหารที่ดีต่อหัวใจมากมาย เช่น วิตามินอี แมกนีเซียม โพแทสเซียม รวมถึงกากใยอาหารต่าง ๆ โดยโพแทสเซียมจะช่วยในเรื่องการสูบฉีดเลือด แมกนีเซียมช่วยลดระดับความดันโลหิต นอกจากนี้ อัลมอนด์ยังมีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นไขมันดีที่สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจได้ พริก พริก เป็นเครื่องปรุงรสที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ในพริกจะมี สารแคปไซซินอยด์ (Capsaicinoids) ที่ทำให้พริกชนิดต่าง ๆ อาหารใจ แค่กินดี หัวใจก็ดีตาม

อาการไอ 2 ประเภท ที่ต้องระวัง!

  ชนิดของอาการไอ ถ้าแบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ แบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1. ไอฉับพลัน ระยะเวลาของอาการไอ – น้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก – การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด, โพรงไซนัสอักเสบฉับพลัน, คอหรือกล่องเสียงอักเสบ, หลอดลมอักเสบ, อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง, ปอดอักเสบ, การที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่, ควันไฟ, กลิ่นสเปรย์, แก๊ส, มลพิษทางอากาศ 2. ไอเรื้อรัง ระยะเวลาของอาการไอ – มากกว่า 3 สัปดาห์ ถึง 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก – โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง, รับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงชนิด angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน, โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ, โรคหืด, โรคกรดไหลย้อน [gastroesophageal reflux (GERD)], การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง, เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียงหรือหลอดลม, โรคของสมองส่วนที่ควบคุมการไอ, โรควัณโรคปอด ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุ การรักษาอาการไอ การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอ และรักษาตามสาเหตุ ถ้าผู้ป่วยไอจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือล่าง เช่น หวัด หรือหลอดลมอักเสบ และมีอาการไอไม่มากนัก อาจให้การรักษาเบื้องต้น เช่น ยาบรรเทาอาการไอไปก่อนได้ กรณีที่ไอมีเสมหะ เสมหะที่เหนียวข้นมาก จะถูกขับออกจากหลอดลมได้ยากโดยการไอ การให้ ยาละลายเสมหะ จะช่วยให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น และบรรเทาอาการไอได้  แต่หากผู้ป่วยได้รับยาดังกล่าวแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์  ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุ   อ้างอิง : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ติดหวาน ป่วยแน่ ๆ 10โรคติดหวาน ที่ต้องรู้!

  ฮันนี่โทสต์หวานฉ่ำ ชาเย็นหวานนุ่ม หรือแม้แต่ก๋วยเตี๋ยวที่เทน้ำตาลลงไปจนหวานเจี๊ยบ พฤติกรรมการกินแบบ ติดหวาน เหล่านี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทย ที่นิยมกินหวานกว่าต่างประเทศมาก ทว่า เมื่อระดับน้ำตาลสูงเกินไป จะส่งผลให้อินซูลินทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์เกิดภาวะต้านอินซูลิน และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคมากมาย เมื่อเห็นรายชื่อของโรคเหล่านี้แล้ว ผู้ที่ชื่นชอบของหวานอาจต้องหันกลับมาคิดใหม่ว่า ยังจะกินหวานขนาดนี้อยู่อีกหรือไม่ 10โรคร้าย ที่คน ติดหวาน ต้องรู้! 1. โรคเบาหวาน ภาวะต้านอินซูลินที่รุนแรง จะทำให้ตับอ่อนไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่พุ่งสูงขึ้น หรือสวิงขึ้นลง จะทำให้คุณเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด 2. โรคหัวใจ อาหารที่มีน้ำตาลสูง เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะน้ำตาลมีผลต่อกระบวนการสูบฉีดของหัวใจ เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว กลูโคส และอินซูลินในกระแสเลือด 3. ไขมันพอกตับ เมื่อตับสังเคราะห์ฟรักโทสให้กลายเป็นไขมันแล้ว ก็จะนำไปเก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับ 4. ไขมันในเลือดสูง เมื่อกินอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ขึ้นในร่างกาย ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น 5. โรคอ้วน ความหวานจะทำให้รู้สึกหิวมากขึ้น และไม่รู้สึกอิ่ม ติดหวาน ป่วยแน่ ๆ 10โรคติดหวาน ที่ต้องรู้!

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save