gedgoodlife

แพทย์เตือน! ลูกติดหวาน เสี่ยงหลายโรคเรื้อรัง แนะวิธีคุมหวานในเด็ก

  ตอนเด็ก ๆ เราชอบกินของหวานยังไง ลูกของเราก็ชอบกินของหวานเหมือนกับเราเช่นกัน แต่พอโตมาเราถึงได้รู้ว่า… ของหวานเป็นบ่อเกิดโรคร้ายต่าง ๆ มากมาย แต่ครั้นจะปราบไม่ให้ลูกกินของหวานเลยก็คงงอแงน่าดู! วันนี้ GED good life จึงขอแนะนำ “วิธีคุมหวานให้ลูก” พร้อมชี้ ลูกติดหวาน จะเสี่ยงโรคร้ายอะไรในอนาคตบ้าง? ลูกบ้านไหนติดหวานมาก ต้องลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ดู รีวิว วิตามินรวมนูโทรเพล็กซ์ ยืนหนึ่งในใจแม่ ตัวช่วยเมื่อลูกกินยาก มีปัญหาขับถ่าย ลูกเบื่ออาหาร คุณแม่ควรรับมือยังไงดีนะ? 9 สารอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก สร้างภูมิคุ้มกันและสมองให้แข็งแรง! ลูกติดหวาน มีสาเหตุจากอะไร? ลูกติดหวาน มีสาเหตุจาก “ต่อมรับรส” ในเด็กพัฒนาได้เร็วโดยเฉพาะรสหวาน และที่สำคัญเมื่อลูกได้รับของหวาน หรือน้ำตาลเข้าไป จะทำให้สมองหลั่ง “เอ็นโดรฟิน”  หรือ สารแห่งความสุข ออกมาจึงทำให้ลูกมีความสุข สดชื่นทุกครั้ง เมื่อได้กินของหวาน ฉะนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรเข้าใจและใส่ใจในอาหารการกินของลูกด้วยเช่นกัน โดยให้กินอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสอาหารด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือผงชูรส เป็นต้น อาจให้ผลไม้ที่ไม่หวานจัดได้ เช่น กล้วยน้ำว้า แพทย์เตือน! ลูกติดหวาน เสี่ยงหลายโรคเรื้อรัง แนะวิธีคุมหวานในเด็ก

ปวดหัวหลังตื่นนอน มีสาเหตุจากอะไร และวิธีป้องกันอย่างได้ผล!

  ปวดหัวหลังตื่นนอน อาการยอดฮิตที่หลายคนเป็นกันเยอะ และมีการโพสต์ถามกันในโซเชียลจำนวนมาก บางคนเป็นแบบเรื้อรัง บางคนก็เป็นทุกเช้า ใครที่กำลังมีอาการแบบนี้อยู่ มาดูสาเหตุและวิธีป้องกันอาการปวดหัวตอนเช้ากันเลย อาการปวดหัวข้างขวา ปวดหัวข้างเดียว เกิดจากอะไร ใช่ไมเกรนมั้ย รักษายังไงดี? “เหมือนนอนไม่พอ ตลอดเวลา” ทำยังไงให้ตื่นนอนแล้วสดชื่น ไม่เพลีย 8 เรื่องควรทำในยามเช้า เพื่อสุขภาพ และชีวิตดีดี ปวดหัวหลังตื่นนอน มีสาเหตุจากอะไร? 1. นอนน้อย และ นอนมากเกินไป ไม่ว่าจะนอนน้อย หรือนอนมากไป ก็เป็นสาเหตุทำให้ ตื่นนอนแล้วปวดหัว ถือเป็นอาการปกติที่ทุกคนสามารถเจอได้ แค่ปรับพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสม ก็จะช่วยให้หายปวดหัวได้แล้ว ส่วนสาเหตุที่นอนน้อยไปตื่นมาแล้วปวดหัว เกิดจากสมองไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ส่วนนอนมากไปตื่นมาแล้วปวดหัว เกิดจากเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกตินั่นเอง อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นคนหนึ่งที่นอนมากเกินไปเป็นประจำ อาจถือเป็น “โรคนอนเกิน” เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย และจิตใจ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และรักษาต่อไป 2. พักผ่อนไม่เพียงพอ การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตุบ ๆ ได้ในตอนเช้า ตื่นเช้ามาไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า อาจนำมาซึ่งความเครียด หงุดหงิดง่ายอีกด้วย ควรปรับพฤติกรรมนอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง ปวดหัวหลังตื่นนอน มีสาเหตุจากอะไร และวิธีป้องกันอย่างได้ผล!

จุก แน่นหน้าอก เรอ เกิดจากอะไร เสี่ยงโรคหัวใจหรือไม่?

  จุก แน่นหน้าอก ลามถึงคอ หายใจไม่ค่อยอิ่ม บางครั้งก็เรอ ใครที่มีอาการเหล่านี้อยู่… GED good life จะพาไปไขคำตอบคลายข้อสงสัยนี้ไปพร้อม ๆ กัน เช็กอาการ! กรดไหลย้อน 4 ระยะ มีอาการ และวิธีรักษาอย่างไร? หายใจเข้าแล้วเจ็บหน้าอก เกิดจากอะไร เสี่ยงโรคอันตรายหรือเปล่า? โรคกรดไหลย้อน และ โรคหอบหืด สัมพันธ์กันอย่างไร?  จุก แน่นหน้าอก เรอ อาการเหล่านี้มีสาเหตุจากอะไร? 1. โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคอันดับแรกที่ควรนึกถึง เพราะ คนป่วยด้วยโรคนี้กันเยอะ โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ย้อนกลับมาที่หลอดอาหาร จึงมีอาการแสบร้อนหน้าอก มีอาการจุกแน่นหน้าอกขึ้นมาถึงคอ และมีอาการเรอ 2. อาการป่วยแพนิค หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งระบบประสาทนี้ทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง และยังสัมพันธ์กับโรคกรดไหลย้อนอีกด้วย ทำให้มีอาการ ใจสั่น แน่นหน้าอก ปั่นป่วนในท้อง และรู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง 3. ภูมิแพ้ ภูมิแพ้ทำให้เรามีอาการ แน่นหน้าอก จุก แน่นหน้าอก เรอ เกิดจากอะไร เสี่ยงโรคหัวใจหรือไม่?

สรุปข้อมูล โรคฝีดาษ Mpox ที่กำลังระบาดหนักในไทย!

  สถานการณ์การระบาดของ “โรคฝีดาษ Mpox” หรือ “โรคฝีดาษลิง” ค่อนข้างน่าเป็นห่วงในประเทศไทย แม้อาการของโรคจะไม่รุนแรงเท่า โควิด-19 แต่ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ฉะนั้นอย่าได้ประมาทไป! มาดูกันว่า โรคฝีดาษ Mpox  มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา ป้องกันอย่างไร และใครคือกลุ่มเสี่ยง GED good life จัดมาให้ครบทุกข้อที่ควรรู้แล้ว ติดตามกันต่อเลย! มั่วเซ็กซ์ ติดกาม เสี่ยงเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อะไรบ้าง? ไข้สูง ต้องกี่องศาขึ้นไป มีสาเหตุ อาการ และวิธีลดไข้อย่างไร? กรมควบคุมโรคเตือน! 4 กลุ่มโรคติดต่อในฤดูฝน ที่คนไทยต้องระวังและดูแลตัวเองให้ดี รู้จักกับ โรคฝีดาษ Mpox “โรคฝีดาษ Mpox” หรือชื่อเก่า “โรคฝีดาษลิง”* เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus (เป็นกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือโรคไข้ทรพิษ) โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ร้อยละ 99 เป็นผู้ชาย ซึ่งมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมา โดยติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์แบบชายรักชาย * ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น “Mpox” สรุปข้อมูล โรคฝีดาษ Mpox ที่กำลังระบาดหนักในไทย!

หัวใจวายเฉียบพลัน เกิดจากอะไร ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวัง!

    หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นภาวะที่ทำให้คนเราต้องเสียชีวิตไปแบบกระทันหัน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับแรก ๆ ของคนไทยรองจากมะเร็ง ฉะนั้นเพื่อความไม่ประมาท… มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุของโรคนี้ และเราจะพอมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับเราได้หรือไม่? GED good life มีคำตอบรออยู่แล้ว มาติดตามกันต่อเลย! ทำความรู้จักกับ “หัวใจวายเฉียบพลัน” มีสาเหตุจากอะไร? หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นภาษาที่คนทั่วไปเรียกกัน ส่วนทางการแพทย์จะเรียกว่า “โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน” หรือภาษาอังกฤษ “Heart Attack” – เกิดจากหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอุดตันกะทันหันจากคราบไขมัน และก้อนลิ่มเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จึงเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เสี่ยงเสียชีวิตได้แบบไม่ทันตั้งตัว โรคหัวใจวายเฉียบพลัน มีอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ย 10% แต่ถ้ามีความดันตก ช็อค ก็จะทำให้มีอัตราการเสียชีวิตถึง 50% เลยทีเดียว กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เพศชายเป็นได้มากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะอายุ 35-40 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน มีไขมันสูง เป็นเบาหวาน พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็น สูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อดนอน มีความเครียดสูง ไม่ค่อยออกกำลังกาย ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  หัวใจวายเฉียบพลัน เกิดจากอะไร ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวัง!

แชร์ 3 วิธีกินหมาล่า ไม่ทำร้ายกระเพาะ และไม่เป็นกรดไหลย้อน

  ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า “หมาล่า” กำลังเป็นเมนูยอดฮิตที่คนไทยนิยมกินกันสุด ๆ ณ เวลานี้ โดยเฉพาะ ชาบูหมาล่า หมาล่าสายพาน เป็นต้น เดินไปไหนก็ต้องเจอ แถมคนแน่นสะด้วย! วันนี้ GED good life จึงขอแนะนำ “3 วิธีกินหมาล่า” อย่างถูกต้อง ท้องไส้ไม่แปรปรวน ไม่เกิดกรดไหลย้อน จะมีวิธีอะไรบ้าง มาดูกัน! ป่วยกรดไหลย้อน สามารถกินเผ็ดได้มั้ย? พร้อมแนะ! ยาลดกรด บรรเทากรดไหลย้อน การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ดีต่อลำไส้ และผู้ป่วยกรดไหลย้อนอย่างไร? 20 ข้อดีของพริก ทั้งซี๊ดดด! ทั้งดีต่อสุขภาพ! รู้จักกับ “หมาล่า” เมนูรสเผ็ดจนลิ้นชา มาจากไหน ทำจากอะไร? คำว่า “หมาล่า” หรือ “หม่าล่า” (麻辣) มาจากการอักษรจีนสองตัว คือ “หมา (麻)” แปลว่าชา กับ “ล่า (辣)” แปลว่าเผ็ด ซึ่งสื่อถึงความรู้สึกเผ็ด และ ชาในปากหลังจากรับประทานเข้าไป ซึ่งทั้งสองรสนี้มาจากเครื่องเทศ “ฮวาเจียว แชร์ 3 วิธีกินหมาล่า ไม่ทำร้ายกระเพาะ และไม่เป็นกรดไหลย้อน

๙ วิธีระงับความโกรธ เพื่อความสุขกาย สุขใจของตัวเราและผู้อื่น ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

  อารมณ์โกรธ นั้นเปรียบเสมือนไฟที่คอยเผาใจเราให้มอดไหม้ หากเราสามารถควบคุมได้ ก็จะอยู่เป็นสุข ใจเป็นสุข ดังคำพุทธสุภาษิต ที่ว่า “โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข” ฉะนั้นวันนี้ Ged Good Life จึงขอแชร์คำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วย “๙ วิธีระงับความโกรธ” หากใครที่มักโกรธบ่อย ๆ ต้องลองนำไปปฏิบัติดู รับรองว่าได้ผลแน่นอน ความโกรธ คืออะไร? ความโกรธ (Anger) คือ อารมณ์ทางลบเมื่อเกิดความไม่พอใจไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ และคาดหวัง เมื่อถูกขัดขวางความตั้งใจในการกระทำบางอย่าง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ความโกรธจำแนกได้ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ ๑. ความโกรธที่เห็นชัดเจน – เป็นความโกรธที่ผู้โกรธ รู้ตัวว่าโกรธ ๒. ความโกรธแฝง – เป็นความโกรธที่ถูกเก็บกดไว้ในระดับจิตใต้สำนึก และผู้โกรธไม่รู้ตัวว่าตนโกรธอยู่ ความโกรธแฝงนี้อาจนำไปสู่ การโกรธเรื้อรัง เกี่ยวพันกับอาการซึมเศร้า การรู้จักอารมณ์ของตนเองขณะโกรธ คิดทบทวนหาสาเหตุของ ๙ วิธีระงับความโกรธ เพื่อความสุขกาย สุขใจของตัวเราและผู้อื่น ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

ต้องเสพทุกกระแส ไม่พลาดสักข่าว! อาจเสี่ยงเป็น FOMO “อาการกลัวตกกระแส”

  คุณมีความรู้สึกแบบนี้อยู่หรือไม่? หงุดหงิดที่ตามเทรนด์ไม่ทัน หรือนับตั้งแต่ตื่นนอน ก็ต้องหยิบมือถือขึ้นมาเช็คเทรนด์ต่าง ๆ ในโซเชียลมีเดียเป็นประจำทุกวัน… ต้องระวัง! เพราะอาการเหล่านี้กำลังบ่งบอกว่า คุณอาจเสี่ยงกับ FOMO หรือ โรคกลัวตกกระแส โดยไม่รู้ตัว! จิตตก! เพราะโซเชียล อยู่รึเปล่า? ต้องดู เคล็ดลับใช้โซเชียลอย่างไร ให้ห่างไกลซึมเศร้า แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม 8 วิธีคิดบวก ฝึกตัวเองเป็นคนใหม่ ที่ดีกว่า! พร้อมแบบประเมินความสุข 15 คำถาม FOMO คืออะไร? FOMO เป็นคำย่อมาจาก Fear of Missing Out หรือ “อาการกลัวตกกระแส” (อาจเรียกได้ว่า เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน)  เป็นความวิตกกังวลทางสังคมแบบหนึ่ง กลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ กลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ จึงต้องคอยเช็คข่าวสารตลอดเวลา ฉันต้องรู้ก่อนใคร ฉันจะต้องแชร์ ฉันจะต้องได้ไลค์เยอะ ๆ พอพลาดอะไรไป หรือไม่ได้ดั่งใจก็จะเกิดอาการเครียด วิตกกังวล กระสับกระส่ายขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ การเฝ้ามองหน้าจอสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลา ต้องเสพทุกกระแส ไม่พลาดสักข่าว! อาจเสี่ยงเป็น FOMO “อาการกลัวตกกระแส”

มีสติก่อนโอน! วิธีรู้เท่าทันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ป้องกันถูกหลอกโอนเงิน

  “สวัสดีค่ะ เราติดต่อมาจากศาลอาญา คุณมีหมายศาลเรียกนะคะ” “สวัสดีครับ พัสดุของคุณมียาเสพติดผิดกฎหมาย ขอให้มารายงานตัวที่…” ประโยคยอดฮิต ที่แก๊งคอลเซนเตอร์มักใช้หลอกเหยื่อเหล่านี้ เราฟังแล้วต้องมีสติให้ดี เพราะ ถ้าเผลอหลงเชื่อ อาจทำให้คุณหมดตัวได้! และเพื่อป้องกันการถูกหลอกเงิน วันนี้ Ged Good Life จึงขอแนะนำ “วิธีรู้เท่าทันแก๊งคอลเซ็นเตอร์” ไม่ว่าจะเป็นมุขเด็ดที่เหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชอบใช้ และข้อควรรู้อื่น ๆ มาติดตามกันเลย! วิธีรู้เท่าทันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center Gang) คือ ขบวนการหลอกลวงเหยื่อทางโทรศัพท์ โดยสร้างสถานการณ์ปลอมขึ้นมาให้เหยื่อเกิดความตื่นตระหนก หรือเข้าใจผิดว่าได้รับผลประโยชน์บางอย่าง และเมื่อเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะดำเนินการหลอกให้โอนเงินในลำดับถัดไป… จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ โทรมาหาเรา? 1. ส่วนใหญ่เป็นเบอร์จากต่างประเทศ ซึ่งมักจะขึ้นต้นด้วย +830, +870 หรือเป็นเบอร์มือถือ หรือเบอร์จากต่างจังหวัดที่ไม่คุ้นเคย วิธีแก้สถานการณ์ ถ้าเจอเบอร์แปลก ๆ โทรมา ให้เราเอาเบอร์นั้นไปค้นหาใน Google ว่าตรงกับองค์กรที่แก๊งคอลเซนเตอร์อ้างอิงหรือไม่ ให้วางสายทิ้งไปเลย ไม่ต้องไปสนใจ 2. มักเป็นระบบอัตโนมัติที่แอบอ้างว่ามาจากบริษัทขนส่ง หรือธนาคารชื่อดังรายใหญ่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมด้วยข้ออ้างต่าง ๆ มีสติก่อนโอน! วิธีรู้เท่าทันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ป้องกันถูกหลอกโอนเงิน

หนุ่ม ๆ ต้องรู้ไว้! 10 ของขวัญวันวาเลนไทน์ ที่สาว ๆ อยากได้ มีอะไรบ้าง?

  แฟนจ๋า ฉันมาแล้วจ้ะ อยู่นี่แล้วนะ ของขวัญวันวาเลนไทน์ อะตาลาลา… เดือนแห่งความรัก กับของขวัญสุดพิเศษ ย่อมเป็นของคู่กัน วันนี้ GedGoodLife เลยจะขอแนะนำ 10 ของขวัญที่สาว ๆ อยากได้ในวันวาเลนไทน์มาฝาก หนุ่ม ๆ ต้องไม่พลาด รับรองว่า สาว ๆ ได้ไปต้องปลื้มปริ่มแน่นอน! 10 ของขวัญวันวาเลนไทน์ ที่สาว ๆ อยากได้ 1. สิ่งที่มีมูลค่าทางจิตใจ ‘คุณค่าทางจิตใจ มอบไว้แด่คนที่คู่ควร’ ก็เพราะเราไม่สามารถประเมินความรู้สึก และความผูกพันที่คู่รักของเราเคยฝ่าฟัน เคยร่วมทุกข์ ร่วมสุขกันมา เป็นจำนวนเงินได้ ฉะนั้น สิ่งที่มีมูลค่าทางจิตใจ จึงมีค่ายิ่งนัก ยิ่งเป็นเพศหญิง ยิ่งอ่อนไหวกับเรื่องเหล่านี้ ไอเดียของขวัญ : ลองทำโปสการ์ด หรือกรอบรูปประดิษฐ์ ที่มีรูปแฟนเราตอนคบกันวันแรก แล้วเขียนสั้น ๆ ว่า ‘จะดูแล และรักเธอตลอดไป’ อาจมีแนบดอกกุหลาบ หรือน้ำหอมที่ฝ่ายหญิงชอบสักขวดไว้ด้วย จะได้เพิ่มความโรแมนติกเข้าไปอีก แค่นี้ก็น้ำตาคลอเบ้าแล้วจ้า 2. หนุ่ม ๆ ต้องรู้ไว้! 10 ของขวัญวันวาเลนไทน์ ที่สาว ๆ อยากได้ มีอะไรบ้าง?

ติดโควิด กี่วัน ถึงจะตรวจเจอเชื้อ? แล้วสามารถรักษาให้หายเอง ที่บ้านได้หรือไม่?

  โควิดระบาดหนัก ผู้คนหวาดกลัว! แถมยังมีข่าวออกมาเรื่อย ๆ ว่าต้องตรวจถึง 3 รอบบ้าง 4 รอบบ้าง หนักสุดก็ตรวจถึง 5 รอบ กว่าจะพบว่าตนเองติดโควิด-19! หลายคนจึงเกิดความสงสัยอยู่ในใจว่า สรุปแล้ว ติดโควิด กี่วัน ถึงจะตรวจเจอเชื้อ? และสามารถรักษาตัวที่บ้านให้หาย ตามข่าวได้หรือไม่? พร้อมประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย GedGoodLife จึงได้รวบรวมข้อมูลจากแพทย์ และองค์กรต่าง ๆ เพื่อมาไขข้อสงสัยในเรื่องเหล่านี้ให้แล้ว ใครที่สงสัยอยู่ ห้ามพลาด มาติดตามกันเลย! – 10 อาหารบำรุงปอด ดีต่อโรคหอบหืด แถมเสริมภูมิต้านโควิด-19 ได้ด้วย! – วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ – 9 โรคประจำตัว กลุ่มเสี่ยงตายสูง จากโรคโควิด-19 !! พร้อมวิธีป้องกันโรค ติดโควิด กี่วัน ถึงจะตรวจเจอเชื้อ? พร้อมทำความเข้าใจระยะฟักตัวของเชื้อโควิด หลายคนที่ไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งแรก ติดโควิด กี่วัน ถึงจะตรวจเจอเชื้อ? แล้วสามารถรักษาให้หายเอง ที่บ้านได้หรือไม่?

วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย มีความแตกต่างกันอย่างไร?

  การระบาดของ ไวรัส’โควิด-19 ทำให้มีกระแสความตื่นตัวในการรับรู้เรื่องราวของวัคซีนเพิ่มมากขึ้น เพราะวัคซีนถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นเพื่อจัดการกับเจ้าไวรัสที่เกิดขึ้น และวันนี้ Ged Good Life จะมาให้ความรู้เรื่อง วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย แตกต่างกันอย่างไร มาติดตามกันเลย – วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา ต่างกันยังไง ยี่ห้อไหนผลข้างเคียงน้อยกว่า ? – รู้หรือยัง? สปสช. ให้ยื่นขอ เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด ได้เลย ไม่ต้องพิสูจน์ถูก-ผิด! ดูวิธียื่นคำร้องขอ ได้ที่นี่ – วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ วัคซีน คืออะไร แล้วช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร ? คำว่า วัคซีน (Vaccine) มีรากศัพท์ละตินมาจากคำว่า vacca ที่แปลว่า ‘วัว’ และคำว่า vaccination (การฉีดวัคซีน) มาจากคำละตินว่า vaccinus ที่แปลว่า ‘มาจากวัว’ โดยผู้ที่สถาปนาคำนี้ขึ้นมา คือ วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย มีความแตกต่างกันอย่างไร?

“แลมบ์ดา” โควิดสายพันธุ์ใหม่ รุนแรงกว่า “เดลต้า” มั้ย วัคซีนโควิดเอาอยู่หรือไม่!?

  “เดลต้า” ยังไม่ทันจะไปไหน โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่คาดว่าดุกว่า อันตรายกว่า มาอีกแล้ว!! โดยโควิด-19 สายพันธุ์ดังกล่าวคือ “แลมบ์ดา (Lambda)” สายพันธุ์นี้ จะร้ายแรงแค่ไหน มีอาการอย่างไร วัคซีนเอาอยู่หรือไม่? Ged Good Life มีคำตอบรออยู่แล้ว มาติดตามกันได้เลย! – 10 อาหารบำรุงปอด ดีต่อโรคหอบหืด แถมเสริมภูมิต้านโควิด-19 ได้ด้วย! – โควิด-19 อยู่ส่วนไหนในร่างกายเรามากที่สุด!? I Ged Good Life – วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ โควิดสายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” พบครั้งแรกที่ประเทศเปรู และระบาดไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลกแล้ว! ประเทศเปรู เป็นประเทศแรกที่พบโควิดสายพันธุ์ แลมบ์ดา เมื่อเดือนสิงหาคม ปี2563 และต่อมาในปี 2564 เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน พบผู้ติดเชื้อโควิดแลมบ์ดา มีสัดส่วนมากถึง 82% ในประเทศเปรู เลยทีเดียว ตามรายงานข่าวจาก “แลมบ์ดา” โควิดสายพันธุ์ใหม่ รุนแรงกว่า “เดลต้า” มั้ย วัคซีนโควิดเอาอยู่หรือไม่!?

แชร์ต่อให้รู้กัน! จุดตรวจโควิด 335 แห่งทั่วประเทศ พร้อม 6 จุดตรวจฟรี ในกทม.

  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศรายชื่อห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่ ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ เครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 หรือโควิด-19 จำนวน 335 แห่ง อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล 129 แห่ง (แบ่งเป็นภาครัฐ 50 แห่ง, ภาคเอกชน 79 แห่ง) และต่างจังหวัด 206 แห่ง (แบ่งเป็นภาครัฐ 155 แห่ง, ภาคเอกชน 51 แห่ง) ดังนี้ – ติดโควิด กี่วัน ถึงจะตรวจเจอเชื้อ? แล้วสามารถรักษาให้หายเอง ที่บ้านได้หรือไม่? – จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส เกิดจากอะไรได้บ้าง ติดโควิด-19 หรือเปล่า? – โควิด-19 อยู่ส่วนไหนในร่างกายเรามากที่สุด!? I Ged Good Life ห้องปฎิบัติการ เครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2  335 แห่งทั่วประเทศไทย แบ่งเป็น กรุงเทพและปริมณฑล 129 แห่ง ต่างจังหวัด 206 แห่ง แชร์ต่อให้รู้กัน! จุดตรวจโควิด 335 แห่งทั่วประเทศ พร้อม 6 จุดตรวจฟรี ในกทม.

ฟรี! ตรวจโควิดเชิงรุก 9 เขต กทม. วันที่ 2-8 ส.ค.นี้เท่านั้น

  กำลังหาที่ตรวจโควิดอยู่ใช่มั้ย? ต้องไม่พลาด! กทม. เปิดตรวจโควิดเชิงรุก 9 เขต ในกรุงเทพมหานคร วันที่ 2-8 สิงหาคมนี้เท่านั้น… ใครเสี่ยงติดโควิด สัมผัสผู้ป่วยโควิดมา หาที่ตรวจโควิดฟรีอยู่ ต้องรีบไป ก่อนคิวเต็ม เช็กเลยที่นี่! 3 สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม ก่อนไปตรวจโควิด 1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ใบ (ถ่ายเอกสาร บัตร ปชช. เตรียมไว้ก่อนไป) 2. ปากกาส่วนตัวเพื่อใช้ลงทะเบียน เพื่อเลี่ยงการสัมผัสร่วมหรือส่งต่อ (เตรียมแอลกอฮอล์ไปด้วยนะ) 3. ห้ามลืมเด็ดขาด! หน้ากากอนามัย ใส่ไปเลย 2 ชั้น พร้อมเจล หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัวไว้เลย ตรวจโควิดเชิงรุก 9 เขต กทม. วันที่ 2-8 ส.ค.นี้เท่านั้น 1. เขตมีนบุรี สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา – วันที่ 2-8 ส.ค.  แจกคิว: วันต่อวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 น. จำนวน 700 คิว/วัน โทรติดต่อ: 02-836-9999 ต่อ 3621,3622 หรือ line : @wmcgi   2. เขตบางพลัด ลานใต้สะพานพระราม 8 – วันที่ 2-8 ส.ค.  แจกคิว: เปิดให้จอง 2 รูปแบบ ดังนี้ 1.แจกคิวล่วงหน้า 1 วัน จองผ่าน App QueQ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. จำนวน 200 คิว/วัน ฟรี! ตรวจโควิดเชิงรุก 9 เขต กทม. วันที่ 2-8 ส.ค.นี้เท่านั้น

เรียนรู้วิธีการทำ Home Isolation หรือ การกักตัวที่บ้าน แบบปลอดภัย

  เชื่อว่าในตอนนี้หลายคนคงเริ่มคุ้นหูกับคำว่า “Home Isolation” หรือ “การกักตัวที่บ้าน” ไม่มากก็น้อย บางคนมีคำถามว่า “Home Isolation” กับการ “Self-quarantine” เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? การทำ “Home Isolation” ได้ต้องเข้าตามเงื่อนไขใดบ้าง แล้วเรื่องสุดท้ายเลยก็คือ วิธีการปฏิบัติตัวในช่วงระยะเวลาที่ทำ “Home Isolation” ที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อทั้งผู้ป่วย และผู้อยู่ร่วมในที่พักอาศัยเดียวกัน ต้องทำอย่างไร? วันนี้ GedGoodLife จึงอยากนำข้อมูลที่อาจจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ ท่านมาให้ได้ทำความเข้าใจ และแบ่งปันกับคนรอบข้างให้ได้เข้าใจว่าการทำ Home Isolation นั้น ช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางด้านสุขภาพได้อย่างไร – ติดโควิด กี่วัน ถึงจะตรวจเจอเชื้อ? แล้วสามารถรักษาให้หายเอง ที่บ้านได้หรือไม่? – 9 โรคประจำตัว กลุ่มเสี่ยงตายสูง จากโรคโควิด-19 !! พร้อมวิธีป้องกันโรค – แชร์ต่อให้รู้กัน! จุดตรวจโควิด 335 แห่งทั่วประเทศ พร้อม 6 จุดตรวจฟรี ในกทม. ทำความรู้จักกับ เรียนรู้วิธีการทำ Home Isolation หรือ การกักตัวที่บ้าน แบบปลอดภัย

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save