gedgoodlife

ถึงเธอจะลืมฉัน… แต่ฉันไม่เคยลืมเธอ “โรคอัลไซเมอร์” ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ และวิธีป้องกัน

  โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นอาการสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย เกิดจากการตายของเซลล์สมอง ทําให้การทํางานของสมองเสื่อมลง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันของผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ มีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้หลายประการ ที่เพิ่มโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ และปัจจัยที่สําคัญมากที่สุด คือ อายุ ในคนอายุ 80 ปี ขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนที่มีอายุ 65 – 69 ปี ถึง 10 เท่า และอีกปัจจัยที่สําคัญคือ กรรมพันธุ์ โดยพบว่า ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป การประเมินความเสี่ยง โรคอัลไซเมอร์ ผู้ใกล้ชิด หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถประเมินอาการแสดงเบื้องต้นได้ โดยดูจาก สัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ ดังนี้ 1. หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ 2. การตัดสินใจแย่ลง เปลี่ยนใจง่าย 3. อะไรที่เคยทําอยู่ประจําจะกลายเป็นสิ่งที่ทําได้ยากขึ้น 4. วางของผิดที่ ผิดทาง สับสนเรื่องเวลา 5. สื่อสารกับคนอื่นยากขึ้น มักเรียงลําดับคําผิด 7. เดินออกไปข้างนอกอย่างไม่มีจุดหมาย 8. ไม่ค่อยดูแลตนเอง ชอบทําพฤติกรรมเหมือนเด็ก ถึงเธอจะลืมฉัน… แต่ฉันไม่เคยลืมเธอ “โรคอัลไซเมอร์” ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ และวิธีป้องกัน

เผยข้อเท็จจริงของโรค… “ตากุ้งยิง” ไม่ต้องแอบดูใครโป๊ ก็เป็นได้นะ!

  เวลามีใครเป็นโรค ตากุ้งยิง ก็มักจะหนีไม่พ้นกับการโดนแซวว่า ฮั่นแน่! ไปแอบดูใครโป๊มาใช่มั้ย? แต่ในความจริงแล้ว… การแอบดูใครโป๊ ไม่ได้ทำให้เป็นโรคตากุ้งยิงแม้แต่นิดเดียว เพราะว่าตากุ้งยิงเป็นโรคติดเชื้อที่บริเวณเปลือกตาต่างหากล่ะ ลองมาทำความรู้จักกับ โรคตากุ้งยิง รวมถึงเรียนรู้วิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้เป็นโรคนี้กันดีกว่า สาเหตุของโรคตากุ้งยิง สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณโคนขนตา ทำให้มีเชื้อโรคเข้าไปแทรกซ้อน เมื่อร่างกายอ่อนแอ และภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เพราะพักผ่อนน้อย หรือใช้มือสกปรกขยี้ตาบ่อยจนเกินไป ทำให้เปลือกตาไม่สะอาด จนเกิดการติดเชื้อ รวมไปถึงการใส่ หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยมือที่ไม่สะอาด ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตากุ้งยิง ได้ทั้งสิ้น แล้วอาการแบบไหนล่ะที่บ่งบอกว่าเป็น ตากุ้งยิง ? ตากุ้งยิง เกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งชาย และหญิง เกิดได้ทั้งบริเวณเปลือกตาบน และเปลือกตาล่าง อาการที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ • มีตุ่มบวม หรือตุ่มหนองที่เปลือกตา • เปลือกตาบวมแดง รู้สึกระคายเคืองตา • มีอาการปวดหนังตา เวลากลอกตาหรือหลับตา โรคตากุ้งยิง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เผยข้อเท็จจริงของโรค… “ตากุ้งยิง” ไม่ต้องแอบดูใครโป๊ ก็เป็นได้นะ!

แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ เป็นห่วงลูกน้อยจัง ทำไงดีนะ?

  ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแบบนี้ อาจทำให้ แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ และเป็นไข้หวัดได้ง่าย แต่เพราะว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ การจะกินยาแก้ไอ แก้หวัด ก็ต้องเช็คให้ชัวร์ที่สุดว่าปลอดภัยต่อลูกน้อยหรือไม่  ลองมาดูกันดีกว่าว่า ทำอย่างไร ถึงจะช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ ให้คุณแม่ได้บ้าง… แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ ระหว่างตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไรดี? เมื่อคุณแม่มีอาการ ไอ จาม เจ็บคอ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ อาจมีผลกระทบต่อลูกในท้องได้ โดยอาการไอนี้ คุณแม่บางคน อาจไอแห้ง ๆ ไม่ยอมหยุด เป็นทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน แต่คุณแม่ก็อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะความเครียดจะส่งผลกระทบเพิ่มไปถึงลูกได้อีก ระหว่างนี้ ไม่ควรหายากินเอง ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการ และรับยาที่เหมาะสมกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ โรคที่ทำให้เกิดอาการ ไอ ไอแห้ง เจ็บคอ ระหว่างตั้งครรภ์ • โรคภูมิแพ้ อาการไอแห้ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะบอบบางกว่าเดิม อาการดังกล่าวจึงเกิดง่ายขึ้น แม้ว่าจะมีการป้องกันแล้วก็ตาม • แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ เป็นห่วงลูกน้อยจัง ทำไงดีนะ?

ลูกแม่ต้องสตรอง!… รวม “อาหารบำรุงแม่ท้อง” เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่ และทารก

  อาหารบำรุงแม่ท้อง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนี่คือช่วงที่ร่างกายของคุณแม่ ต้องการสารอาหาร และวิตามินแร่ธาตุ เพิ่มขึ้นแบบคูณสอง คุณแม่จึงควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน แต่ก็ไม่เพิ่มน้ำหนักตัวให้คุณแม่มากจนเกินไปด้วย มาดูกันสิว่า อาหารบำรุงแม่ท้อง มีอะไรบ้าง? 1. ไข่ ไข่ อาหารที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงสามเดือนแรก เพราะไข่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญอย่างโคลีน ที่มีส่วนช่วยในการสร้าง และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง และระบบประสาทส่วนกลางของลูกน้อยในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ จนถึง 3 เดือนแรก 2. แซลมอน ปลาแซลมอนนั้นอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบประสาท สมอง และสายตา ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี ในด้านความจำ และการเรียนรู้ นอกจากนี้แซลมอนยังมีวิตามินดี ที่ช่วยบำรุงกระดูก และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่กินปลาที่อุดมไปด้วยไขมันดีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะช่วยให้ได้รับสารโอเมก้า 3 จนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 3. ตับ วิตามินเอที่มีมากในตับ มีส่วนช่วยทำให้ตัวอ่อนของทารกเจริญเติบโตได้ดี และยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อหลังคลอดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 4. เนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย โปรตีน ลูกแม่ต้องสตรอง!… รวม “อาหารบำรุงแม่ท้อง” เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่ และทารก

ปวดท้องแบบไหน… เสี่ยงแท้งลูก!

  คุณแม่เกือบทุกคนที่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการ ปวดท้อง เป็นปกติอยู่แล้ว บางคนปวดมากบางคนปวดน้อย แต่ในบางรายปวดมาก เจ็บมากจนอาจถึงขั้น แท้งลูก ก็มีให้เห็นกันมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่สุดสำหรับคุณแม่ท้องก็ว่าได้ แล้วปวดท้องแบบไหนล่ะ ที่อันตรายถึงขั้นแท้งลูกได้ เราหาคำตอบมาให้แล้ว… ทำไมถึงมีอาการ ปวดท้องขณะตั้งครรภ์ ? การตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนร่างกายอาจรับไม่ทัน และทำให้มีอาการปวดท้อง สาเหตุสำคัญก็คือ มดลูกของคุณแม่กำลังเริ่มขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นนั่นเอง โดยอาจเริ่มปวดท้องทางด้านขวาหรือซ้าย ปวดแบบนิด ๆ หน่อย ๆ เนื่องจากการฝังตัวของตัวอ่อน แต่จะเกิดขึ้นไม่นาน นอกจากนี้ ระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีเพศสัมพันธ์ เดินออกกำลังกาย หรือขึ้นลงบันได ก็อาจทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้ เนื่องจากมีการใช้งานของกล้ามเนื้อในส่วนนั้น ๆ จะทำอย่างไรเมื่อมีอาการ ปวดท้องระหว่างตั้งครรภ์? ถ้าอาการปวดท้องน้อยของคุณแม่ เป็นอาการปวดท้องแบบปกติ ไม่เกี่ยวกับภาวะแท้งคุกคาม ก็สามารถบรรเทาอาการปวดท้องได้ ดังนี้ • หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ทันที แล้วนั่งหรือนอนให้ร่างกายผ่อนคลาย อาการจะดีขึ้น • เมื่อนอนลงแล้ว ให้สังเกตว่ามีอาการปวดข้างไหน ลองนอนตะแคงซ้ายหรือขวา เพื่อสังเกตว่า ปวดท้องแบบไหน… เสี่ยงแท้งลูก!

เมื่อลูกรักป่วยเป็น “ไข้ออกผื่น” แม่ควรดูแลอย่างไร?

  ไข้ออกผื่น – Exanthematous Fever เป็นอาการป่วยที่มาพร้อมจุดแดง ๆ น่าเกลียดตามตัวเด็ก ๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนกไป เพราะไข้ออกผื่นส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายร้ายแรง และดูแลรักษาได้ไม่ยาก หากมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่เป็นมากเพียงพอ ไข้ออกผื่น คืออะไร? ไข้ออกผื่น หรือไข้ผื่น ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ไข้ที่มีผื่น และการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ๆ ทางผิวหนัง มีลักษณะอาการ และ ความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัวเข็มหมุดจนถึงเป็นปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้ผิว หนังบริเวณผื่นหรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ โดยไข้ออกผื่น สามารถปรากฏขึ้นได้ในหลายโรค เช่น 1. โรคอีสุกอีใส (Chickenpox / Varicella) สาเหตุ และ อาการของโรค – เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ติดต่อได้ทางละอองน้ำลาย หรือการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคอีสุกอีใส มักพบได้มากในเด็ก อาการจะปรากฏขึ้นราว 2-3 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ เมื่อลูกรักป่วยเป็น “ไข้ออกผื่น” แม่ควรดูแลอย่างไร?

ปลดล็อก! เรื่องที่คุณแม่ควรใส่ใจ… หลังคลอด

  การตั้งครรภ์ และคลอดบุตร ทําให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาสู่สภาพปกติ จึงต้องได้รับการดูแล และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะส่วนต่าง ๆ ที่สําคัญของร่างกายของแม่ หลังคลอด คลายกังวลคุณแม่ หลังคลอด มดลูก ปกติจะมีขนาดเล็กประมาณผลชมพู่ แต่เมื่อตั้งครรภ์จะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับทารกในครรภ์ หญิงหลังคลอดอาจมีอาการเจ็บปวดในช่องท้องได้บ้าง การดูแลอาจทําได้โดยการประคบด้วยความร้อน หรือใช้วิธีการ อยู่ไฟ แบบแพทย์แผนไทยในระหว่างนี้จะมีน้ําคาวปลาถูกขับออกมาจากโพรงมดลูก โดยวันแรกจะมีสีเข้ม เหมือนเลือดเก่า และมีกลิ่นคล้ายประจําเดือน วันที่สองสีจะจางลงเป็นสีชมพู และจะจางลงเรื่อย ๆ จนหมดภายใน 4-6 สัปดาห์ หลังคลอด ฝีเย็บ เป็นผิวหนังที่อยู่ระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก ในการคลอดอาจจะถูกกรีดเพื่อให้สะดวก ต่อการคลอดทารก เมื่อคลอดแล้วจะเย็บติดไว้ หลังคลอดจะรู้สึกเจ็บปวดแผลบ้างและจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนเป็นปกติ ใน 5-7 วัน ระบบขับถ่าย วันแรกอาจไม่ถ่ายเพราะหญิงตั้งครรภ์มักงดอาหาร และน้ําก่อนคลอด แต่จะกลับเข้า ภาวะปกติภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร เต้านม หลังคลอดอาจเกิดอาการดึงคัดเต้านม ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกดูดนม เพราะนอกจากจะลดอาการดึงคัดแล้ว ทารกยังได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า รวมทั้งภูมิต้านทานที่เหมาะสม และดีที่สุดจากแม่ ปลดล็อก! เรื่องที่คุณแม่ควรใส่ใจ… หลังคลอด

รู้ให้ชัวร์!… กินยาให้ได้ผลดี ต้องกินอย่างไร?

  เรื่องการ กินยาให้ได้ผลดี เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยควรใส่ใจ และศึกษาก่อนจะกิน เพราะถ้ากินยาเกินปริมาณก็จะมีโทษต่อร่างกายได้ แต่ถ้ากินยาไม่ถึงปริมาณที่ควรกิน โรคที่เป็นอยู่ก็จะไม่หาย กลายเป็นโรคเรื้อรังในภายหน้าได้เช่นกัน ฉะนั้น ผู้ป่วย หรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลคนป่วย ก็ควรพิจารณาข้อมูลของยาให้ดี และควรปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้ กินยาให้ได้ผลดี ต้องกินอย่างไร? 1. อ่านฉลากยาอย่างละเอียด ปฏิบัติตามฉลาก อย่างเคร่งครัด 2. กินยาให้ถูกโรค โดยผู้ป่วยต้องกินยาตามข้อบ่งใช้ เช่น ยาต้านจุลชีพ มีข้อบ่งใช้แตกต่างกันไป ผู้ป่วยไม่ควร กินยาต้านแบคทีเรียหากเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อไวรัส เนื่องจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียพร่ําเพรื่อจะทําให้เกิด ปัญหาเชื้อดื้อยาได้ และไม่ควรกินยาระบายเพื่อลดน้ําหนัก 3. ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ยาแคปซูลควรกินทั้งแคปซูล ไม่ควรแกะแคปซูลออก และไม่ควรกินยาบางชนิดพร้อมกัน เพราะมีผลต่อการดูดซึมยาในทางเดินอาหาร เช่น ยาต้านจุลชีพบางประเภทไม่ควรกินพร้อมกับยาลดกรด ในกระเพาะอาหาร 4. ใช้ยาให้ถูกขนาด เช่น ขนาดหรือปริมาณยาที่ใช้ ในเด็กและผู้ใหญ่แตกต่างกัน 5. ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เนื่องจากยาบางชนิดไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มี โรคประจําตัวต่างๆ หรือหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่กําลังให้นม บุตร รู้ให้ชัวร์!… กินยาให้ได้ผลดี ต้องกินอย่างไร?

“ธรรมโอสถ” เข้าใจโลก ปล่อยวางโรค

  ความเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นเรื่องที่ไม่พึ่งปรารถนาของทุกคน และถึงแม้ปัจจุบันจะมียารักษาโรคมากมาย หรือจะเป็นยาแผนโบราณ ยาสมุนไพรก็ตามที… แต่ก็ไม่อาจมียาใด ๆ ที่รักษาจิตใจของเราให้ปล่อยวางจากโรคต่าง ๆ ได้อยู่ดี… ฉะนั้นแล้ว การรักษาโรคใดก็ตาม ต้องมีการใช้ธรรมะ เข้ามารักษาใจให้รู้จักปล่อยวางโรคต่าง ๆ ด้วย ที่เรามักจะเรียกกันว่า ธรรมโอสถ นั่นเอง ธรรมโอสถ เข้าใจโลก ปล่อยวางโรค ธรรมโอสถ เปรียบเหมือนเกราะคุ้มครองจิตใจ ป้องกันไม่ให้ความทุกข์ต่าง ๆ เข้ามาเบียดเบียนโรคทางจิตใจ หรือทำให้เราได้รู้จักปล่อยวางโรคทางกายได้อีกด้วย โดยพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่คำสอนต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์โลกได้เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต นั่นก็คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือเรียกอีกอย่างว่า “อริยสัจ4” เมื่อบุคคลใดก็ตาม ได้พิจารณาร่างกาย และทุกข์ต่าง ๆ ที่เคยประสบพบเจอมาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แล้ว ก็จะปล่อยวาง มีสติ มีปัญญา ขึ้นมา และอาการเจ็บป่วยทางร่างกายก็จะลดน้อยลงได้ด้วย โรคต่าง ๆ ที่เกิดจากใจเรา • โรคราคะ โรคที่ทำให้จิตใจ โน้มเอียงไปในความกำหนัด “ธรรมโอสถ” เข้าใจโลก ปล่อยวางโรค

ความรู้สึกเหงา และโดดเดี่ยว… อาจเสี่ยงเป็นโรคได้นะ!

  คุณอาจเคยได้ยินใครสักคนรำพึงรำพันว่า เหงาจะตายอยู่แล้ว พอกันทีกับชีวิตที่แสนโดดเดี่ยว เดียวดายแบบนี้ นั่นก็เพราะ ความเหงา ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกายของคนเราได้ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยนะ! ความเหงา ก็เหมือนยาพิษ! “คนที่โดดเดี่ยวมาก ๆ จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มากกว่าคนทั่วไป” Bruce Rabin ผู้อำนวยการโครงการ Healthy Lifestyle Program จาก University of Pittsburgh Medical Center ได้กล่าวเอาไว้ ความเหงา สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระดับยีน และสารเคมีในสมอง ทำให้หลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาง่ายขึ้น และเมื่อเราเครียด ร่างกายก็จะหลั่งอะดรีนาลีน และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์หดหู่อย่าง คอร์ติซอล ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเรา จนก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ทำไมเหงาแล้วจึงป่วย? • เสี่ยงที่จะละเลยเรื่องการดูแลตัวเอง คนที่กินข้าวคนเดียวบ่อย ๆ มีโอกาสสูงกว่าที่จะเลือกกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ คนโสด หรือผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียว มักกินอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่างผักผลไม้น้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แต่งงาน ความรู้สึกเหงา และโดดเดี่ยว… อาจเสี่ยงเป็นโรคได้นะ!

“ร้อนใน” สาเหตุ และวิธีรักษาอย่างได้ผล

  เป็น ร้อนใน อีกแล้ววว! จะกินอะไรก็ไม่อร่อยทั้งนั้น เพราะมัวแต่เจ็บแผลร้อนใน แถมบางครั้งยังทำให้มี กลิ่นปาก อีกด้วย แล้วกว่าจะหายก็ใช้เวลาเป็นอาทิตย์ ๆ เลยเชียว แถมบางคนก็อาจจะเป็นแล้วเป็นอีก ไม่ยอมหายสักที จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำตัวไปแล้ว มาดูกันสิว่า จริง ๆ แล้ว ร้อนใน เกิดจากอะไรกันแน่ และต้องทำยังไงบ้าง ร้อนใจถึงจะไม่กลับมาทำให้ร้อนใจอีก! ร้อนใน คืออะไร? ร้อนใน (Aphthous Ulcers) คือ แผลในช่องปากที่มีขนาดเล็ก และตื้น จะออกเป็นสีขาว อาจเกิดบริเวณส่วนใดของช่องปากก็ได้ เช่น ริมฝีปาก แก้ม ลิ้น เป็นต้น ความเจ็บจะขึ้นอยู่กับขนาดของแผล มักเป็นครั้งแรกในช่วงวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว ในผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย เป็น ๆ หาย ๆ ทำให้รำคาญใจเวลาทานข้าว หรือดื่มน้ำ แต่แผลร้อนใน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงใด ๆ เช็คพฤติกรรมตัวเองดูว่า อาการร้อนในในปาก เกิดจากสาเหตุเหล่านี้หรือไม่!? อาการของโรคนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน รวมถึงอาจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาภูมิต้านทานของร่างกายด้วย “ร้อนใน” สาเหตุ และวิธีรักษาอย่างได้ผล

“7 วิธีดูแลแม่หลังคลอด” ฟื้นตัวเร็ว น้ำนมไหลดี

  วิธีดูแลแม่หลังคลอด ในต่างประเทศมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “Postpartum Care” ซึ่งช่วงหลังคลอดเป็นช่วงเวลา ประมาณ 6 สัปดาห์ ถือเป็นช่วงเวลาที่แม่หลังคลอดต้องปรับตัวกับการเป็น แม่มือใหม่ ไปพร้อม ๆ กับการดูแลตัวเองให้ฟื้นตัว เพื่อเลี้ยงลูก หรือการดูแลตัวเองเพื่อกลับไปทำงานได้เร็วที่สุด 7 วิธีดูแลแม่หลังคลอด ฟื้นตัวเร็ว น้ำนมไหลดี 1. เดินไปเดินมา ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย ในแม่ที่คลอดธรรมชาติ หลังคลอดควรขยับตัว เคลื่อนไหวร่างกาย และเดินไปเดินมาให้เร็วที่สุด เนื่องจากจะช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ กลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้น้ำคาวปลาไหลดีกว่าการอยู่ในท่านอนตลอดเวลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้ดีขึ้น ลดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แต่ถ้าหากยังมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด ก็ให้พักผ่อนก่อน 2. หาเวลางีบหลับ หลังคลอดร่างกายยังอ่อนเพลียจากการคลอด ไหนจะต้องดูแลลูกที่หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่เป็นเวลาด้วย ดังนั้นหวังจะได้หลับยาว ๆ ตอนกลางคืนคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นหลังคลอด ต้องพยายามหาเวลางีบหลับ เช่น ระหว่างที่ลูกหลับ แม่ก็งีบหลับไปด้วย “7 วิธีดูแลแม่หลังคลอด” ฟื้นตัวเร็ว น้ำนมไหลดี

แค่หายใจก็ติดได้… เชื้อร้าย “วัณโรค”

  วัณโรค (Tuberculosis) ในสมัยโบราณเรียกกันว่า ฝีในท้อง (ซึ่งในสมัยก่อน วัณโรค ถือว่าเป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจมาก ถึงขั้นไร้ญาติขาดมิตรเลยทีเดียว) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรัง ที่เกิดจากเชื้อวัณโรค และสามารถแพร่ให้คนที่อยู่ใกล้ชิดได้อย่างง่ายดาย ในสมัยโบราณ ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค มักจะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบัน โรคนี้สามารถรักษาจนหายขาดได้ แต่ก็ถือว่า เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อย และมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ และผู้ที่มีฐานะยากจน หรืออยู่กันอย่างแออัด สาเหตุของ วัณโรค เกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) ที่มีการเจริญเติบโต หรือแบ่งตัวช้ากว่าแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ มีหลายสายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดวัณโรคได้ แต่สายพันธุ์ที่พบได้บ่อย และก่อปัญหาให้กับมนุษย์มากที่สุดคือ เชื้อ ไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส หรือ เชื้อเอเอฟบี ซึ่งสามารถแพร่กระจายในอากาศ และติดต่อจากคนสู่คนได้ การติดต่อของเชื้อวัณโรค มักจะติดเชื้อผ่านทางการหายใจ สูดเอาเชื้อในฝอยละอองเสมหะขนาดเล็ก ที่ผู้ป่วยปล่อยออกมา จากการไอ จาม พูด หัวเราะ ร้องเพลง หรือหายใจ เชื้อจะเข้าไปภายในปอด และต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด และอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ แค่หายใจก็ติดได้… เชื้อร้าย “วัณโรค”

ปวดท้องน้อย อาการเตือนที่สาว ๆ ที่ต้องรู้! • สาเหตุ • อาการ • วิธีรักษา

  ประจำเดือนมาทีไร ต้องร้องโอย… โอย… ทุกที เพราะ มันเกิดอาการ ปวดท้องน้อย หน่ะสิ!! ผู้หญิงบางคน ที่ไม่เคยปวดท้องน้อยมาก่อน แต่จู่ ๆ วันหนึ่งดันปวดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน คงสงสัยว่า มันเป็นเพราะอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไรสินะ!? ไม่ต้องกังวลจนเครียดเกินไป วันนี้ GedGoodLife มีคำตอบมาฝากแล้ว ใครที่มีอาการปวดอยู่ ต้องไม่พลาด… มาติดตามกันเลย! บริเวณท้องน้อย อยู่ตรงไหนกันนะ? เบื้องต้น เรามาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน ว่าท้องน้อยอยู่บริเวณไหนจะได้ไม่สับสน… ท้องน้อยอยู่บริเวณช่องท้องส่วนล่างนับตั้งแต่ตำแหน่งสะดือลงมา จนถึงขอบบนของกระดูกเชิงกราน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อยู่บริเวณใต้สะดือ และบริเวณนี้ ยังมีอวัยวะต่าง ๆ อีกมาก ที่มีส่วนทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ เช่น มดลูก, ปีกมดลูกทั้งสองข้าง, กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้ทั้งเล็ก ลำไส้ใหญ่, ไส้ติ่ง, ท่อไต, ทุกอวัยวะดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ทั้งสิ้น ! โดยอาจจะเกิดจากการอักเสบ การบาดเจ็บ การเป็นเนื้องอก หรือเป็นมะเร็ง เป็นต้น ปวดท้องน้อย อาการเตือนที่สาว ๆ ที่ต้องรู้! • สาเหตุ • อาการ • วิธีรักษา

เชียร์บอลโลกยังไง สุขภาพไม่พัง!?

  ปู๊น ปู๊น… ฟุตบอลโลก 2018 มหกรรมลูกหนังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกใบนี้ ได้เริ่มขึ้นแล้วที่ประเทศรัสเซีย และตอนนี้การแข่งขันก็กำลังเข้มข้นสุด ๆ ใกล้ถึงรอบชิงเข้ามาทุกที… แต่ที่สำคัญกว่าการ ดูบอล ให้คึกคัก ก็คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคึกครื้นตลอดทัวร์นาเม้นท์นี้นั่นเอง ฉะนั้นมาดูกันเลยดีกว่าว่า เราจะวางแผนสุขภาพยังไง ให้พร้อมไปกับทุกแมตช์การแข่งขันที่ต้องลุ้นตลอดทั้งเกมส์! 8วิธี ดูบอล ให้คึกคัก สุขภาพคึกครื้น 1.  ฟิตร่างกายให้พร้อม ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกนั้น ไม่ควรละเลยสุขภาพร่างกาย ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหม เช่น วิ่งเบา ๆ ว่ายน้ำ หรือเล่นโยคะ เพื่อปรับสภาพสมดุลของร่างกาย หลังดูการแข่งขันฟุตบอลเสร็จแล้ว ควรหาอาหารที่มีประโยชน์รับประทานด้วย ในช่วงที่ดูบอล อาจลุกขึ้นมาเดินยืดเส้นยืดสาย ในช่วงพักครึ่งการแข่งขันเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายบ้าง 2. พักผ่อนให้เพียงพอ การเลือกดูเฉพาะคู่พิเศษที่สนใจ จะช่วยลดปัญหาการพักผ่อนไม่เพียงพอได้ แล้วเอาเวลาระหว่างการแข่งขันคู่อื่น ๆ ที่สนใจน้อยกว่า ไปนอนพักผ่อนซะ แต่ถ้านอนไม่พอจนได้แล้วละก็ ให้หาเวลาในช่วงพักเที่ยง หรือช่วงหัวค่ำก่อนการแข่งขันงีบหลับ เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดการอ่อนเพลีย ร่างกายอ่อนแอ และทำให้ป่วยไข้ เป็นหวัด เชียร์บอลโลกยังไง สุขภาพไม่พัง!?

ภาวะ “ซึมเศร้าหลังคลอด” ร้องไห้ หดหู่ อยากตาย ทำยังไงดี!?

  เมื่อเด็กน้อยได้ถือกำเนิดขึ้นมา ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่มีสิ่งหนึ่ง ที่มักถูกมองข้ามไปในช่วงเวลานี้ นั่นก็คือ ภาวะ ซึมเศร้าหลังคลอด ของผู้เป็นแม่! คนรอบ ๆ ตัว โดยเฉพาะคนในครอบครัว จึงควรเห็นใจคุณแม่ในระยะนี้เสียหน่อย ส่วนอารมณ์ซึมเศร้าหลังคลอดมีอาการอย่างไร ควรดูแลอย่างไร ติดตามกันต่อได้เลย ภาวะ ซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร? ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด / อาการซึมเศร้าหลังคลอด / อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues, Maternity blues) เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่พบได้บ่อยหลังคลอด เกิดได้ตั้งแต่ช่วงแรกคลอด จนถึง 12 เดือนหลังคลอด มีชื่อเรียกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น Baby blues, Postpartum blues หรือ Maternity blues มีสาเหตุหลักจากฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ในร่างกายของแม่ลดต่ำลงหลังคลอดลูก บวกกับความรู้สึกกดดัน และความเครียดที่อาจเกิดขึ้นจากการมีลูก เช่น กังวลว่าจะเลี้ยงลูกได้ดีพอหรือไม่ รวมถึงอาจไม่ได้รับความเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างเพียงพอ คุณแม่ที่เครียดง่าย และจิตใจอ่อนไหวเป็นทุนเดิม อาจโดนภาวะนี้จู่โจมโดยไม่ทันตั้งตัวได้ โดยภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะ “ซึมเศร้าหลังคลอด” ร้องไห้ หดหู่ อยากตาย ทำยังไงดี!?

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save