gedgoodlife

เฮง เฮง เฮง! อาหารมงคล ฉลองเทศกาลตรุษจีน ทานอย่างไรให้สุขภาพดี?

  ช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีนแบบนี้ สิ่งหนึ่งที่คนไทยเชื้อสายจีนต้องจัดเตรียมให้พร้อม ก็หนีไม่พ้น เรื่องของ อาหารมงคล ที่ใช้ในการทำพิธีเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษ ที่นอกจากเครื่องไหว้หลัก ๆ อย่าง หมู เป็ด ไก่ กุ้ง และผลไม้มงคลแล้ว ยังมีขนมมงคลอย่าง ขนมเข่ง ขนมเทียน จันอับ และอื่น ๆ อีกมากมาย ให้คนในครอบครัวทานกันอย่างไม่หวาดไม่ไหว เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้ตัวเอง แต่เพราะอาหารตรุษจีน มักปรุงด้วยการคั่วเกลือ ผัดมัน ๆ หรือทำมาจากแป้ง จึงไม่ดีต่อสุขภาพนัก งั้นมาดูกันดีกว่า อาหารมงคล เมนูไหน มีความหมายว่าอะไร และควรจะทานอย่างไร ให้ได้ทั้งสิริมงคล และได้สุขภาพที่ดีด้วย ความหมายของ อาหารมงคล ปลา (ปลาเก๋านึ่ง Steamed Grouper Fish) – คำว่า ปลา ในภาษาจีน พ้องเสียงกับคำว่า อุดมสมบูรณ์ มีอยู่เหลือเฟือ สื่อถึงการมีเงินเหลือมากมายเหลือเฟือ นอกจากนี้ เมนูปลาเป็นอาหารที่จะทานกันเป็นจานสุดท้าย เฮง เฮง เฮง! อาหารมงคล ฉลองเทศกาลตรุษจีน ทานอย่างไรให้สุขภาพดี?

ออรัลเซ็กซ์แล้วเจ็บคอ เกิดจากอะไร ควรทำไงดี?

  เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกเตือนว่า การใช้ปากทำออรัลเซ็กซ์ให้กัน มีส่วนทำให้เกิดเชื้อหนองใน และ เป็นมะเร็งในลำคอทั้งชาย และหญิงได้ ในขณะที่หลาย ๆ คน มักจะมีคำถามว่า ออรัลเซ็กซ์แล้วเจ็บคอ ควรทำไงดี? วันนี้ Gedgoodlife มีคำตอบมาให้แล้ว โรคที่เกิดจากการทำออรัลเซ็กซ์  แม้ว่าคู่รักหลายคู่จะเลือกใช้ออรัลเซ็กซ์ (การร่วมเพศทางปาก) มาเพิ่มความสุขบนเตียง แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า มันเป็นการเพิ่มความเสี่ยง ที่เชื้อโรคจะเข้าไปอยู่ในช่องปากได้เช่นกัน ซึ่งโรคที่เกิดจากการทำออรัลเซ็กซ์ก็มีอยู่หลายโรค และส่วนใหญ่ก็เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซะด้วย ไม่ว่าจะเป็น… เอดส์ เริม ซิฟิลิส หนองใน ตับอักเสบ และการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งคอ และมะเร็งต่อมทอนซิล รวมไปถึงอาการ ออรัลเซ็กซ์แล้วเจ็บคอ ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อในลำคอ หรือภายในลำคอเกิดแผลถลอกจากการเสียดสี มั่วเซ็กซ์ ติดกาม เสี่ยงเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อะไรบ้าง? ซิฟิลิส ระบาดหนัก! อะไรคือสาเหตุ แล้วจะรักษา ป้องกันอย่างไรดี? 8 คำถามบนเตียง ชายอยากรู้ หญิงไม่กล้าถาม!? ออรัลเซ็กซ์แล้วเจ็บคอ อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงดังนี้ ออรัลเซ็กซ์แล้วเจ็บคอ เกิดจากอะไร ควรทำไงดี?

ขอบตาดำคล้ำ เพราะนอนไม่พอ อะหรือเป็น ภูมิแพ้ กันแน่!?

  ขอบตาดำคล้ำ เป็นหมีแพนด้า เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนที่ชอบอดหลับอดนอน หรือนอนดึก ไม่ว่าจะเพื่อเร่งทำงาน หรือนั่งดูซีรีส์โปรดก็ตาม แต่หากคุณมีอาการใต้ตาคล้ำอยู่เสมอ หรือมีขอบตาดำเรื้อรัง นั่นอาจจะแปลว่า คุณกำลังเป็นภูมิแพ้อยู่ก็ได้นะ! ขอบตาดำคล้ำ มีสาเหตุจากอะไรบ้าง? ขอบตาดำคล้ำ – Dark Circle เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ฮอร์โมน อาการเจ็บป่วย หรือหลายสาเหตุรวมกัน โดยปัจจัยตัวอย่าง ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดขอบตาดำ คือ อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ถุงใต้ตาบริเวณหนังตาก็จะเริ่มหย่อนยาน และทำให้เกิดเป็นเงาบริเวณขอบตา รวมไปถึงการที่ผิวหนัง ผลิตไขมัน และคอลลาเจนลดลง ทำให้ผิวหนังบางลง จนเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้ชัดเจน และรอยคล้ำบริเวณขอบตา ก็ชัดเจนขึ้นตามไปด้วย ความเครียด และพักผ่อนน้อย ความเครียดสะสม หรือความเครียดเรื้อรัง อาจส่งผลให้คุณมีปัญหาในการนอนหลับ จนทำให้ผิวซีด และดวงตาบุ๋มลึกมากขึ้น จนสามารถเห็นรอยคล้ำใต้ตาได้ชัดเจน อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น อาการภูมิแพ้ เพราะหากเกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นตา จะทำให้ระคายเคืองดวงตา และเผลอไปขยี้ตาได้ ส่งผลให้ขอบตาดำ หรือเมื่อเกิดการคัดจมูก อาการคัดจมูกอาจทำให้ เส้นเลือดบริเวณดวงตา ขอบตาดำคล้ำ เพราะนอนไม่พอ อะหรือเป็น ภูมิแพ้ กันแน่!?

“6 โรคหน้าฝน” ที่ไม่รัก!! ระวังไว้หน่อย จะได้ไม่ป่วย

  ฝนที่ตกลงมาให้ได้ชุ่มฉ่ำกัน หลังจากหน้าร้อนที่ผ่านมา คงทำให้ใครหลายคนทั้งชอบใจ ทั้งหงุดหงิด เพราะถึงจะเย็นสดชื่น แต่ก็ทำให้รถติดมากขึ้นกว่าเดิม แถมยังชื้นแฉะ และพาโรคต่าง ๆ มาให้อีกด้วย เพราะฉะนั้น หากไม่อยากเป็น โรคหน้าฝน ที่เอามาบอกกันในวันนี้แล้วละก็ อย่าลืมดูแลร่างกาย และรักษาสุขภาพกันเสียแต่เนิ่น ๆ ด้วย – ไข้หวัด โรคฮิตทั้งปี! รวมอาการ และวิธีรักษา – 9 สัญญาณ อาการไข้เลือดออก เช็คให้เป็น ป้องกันตัวเองให้ดี! – วิธีเสริมภูมิคุ้มกันในฤดูฝน ให้ห่างไกลหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นไข้! 6 โรคหน้าฝน ที่ต้องเฝ้าระวัง อย่ามองข้าม! 1. โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่ในปัสสาวะของหนูหรือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว โค กระบือ และสัตว์ฟันแทะทั้งหลายเป็นพาหะ โดยเชื้อเหล่านี้จะปะปนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง หากสัมผัสถูกเชื้อ จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยขีดข่วน เยื่อบุจมูก เยื่อบุตา และเยื่อบุในช่องปากได้อย่างง่ายดาย “6 โรคหน้าฝน” ที่ไม่รัก!! ระวังไว้หน่อย จะได้ไม่ป่วย

ปั่นอย่างไร ให้ปลอดภัย? รวม เทคนิคการปั่นจักรยาน ที่นักปั่นต้องรู้

  มามะ… มาปั่นจักรยานกันเถอะ ^^ เพราะ การปั่นจักรยาน ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ให้ความสนุกสนาน และสามารถผ่อนคลายไปกับบรรยากาศรอบข้างได้อีกด้วย แต่การปั่นจักรยานไม่ใช่แค่ขึ้นไปแล้วปั่นให้เหงื่อออก เพราะ ยังมี เทคนิคการปั่นจักรยาน ที่นักปั่นจำเป็นต้องรู้ เพื่อให้ส่งผลดีต่อร่างกายเรามากที่สุดนั่นเอง เทคนิคการปั่นจักรยาน ฝึกปั่นแบบ Interval เพื่อให้ฟิตได้นาน วิธีการฝึกปั่นจักรยานมีหลากหลายวิธี คนที่ชอบความเร็วอาจจะปั่นเร็วแรงตั้งแต่แรก ยาวจนเหนื่อย บางคนเน้นสบาย ๆ ขี่กินลมไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็ดีทั้งสองแบบ ทั้งนี้วิธีการขี่จักรยานที่ได้ผล และช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากจักรยานมากขึ้น นั่นคือ “การขี่จักรยานแบบเบาสลับหนัก” หรือที่เรียกว่า “อินเทอร์วอล (Interval)” ซึ่งการขี่จักรยานแบบดังกล่าวจะทําให้ร่างกายออกแรงเต็มที่อีกด้วย การปั่นจักรยานแบบอินเทอร์วอล (Interval) สามารถทําได้หลายวิธี และส่งผลกับร่างกายแตกต่างกันออกไป วิธีที่นิยมกันก็คือ การปั่นเพื่อความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ใช้เวลาเพียงเซตละ 10 นาทีเท่านั้น โดยจะต้องปั่นออกแรงเต็มที่ ต่อเนื่องกัน 40 วินาที และปั่นเบาลง 20 วินาที ทําสลับกันแบบนี้ 10 ครั้งนับเป็น 1 เซต ปั่นอย่างไร ให้ปลอดภัย? รวม เทคนิคการปั่นจักรยาน ที่นักปั่นต้องรู้

คุณภาพชีวิตที่สูญไป… “หูตึง” สาเหตุ อาการ ทางแก้ไข

  เคยทะเลาะกับคนรอบข้างเพราะเรื่อง “ไม่ได้ยิน” บ้างมั้ยคะ? เรียกแล้วทำเป็นไม่สนใจ หรือดูเหมือนไม่ตั้งใจฟังในสิ่งที่กำลังพูดอยู่… บางทีคน ๆ นั้นอาจจะไม่ได้ยิน เพราะมีอาการ หูตึง อยู่ก็ได้นะ ระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยิน หูตึง (Hearing loss) นั้นมีอยู่หลายระดับ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ตามความสามารถในการรับฟัง คือ หูตึงน้อย ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ แต่ได้ยินเสียงพูดปกติ อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังในบางครั้ง หูตึงปานกลาง ต้องพูดดังกว่าปกติจึงจะได้ยิน จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังขณะพูดคุยกับผผู้อื่น หูตึงมาก ไม่ได้ยินเสียงพูดที่ดังมาก ต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา หูตึงรุนแรง ต้องตะโกน หรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน แต่ก็ยังได้ยินไม่ชัดเจน หูหนวก ไม่ได้ยินที่ผู้อื่นพูดเลย แม้จะตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงแล้วก็ตาม แบบไหนถึงเรียกว่า หูตึง ผู้ที่มีอาการ หูตึง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบชั่วคราว และถาวร โดยอาจมีอาการต่อไปนี้ มักขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำ ๆ ช้า ๆ และดัง ๆ คิดว่าคนอื่นพูดเบาเกินไป หรือพูดไม่ชัดเจน มีปัญหาด้านการได้ยิน โดยเฉพาะเวลาที่มีเสียงแทรกรบกวน หรือเมื่ออยู่ในที่ที่มีคนจำนวนมาก ได้ยินเสียงพยัญชนะต่าง คุณภาพชีวิตที่สูญไป… “หูตึง” สาเหตุ อาการ ทางแก้ไข

“ยาสามัญประจำบ้าน” คืออะไร และควรมียาอะไรบ้างนะ?

  ยาสามัญประจำบ้าน (household drugs) เป็นยาที่เจ้าของบ้านควรมีติดบ้านไว้ เพราะ จะได้รักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยเบื้องต้นได้ทันท่วงที วันนี้ GedGoodLife จึงขอแชร์เนื้อหา และข้อมูลที่ควรรู้ เกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้าน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปตามอ่านกันเลย ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร? ยาสามัญประจำบ้าน เป็นชื่อเรียกของกลุ่มยา ทั้งแผนปัจจุบัน และแผนโบราณ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน สามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยผู้ป่วยในบ้านสามารถใช้รักษาได้ด้วยตนเอง ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง ถ้าใช้ถูกวิธี ก็จะไม่เป็นอันตรายใด ๆ เช่น อาการไอ ปวดศีรษะ เป็นหวัด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ถูกมีดบาด เป็นต้น สามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เมื่อรู้เรื่องยาสามัญฯ แล้ว ก็ต้องรู้จักเลือกซื้อตู้เก็บยาให้ถูกลักษณะด้วย แล้วตู้ยาที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร Ged Good Life มีคำแนะนำมาฝาก 3 คุณสมบัติที่ดี ของตู้ยาสามัญประจำบ้าน (Medicine Cabinet) เป็นตู้ทึบแบบกันแสง เพราะ ตัวยาไม่ควรโดนแสงแดด ด้านหน้าอาจเป็นกระจกบานเลื่อน “ยาสามัญประจำบ้าน” คืออะไร และควรมียาอะไรบ้างนะ?

ร่างพัง! ถ้าไม่คุม “ฮอร์โมนหิว” 8 วิธีเด็ด จัดการให้อยู่หมัด

  เลื่อนฟีดเห็นอาหารก็หิว ดูทีวี ดูหนัง ดูละคร เห็นอะไรเป็นอาหารก็หิวไปหมด!!  หิวเก่งขนาดนี้ ไม่ดีต่อสุขภาพเอามาก ๆ เลยนะ เพราะจะทำให้เป็นได้ทั้ง โรคกระเพาะ และ กรดไหลย้อน แต่รู้หรือไม่ว่าร่างกายเรามีฮอร์โมนร้าย ๆ ที่ทำให้หิวเก่ง นั่นก็คือ ฮอร์โมนหิว นั่นเอง ว่าแต่เจ้าฮอร์โมนร้ายตัวนี้ มันมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมถึงทำให้หิวบ่อย มาติดตามไปพร้อม ๆ กับ GedGoodLife กันเลย ฮอร์โมนหิว มีจริงหรือ? ฮอร์โมนหิว มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร เพื่อส่งสัญญาณบอกสมอง สั่งให้มือหยิบอาหารเข้าปาก ช่วงก่อนมื้ออาหารเป็นช่วงที่ระดับของเกรลินจะเพิ่มขึ้นสูง หรือก็คือช่วงที่เรารู้สึกหิวตามปกตินั่นเอง และเมื่อกินอาหารแล้ว ระดับของเกรลินก็จะลดลงไปนานราว 3 ชั่วโมง ก่อนจะเพิ่มปริมาณขึ้นจนทำให้เรารู้สึกหิวอีกครั้ง เทคนิกง่าย ๆ ที่จะช่วยควบคุมปริมาณเกรลิน และทำให้คุณไม่หิวง่าย คือ 1. กินอาหารเช้า การอดอาหารเช้า จะทำให้เกรลินหรือ ฮอร์โมนหิว เพิ่มระดับสูงขึ้น ร่างพัง! ถ้าไม่คุม “ฮอร์โมนหิว” 8 วิธีเด็ด จัดการให้อยู่หมัด

10 เคล็ดลับสำหรับคนเป็น “ภูมิแพ้หน้าฝน”

อาการภูมิแพ้หลายคนคงเคยสัมผัสมาแล้วในช่วงชีวิตหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจจะมีอาการเฉพาะบางช่วงเวลาของแต่ละปี เช่น ภูมิแพ้หน้าฝน เป็นต้น จากงานวิจัยพบว่าอาการภูมิแพ้ของคนจำนวนไม่น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว รวมถึงในช่วงรอยต่อระหว่างฤดูดังกล่าว และอีกกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ มักจะมีอาการตลอดช่วงระยะเวลาทั้งปี รวมถึงยังพบว่าในกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีลงมา มักเกิดอาการภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าช่วงวัยที่มากกว่า เมื่อต้องสัมผัสอากาศเย็นในห้องที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และจากการศึกษายังค้นพบอีกว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฤดูฝน เป็นช่วงที่มีอาการภูมิแพ้ หรือ ภูมิแพ้หน้าฝน มากกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ก็เพราะสภาพความชื้นในอากาศ ที่มีสูงกว่าปกติ รวมถึง ฝุ่นละอองจากสารชีวภาพต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ 1. สารจากเกสรดอกไม้ ซึ่งตามสถิติพบว่าเป็นอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และพบบ่อยมากที่สุดโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ละอองจากเกสรดอกไม้จะมีมากกว่าฤดูอื่น อ่านบทความเพิ่มเติม : ภูมิแพ้เกสรดอกไม้ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา 2. หญ้า เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้มากยิ่งขึ้น ยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มีทั้ง ละอองเกสรดอกไม้ และหญ้า แล้วละก็ อาการแพ้ก็จะปรากฏตามร่างกายได้รุนแรงกว่าเดิม 3. วัชพืช เศษวัสดุ และละอองจากวัชพืช เพียงเสี้ยวเล็ก 10 เคล็ดลับสำหรับคนเป็น “ภูมิแพ้หน้าฝน”

รวม “โรคติดต่อ ยอดฮิตในออฟฟิศ” ป้องกันสักนิด ก่อนป่วยยกแก๊งค์

  คนทำงานส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอยู่ที่ออฟฟิศของตัวเองมากกว่าที่อื่น ๆ และบางคนก็แทบจะกินนอนกันอยู่ในออฟฟิศเลยทีเดียว และเนื่องจากออฟฟิศจำนวนมากเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศมากนัก ทำให้เมื่อคนหนึ่งป่วย คนอื่น ๆ ก็จะป่วยตามกันไปด้วย จึงเกิด โรคติดต่อในออฟฟิศ ขึ้นมาได้ง่าย ๆ งั้นมาทำความรู้จักโรคเหล่านี้กันดีกว่าว่า มีโรคอะไรบ้าง เกิดจากอะไร และเราควรป้องกันตัวเองยังไง รวม โรคติดต่อในออฟฟิศ รู้ทัน ป้องกันได้ • ไข้หวัด (Common cold) และ ไข้หวัดใหญ่ (influenza) แทบจะเรียกได้ว่าเป็นโรคติดต่อยอดฮิตตลอดกาลของทุกออฟฟิศ เพราะ ไข้หวัด และ ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี แถมยังติดต่อได้ง่าย เมื่อมีใครสักคนเป็นหวัดขึ้นมา เชื้อก็จะแพร่กระจายไปทั่วทั้งออฟฟิศได้อย่างรวดเร็ว แถมเมื่อออกจากร่างกายแล้ว เชื้อไวรัสไข้หวัดก็ยังอยู่ได้นานอีกหลายชั่วโมง ทำให้โอกาสในการติดหวังเพิ่มสูงขึ้นไปอีก หากร่างกายไม่แข็งแรงพอ หรือไม่ได้รักษาความอบอุ่นของร่างกายอยู่เสมอแล้ว ก็นับถอยหลังเตรียม เป็นหวัด เตรียม ยาแก้หวัด คัดจมูก ติดโต๊ะเอาไว้กันได้เลย • ไข้เลือดออก (Dengue Fever) ไข้เลือดออก รวม “โรคติดต่อ ยอดฮิตในออฟฟิศ” ป้องกันสักนิด ก่อนป่วยยกแก๊งค์

ไอกลางคืน หนักมาก จนนอนไม่หลับ ควรทำไงดี?

  อาการ ไอกลางคืน จนนอนไม่หลับ หรือหลับไปแล้วก็ยังสะดุ้งตื่นขึ้นมาไอได้อีก!! ใครที่เป็นอยู่ คงรู้ดีว่ามันทรมานแค่ไหน!… งั้นมาดูกันดีกว่าว่า จะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยแก้อาการไอตอนกลางคืน อย่างได้ผล และปลอดภัย ไอ100วัน เจ็บคอมาราธอนไม่หายสักที! ทำไงดีนะ? ไอเรื้อรัง มีเสลด และเลือด อาจเสี่ยงเป็น “โรคหลอดลมอักเสบ” โรคหอบหืด รู้ทันอาการ เซฟชีวิตคุณได้! อาการไอ คืออะไร? อาการไอ (Cough) เกิดจากการที่มีสิ่งกระตุ้น หรือสารระคายเคืองบริเวณ ทางเดินหายใจส่วนบน และล่าง ทำให้มีการส่งสัญญาณไปที่บริเวณสมองส่วนควบคุมการไอ และส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อกระบังลม เกิดการตีบแคบของหลอดลม จึงเกิดอาการไอขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกำจัดเชื้อโรค เสมหะ และสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ ไอกลางคืน มีสาเหตุจากอะไรบ้าง? สำหรับใครที่มีอาการไอกลางคืนเป็นหลัก ให้สงสัยว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เราสัมผัสตอนกลางคืน อาจเกี่ยวข้องกับอาการไอของเรา โดยเฉพาะ ฝุ่นในห้องนอน เป็นต้น 1. แรงโน้มถ่วง – เมื่อเราเอนกายลงนอน กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร จะไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ทำให้รู้สึกระคายบริเวณลำคอ จนเกิดอาการไอได้ 2. อากาศแห้ง ไอกลางคืน หนักมาก จนนอนไม่หลับ ควรทำไงดี?

ปิ้งย่างไม่อั้น โรครุมเร้าไม่ยั้ง! “6 ภัยร้ายอาหารปิ้งย่าง” พร้อมเทคนิคการกินเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

  เนื้อสัตว์สุดโปรดบนเตาย่างร้อน ๆ พลิกไปพลิกมา เสียงดังเปี๊ยะ ซู่ซ่า ๆ ชวนน้ำลายไหล แถมยังมาพร้อมกลิ่นหอมของเครื่องเทศที่เราชื่นชอบ แค่นึกก็หิวขึ้นมาทันที!! แต่เดี๋ยวก่อน… อาหารปิ้งย่างที่ชวนหิวต้นปียันท้ายปีเนี่ย มันมีอันตรายแอบแฝงมาด้วยนะ ถ้ากินเป็นประจำ ระวัง!! โรคมะเร็งจะถามหา… งั้นมาดู 6 ภัยร้ายอาหารปิ้งย่าง และเทคนิคการกินกันเถอะ 6 ภัยร้ายอาหารปิ้งย่าง  1. ฝุ่นละอองที่สามารถลอย หรือแขวนลอย อยู่ในชั้นบรรยากาศ (Aerosols, แอโรซอล) – จะทําให้ความเร็วของการไหลของอากาศในปอดลดลง ส่งผลให้เกิดการตกค้างของ “ฝุ่นละอองในปอด” ถ้ามีปริมาณมาก จะทําให้มีโอกาสป่วยด้วย โรคระบบทางเดินหายใจ มากขึ้น 2. สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds, VOCs) – ทําให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยมีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ และเป็นสารที่มีความเสี่ยงในการก่อมะเร็ง 3. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) – สามารถจับกับเลือดได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200-250 เท่า จึงได้ชื่อว่าเป็น ปิ้งย่างไม่อั้น โรครุมเร้าไม่ยั้ง! “6 ภัยร้ายอาหารปิ้งย่าง” พร้อมเทคนิคการกินเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า

ทริคส์เด็ด! เซย์กู๊ดบายปัญหา… “ก้นลาย”

  ก้น ส่วนที่ถูกปกปิดเอาไว้ ไม่ให้ใครได้เห็นกันง่าย ๆ แต่เมื่อเกิดปัญหาก้นดำคล้ำ หรือเกิดรอยแตกลายขึ้นมา ก็ทำให้สาว ๆ ต้องกลุ้มอกกลุ้มใจกับปัญหา ก้นลาย กันได้ไม่น้อย เพราะทำให้ไม่มั่นใจ เวลาใส่กางเกงขาสั้นหรือบิกินี่เล่นน้ำ งั้นเรามาดูสาเหตุ และวิธีกำจัดก้นลายกันเถอะ อะไรคือตัวการที่ทำให้ ก้นลาย? ก้นลาย หรือ Butt Stretch Marks คือรอยแตกบริเวณก้นหรือบั้นท้าย ที่เกิดขึ้นจากการยืด และหดตัวอย่างรวดเร็วของผิวหนัง ทำให้เนื้อเยื่อในชั้นผิวหนังแท้ยืดมากเกินไป หรือเกิดการฉีกขาด ทำให้เส้นเลือดในชั้นผิวหนังเด่นชัดขึ้นมาเป็นรอยบาง ยาว สีขาว หรือสีที่สว่างกว่าสีผิวปกติ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น • การเจริญเติบโตในวัยเด็ก ร่างกายช่วงวันรุ่นจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในเด็กผู้หญิง อาจมีรอยแตกที่บริเวณหน้าอก สะโพก หรือต้นขาได้ • น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก้นลาย อาจเกิดได้จากการที่น้ำหนักร่างกายเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว หรือมีการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาสั้น ๆ • การตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายมากมาย เช่น ฮอร์โมนช่วยเพิ่มความอ่อนนุ่มและความยืดหยุ่นให้เอ็นบริเวณกระดูกเชิงกรานและผิวหนัง ทริคส์เด็ด! เซย์กู๊ดบายปัญหา… “ก้นลาย”

เสียงแหบ แห้ง หาย… “วิธีบำรุงดูแลเสียง” ให้ใสน่าฟังอยู่เสมอ

  อยากใช้เสียง แต่ดันไม่มีสิทธิ์! เพราะ เสียงดันแหบ แห้ง หาย ไปสะอย่างงั้น! งั้นมาดู “วิธีบำรุงดูแลเสียง” กันดีกว่า จะได้กลับมามีสิทธิ์ใช้เสียงใสใสกันถ้วนหน้า เสียงแหบ แห้ง เสียงหาย เกิดจากอะไร? เสียงแหบ คือ ภาวะที่เสียงของเราเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม เสียงเบาลง เสียงพูดสูง หรือต่ำกว่าปกติ พูดแล้วเสียงไม่ออก เสียงขาด ๆ หาย ๆ ภาวะเสียงแหบแห้งนี้ เกิดจากความผิดปกติของสายเสียงที่อยู่ในกล่องเสียงของเรา เกิดอาการบวม อักเสบขึ้น ทำให้เสียงเราแหบ หรือผิดปกติไป สาเหตุที่ทำให้สายเสียงบวม อักเสบ ผิดปกตินั้น เกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ใช้เสียงผิดวิธี เป็นสาเหตุหลักที่หลายคนเสียงแหบแห้ง การใช้เสียงผิดวิธี การตะโกน หรือใช้เสียงเป็นเวลานาน ๆ เกินไป เช่น ไปร้องเพลงคาราโอเกะ เชียร์กีฬา ก็ทำให้เสียงแหบเสียงหาย เพราะสายเสียงอักเสบ เป็นหวัด กล่องเสียงอักเสบ การเป็นหวัดทำให้เสียงแหบได้ เนื่องจากเมื่อเป็นหวัดก็จะมีการอักเสบของบริเวณช่องจมูก เสียงแหบ แห้ง หาย… “วิธีบำรุงดูแลเสียง” ให้ใสน่าฟังอยู่เสมอ

อาการ ปวดหลัง หายได้ถ้าแก้เป็น!

  ลุกก็โอยยย… ก้มก็โอยยยย… นั่งก็โอยยยย… จะอิริยาบถไหนก็รู้สึก ปวดหลัง ไปเสียหมด!! สร้างความทุกข์ทรมานจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนจำนวนมาก โดยเฉพาะกับมนุษย์เงินเดือน รวมไปถึงผู้ที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ยกของตลอดเวลาด้วยนะ แล้วจะมีวิธีไหนบ้างนะ ที่จะช่วยลดอาการปวดหลังได้ Ged Good Life มีคำตอบมาให้แล้ว ปัจจัยที่ทำให้เรา ปวดหลัง (Backache) อายุ ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น เราก็จะปวดหลังได้ง่ายขึ้นด้วย ขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหลังเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ และปวดหลังได้ง่าย น้ำหนักตัวมากเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก จะทำให้กล้ามเนื้อหลังมีอาการตึง หรือเกร็ง ได้ง่ายกว่าคนที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า การยกของด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม การยกของโดยใช้น้ำหนักจากหลังแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ โดยเมื่อท่าทางที่ใช้ในการยกของนั้นไม่เหมาะสม โรคประจำตัว โรคบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ เช่น โรคข้ออักเสบ มะเร็ง สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายลำเลียงสารอาหารไปยังหมอนรองกระดูกสันหลังได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ภาวะทางจิตใจ ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการปวดหลัง ปวดหลังแบบไหน เกิดจากอะไรบ้าง? – ปวดหลังอย่างเดียว อาการ ปวดหลัง หายได้ถ้าแก้เป็น!

“โซเดียม” ยาพิษในทุกจานโปรด… “8 วิธีลดความเค็ม” ก่อนไตพัง!

  รู้หรือไม่ว่า… อาหารจานโปรดที่หลายคนชื่นชอบ ทานกันเป็นประจำทุกวัน มันมีปริมาณโซเดียมที่สูงเท่าไหร่ มีผลร้ายต่อสุขภาพแค่ไหน!? วันนี้ GedGoodLife ขอแนะนำ “8 วิธีลดความเค็ม” ใครรู้ตัวว่ากินเค็มเก่ง ต้องอ่าน และปรับนิสัยการทานอาหารสะแล้ว ไม่งั้น ไตอาจพังได้นะ! คนไทยบริโภคเค็มมากขึ้น! จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจอนามัย และสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2556 และปี 2560 ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างประมาณ 2.8 หมื่นครัวเรือน ชี้ว่าคนไทยให้ความสำคัญกับความสุขจากการกินมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ สุขภาพ และคุณภาพ คนไทยกินบ่อยขึ้น จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าคนไทยกินบ่อยขึ้น โดยในปี 2560 คนไทยกว่าร้อยละ 89.4 กินอาหาร 3 มื้อต่อวัน ซึ่งมีตัวเลขเพิ่มขึ้นจาก 88.0% ในปี 2556 คนไทยกินรสหวาน เค็ม มากขึ้น โดยสัดส่วนของคนที่กินรสหวานเป็นอาหารมื้อหลักเพิ่มจาก 11.2% ในปี 2556 มาเป็น 14.2% ในปี 2560 “โซเดียม” ยาพิษในทุกจานโปรด… “8 วิธีลดความเค็ม” ก่อนไตพัง!

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save