gedgoodlife

โรคภูมิแพ้ในเด็กเรื่องน่ารู้สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่

รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน จากสถิติในปัจจุบันพบว่าเด็กไทยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น 3-4 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม มลภาวะต่าง ๆ และความเป็นเมืองที่มากขึ้น ทั้งยังมีปัจจัยจากพฤติกรรมของเราที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น การขาดการออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เด็กกินนมแม่ลดลง และการสูบบุหรี่ ที่มากขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย 3 อันดับ ได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ซึ่งพบได้สูงถึง 30% ในเด็กไทย และโรคหืดหรือหอบหืดซึ่งพบได้มากถึง 13% ในเด็กไทย ส่วนโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบพบรองลงมา โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ “โรคแพ้อากาศ” เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดากลุ่มโรคภูมิแพ้ทั้งหมด ซึ่งโรคนี้จริง ๆ แล้วไม่ได้แพ้ อากาศ หรือ ออกซิเจน แต่ เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสารบางอย่างที่เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ ในอากาศ (aeroallergen) เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ละอองเกสรดอกไม้ รังแคสัตว์ เช่น โรคภูมิแพ้ในเด็กเรื่องน่ารู้สำหรับพ่อแม่ยุคใหม่

เปิดเทอมใหม่ทีไร ลูกเป็นหวัดทุกที!

โดย แพทย์หญิงวรยา ขัตติพัฒนาพงษ์ เปิดเทอมใหม่ทีไร ลูกเป็นหวัดทุกที! ปัญหาโลกแตกของพ่อแม่หลายๆ คน เมื่อลูกต้องกลับไปโรงเรียนเจอเพื่อนๆ แล้วก็มักจะกลับมาพร้อมกับน้ำมูกไหล ไอ จาม ไม่สบายตัว ไม่ใช่แค่เรื่องอากาศเปลี่ยนแปลง แต่การที่เด็กๆ มาอยู่รวมกัน ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ และการระบาดของโรคตามฤดูกาล ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เด็กๆ เป็นหวัดหรือโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น ไข้หวัด vs ภูมิแพ้ ต่างกันอย่างไร? หลายคนอาจสงสัยว่าลูกเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้กันแน่? ทั้งสองโรคมีอาการคล้ายกันหลายอย่าง เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม แต่สาเหตุและลักษณะเฉพาะของอาการแตกต่างกันดังนี้: หวัด: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย มักมีไข้ เจ็บคอ ไอ และอ่อนเพลียร่วมด้วย อาการมักดีขึ้นภายใน 7-10 วัน ภูมิแพ้: เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสร รังแคสัตว์ มักมีอาการคัน จาม น้ำมูกใส และคันตา อาการมักเป็นๆ หายๆ ขึ้นอยู่กับการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้     วิธีป้องกันลูกน้อยไม่ให้ป่วย เปิดเทอมใหม่ทีไร ลูกเป็นหวัดทุกที!

รักสุขภาพ กรดไหลย้อนป้องกันได้

นายแพทย์ยงยุทธ หวังรุ่งทรัพย์ สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ท่านทราบไหม? วิถีชีวิตแบบสังคมเมืองเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา โดยไม่รู้ตัว โรคหนึ่งที่พบเห็นกันบ่อยในปัจจุบันคือ โรคกรดไหลย้อน หรือที่เรียกกันว่า GERD (Gastro-Esophageal Reflux Disease) อาการของโรคกรดไหลย้อน หรือ GERD คือ มีอาการรู้สึกจุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกเหนือลิ้นปี่ ที่เรียกว่า Heartburn อาการจุกแน่นอาจลามมาถึงบริเวณคอ มักเกิดหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ บางท่านอาจรู้สึกมีรสเปรี้ยวหรือขมในบริเวณปากและคอ บางทีอาจพบเศษอาหารขย้อนขึ้นมาถึงปาก อาการจุกเสียดอาจนานถึง 2 ชั่วโมง และจะแย่มากขึ้นถ้ากลืนอาหาร หรืองอตัวลง หรือนอนราบ แต่จะดีขึ้นถ้ายืนขึ้น หรือรับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร จำพวก Antacid เพราะยาจะไปลดความเป็นกรดในหลอดอาหาร นอกจากนี้ บางท่านตื่นขึ้นมาตอนเช้า อาจรู้สึกปากขมหรือเปรี้ยวในปากและคอ เนื่องจากมีน้ำย่อยหรือเศษอากหารไหลย้อนมาถึงปากและคอ บางท่านอาจกลืนติดขัด มีกลิ่นปาก ฟันผุ เสียงแหบ หรือไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ จนคิดว่าเป็นโรคหืด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ ปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน หรือ GERD เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน คือ 1. ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ รักสุขภาพ กรดไหลย้อนป้องกันได้

โรคกรดไหลย้อน

บทความโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) เป็นภาวะที่เกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งปกติแล้วกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย (Lower Esophageal Sphincter: LES) จะทำหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับ แต่ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน จะพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อปิดปากหลอดอาหาร ซึ่งจะทำให้เนื้ออาหารและน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ไหลกลับขึ้นไปยังหลอดอาหาร สาเหตุของโรคกรดไหลย้อนมีหลายประการ ดังนี้ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การทานอาหารเผ็ด กระเทียม ผักสดหรือผลไม้เปรี้ยว ทานอาหารมื้อใหญ่ ทานอาหารก่อนนอน ทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานอาหารรสจัด ทานอาหารที่มีไขมันสูง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การมีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน การตั้งครรภ์ โรคบางชนิด เช่น โรคหืดหอบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน ยาบางชนิด เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ยาต้านซึมเศร้า ปัจจัยพันธุกรรม อาการ อาการของโรคกรดไหลย้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่หรือหน้าอก มักเกิดหลังรับประทานอาหาร เรอเปรี้ยว โรคกรดไหลย้อน

คันจมูก น้ำมูกไหล เป็นหวัด หรือภูมิแพ้กันแน่

เภสัชกร โชติมา หาญณรงค์ ผู้ชำนาญการด้านเภสัชกรรม  การแยกระหว่างหวัด ภูมิแพ้ และอาการคันจมูก น้ำมูกไหล อาจทำได้ยาก เนื่องจากมีอาการบางประการที่คล้ายคลึงกัน การแยกระหว่างหวัดและภูมิแพ้จากอาการคันจมูก น้ำมูกไหล ทั้งหวัดและภูมิแพ้ต่างก็ทำให้เกิดอาการคันจมูก น้ำมูกไหล แต่มีรายละเอียดบางประการที่ช่วยแยกความแตกต่างระหว่างสองโรคนี้ได้ดังนี้: หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการมักปรากฏหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วยเป็นหวัด 1-3 วัน อาการทั่วไป ได้แก่ คันจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ บางครั้งอาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย อาการมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ภูมิแพ้ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ อาการทั่วไป ได้แก่ คันจมูก น้ำมูกไหล จาม คันตา คันจมูกบางครั้งอาจมีน้ำตาไหลและคัดจมูก อาการมักไม่หายเอง จำเป็นต้องรักษาด้วยยาหรือหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้   ปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยแยก อาการ หวัด ภูมิแพ้ ระยะเวลา อาการหวัดมักปรากฏชั่วคราว คันจมูก น้ำมูกไหล เป็นหวัด หรือภูมิแพ้กันแน่

มีเสมหะ ระคายคอ กินยาและดูแลตัวเอง อย่างไรดี

  เภสัชกร โชติมา หาญณรงค์ ผู้ชำนาญการด้านเภสัชกรรม  เสมหะ เป็นสารเหนียวข้นที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อดักจับและกำจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นละออง แบคทีเรีย ไวรัส และสารระคายเคืองอื่นๆ ออกจากทางเดินหายใจ  ปกติแล้ว ร่างกายจะกำจัดเสมหะออกจากร่างกายโดยการไอ หรือ กลืนลงคอ อาการมีเสมหะ ระคายคอ คันคอ นั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไข้หวัด โรคภูมิแพ้ หรือ การระคายเคืองจากสิ่งแวดล้อม สาเหตุที่พบบ่อยของเสมหะ 1. หวัด: เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของเสมหะ เกิดจากไวรัสที่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ 2. ไซนัสอักเสบ: เป็นการอักเสบของโพรงจมูก เกิดจากแบคทีเรีย หรือ ไวรัส 3. หลอดลมอักเสบ: เป็นการอักเสบของหลอดลม เกิดจากไวรัส หรือ แบคทีเรีย 4. ปอดอักเสบ: เป็นการอักเสบของปอด เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือ เชื้อรา 5. ภูมิแพ้: เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น เกสรดอกไม้ มีเสมหะ ระคายคอ กินยาและดูแลตัวเอง อย่างไรดี

ห่วงใยสุขภาพ ระวัง!…กรดไหลย้อน

นายแพทย์ยงยุทธ หวังรุ่งทรัพย์ สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ท่านทราบไหม ทุกวันนี้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในเมืองต้องตื่นแต่เช้าด้วยความเร่งรีบ เพื่อฟันฝ่าปัญหารถติดในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน บางท่านอาจไม่ได้รับประทานอาหารเช้า บ้างก็ต้องรับประทานอาหารเช้าในรถ อีกทั้งยังมีคนไม่น้อยที่ต้องรับประทานอาหารเช้าอย่างรีบเร่งก่อนเข้าทำงาน หลังจากนั้น ก็ตรากตรำทำงานหนักตลอดทั้งวันจนถึงเย็น เมื่อเลิกงานก็ต้องรีบเร่งเดินทางกลับบ้าน กว่าจะถึงบ้านก็ค่ำทำให้รับประทานอาหารเย็นดึกเกิน เมื่อทานเสร็จก็ต้องรีบนอนหลับพักผ่อน เพื่อจะได้ตื่นเช้าในวันรุ่งขึ้นต่อสู้กับวิถีชีวิตในเมืองเช่นนี้อีก เป็นวัฏจักรของวิถีชีวิตสังคมคนเมืองที่เร่งรีบ จนดูกลายเป็นเรื่องปกติ วิถีชีวิตสังคมคนเมืองเช่นนี้ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหลายอย่างตามมาโดยไม่รู้ตัว โรคหนึ่งที่พบเห็นกันมากในปัจจุบันคือ โรคกรดไหลย้อน หรือ ที่เรียกกันว่า โรค GERD ด้วยวิถีชีวิตที่รีบเร่ง ส่งผลให้รับประทานอาหารไม่ตรงตามเวลา การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงตอนค่ำแล้วเข้านอนเลย โดยไม่มีช่วงเวลาที่จะให้อาหารที่ผ่านการย่อยในกระเพาะอาหารได้ไหลผ่านไปสู่ลำไส้เล็ก (ปกติใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง) เป็นผลให้ยังคงมีอาหารคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารค่อนข้างมาก เมื่อเข้านอนทันที ความดันภายในกระเพาะอาหารยังคงสูงกว่าในหลอดอาหาร ประกอบกับหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ เป็นผลให้อาหารเย็นที่ยังคงคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการของกรดไหลย้อนได้ ซึ่งมีภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Gastro-Esophageal Reflux Disease หรือ GERD นั่นเอง สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน หรือ GERD มักเกิดจากหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหารซึ่งต่อกับกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ จนทำให้กรด และ น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร ปกติแล้ว หูรูดส่วนปลายของหลอดอาหารจะทำหน้าที่เปิดเพื่อให้อาหารจากหลอดอาหารไหลเข้าไปสู่กระเพาะอาหาร แล้วปิดไม่ให้อาหาร ห่วงใยสุขภาพ ระวัง!…กรดไหลย้อน

หยุดหายใจขณะหลับภัยเงียบ เสี่ยง!..โรคกรดไหลย้อน

บทความนี้เขียนโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ   ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และโรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome: OSAS) และโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) มีความสัมพันธ์กัน พบได้บ่อยในคนไข้กลุ่มเดียวกัน โดยมีกลไกหลัก ดังนี้ การอุดกั้นทางเดินหายใจ: ในภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทางเดินหายใจส่วนบนจะตีบแคบลง ทำให้หายใจลำบาก ส่งผลให้เกิดความดันลบในช่องอกและช่องท้องเพิ่มขึ้น ความดันลบนี้ดันกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น การอักเสบ: ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร รวมถึงกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย โรคอ้วน: เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของทั้งสองโรค โรคอ้วนจะเพิ่มความดันในช่องท้อง ดันกระเพาะอาหารขึ้นมา กดทับหลอดอาหาร ทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย อาการ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ: นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ง่วงนอนตอนกลางวัน ปวดศีรษะตอนเช้า อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี โรคกรดไหลย้อน: รู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว คลื่นไส หยุดหายใจขณะหลับภัยเงียบ เสี่ยง!..โรคกรดไหลย้อน

GEDไว้แก้ไอ ลูกไอบ่อยเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง| GED Good Life

บทความโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ ลูกน้อยมีอาการไอบ่อยและมีเสมหะเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอากาศสามารถทำให้ระบบทางเดินหายใจของเด็กแพ้ง่ายขึ้น หากลูกน้อยมีอาการไอมีเสมหะ GEDไว้แก้ไอต้องดูแลเรื่องอุณหภูมิและความชื้นในสถานที่ที่ลูกอยู่ เพื่อช่วยลดอาการคันคอไอที่เกิดขึ้นได้ ในเด็กเล็กมักพบว่ามีอาการไอ เจ็บคอมีเสมหะ เนื่องจากอากาศเปลี่ยนได้บ่อย โดยอากาศเย็นจะกระตุ้นให้หลอดลมหดตัว อากาศแห้ง ทำให้เสมหะเหนียวขับออก ยาก มลพิษทางอากาศ ฝุ่นควัน การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลัก ติดเชื้อไวรัส: เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักไอแห้ง ไอค่อกแค่ก ไอเรื้อรัง อาจมีไข้น้ำมูกไหลร่วมด้วย ติดเชื้อแบคทีเรีย: มักไอมีเสมหะสีเหลือง เขียว ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ภูมิแพ้: มักไอเรื้อรัง ไอมากตอนกลางคืน ไอตอนอากาศเปลี่ยน มีน้ำมูก คัดจมูก โรคหอบหืด: มักไอเรื้อรัง ไอมากตอนกลางคืน หายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีเสียงหวีดเวลาหายใจ อาการกรดไหลย้อน: พบได้น้อยแต่บางครั้งอาการไอในเด็ก อาจมีสาเหตุมาจากอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากมีภาวะน้ำกรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดลม ซึ่งอาการนี้หากไม่ปรับพฤติกรรมการกิน อาจจะเป็นได้บ่อย ๆ ทำให้ลูกมีอาการไอ โรคไอกรน: GEDไว้แก้ไอ ลูกไอบ่อยเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง| GED Good Life

สบายท้อง มื้อครอบครัวทานเยอะอาหารไม่ย่อยต้องระวัง

นพ. อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.พญาไท นวมินทร์   ช่วงปีใหม่ หรือตรุษจีน ที่ผ่านมา คงเป็นวันเวลา ของมื้อครอบครัว ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา บางครั้งอาจมีอาหารหลากหลายที่มาเลี้ยงฉลอง ทำให้เราทานเยอะกินจุเกินไป จนลืมตัว ทำให้อาหารไม่ย่อย พะอืดพะอม เมื่อเราทานเยอะเกินไปอาหารไม่ย่อยทำให้เสี่ยงโรคต่าง ๆ ที่ควรระวังดังนี้ 1.โรคอ้วน หรือน้ำหนักเกิน เป็นปัญหาระดับชาติ เมื่อเราอ้วนหรือน้ำหนักขึ้น นำมาซึ่งโรคภัย ไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันพอกตับ ซึ่งบางครั้งอาจมาเป็นชุดทั้งหมดเลย หรือที่เรียกว่า ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ( Metabolic syndrome ) ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 2.โรคกรดไหลย้อน เจอบ่อยมาก ๆ เวลาทานเยอะ ๆ หรือน้ำหนักเกิน จะมีอาการแสบร้อน เรอเปรี้ยว บางครั้งเหมือนมีน้ำย่อยย้อนขึ้นมากลางอก หรือในช่องปาก จุกคอได้ มักเป็นเวลานอนราบ บางครั้งทำให้นอนไม่ได้ กรดไหลย้อนเกิดจากภาวะกรดเกิน สบายท้อง มื้อครอบครัวทานเยอะอาหารไม่ย่อยต้องระวัง

GEDไว้แก้จุกเสียด ท้องอืดก่อนเป็นประจำเดือนทำอย่างไรดี?

บทความโดย เภสัชกร ธร อำนวยผลวิวัฒน์ อาการก่อนเป็นประจำเดือนมีหลายอาการ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และบางครั้งอาการที่เกิดขึ้นในคนเดียวกันแต่ละเดือนก็อาจไม่เหมือนกันได้ โดยอาการที่พบได้บ่อย สามารถจำแนกกลุ่มอาการดังนี้ อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านร่างกาย สิวขึ้น น้ำหนักเพิ่ม ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  คัดตึงเต้านม  มือบวม เท้าบวม ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องเสีย อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านพฤติกรรม อาจมีอาการเหล่านี้ เช่น  รู้สึกเหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หลงลืมบ่อย อารมณ์ทางเพศลดลง อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านอารมณ์ เช่น รู้สึกเครียด เหงา สับสน กังวล หดหู่ เศร้า อยากร้องไห้ อารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ลำบาก หงุดหงิด สาเหตุของอาการก่อนมีประจำเดือน จากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin)  ระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็ง การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จากระดับฮอร์โมนลดลงประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้องน้อย หงุดหงิดง่าย การเปลี่ยนแปลงสาร เซโรโทนิน GEDไว้แก้จุกเสียด ท้องอืดก่อนเป็นประจำเดือนทำอย่างไรดี?

GEDไว้ลดกรดไหลย้อน กับวิธีป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน

บทความโดย เภสัชกร ธร อำนวยผลวิวัฒน์ หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท ดังนี้ อาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารที่ทำให้ย่อยยาก เช่น อาหารไขมันสูง อาหารปรุงด้วยน้ำมันมากๆ เนย ชีส อาหารหรือเครื่องดื่มที่สัมพันธ์กับการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เช่น ช็อกโกแลต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารประเภทนี้จะไปลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส(ลม)และกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารหมัก ดอง อาหารบางชนิดกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ ควรแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ รวมถึงเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขณะทานอาหาร หาวิธีลดความเครียด เช่น ทำกิจกรรมที่ชอบ เนื่องจากความเครียดทำให้กระเพาะหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น มีการควบคุมน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักลดลง ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลงตาม ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง การท้นของกรดที่ขึ้นมาจะลดลงตามไปด้วย หลีกเลี่ยงการนอนราบ/นอนเอนตัว หลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 4 ชั่วโมง ไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที ดูแลระบบขับถ่าย ระวังอาการท้องผูก เนื่องจากท้องผูกทำให้มีลมในท้องมีมากกว่าปกติ ทำให้เกิดแรงดันในท้องมากขึ้น สามารถดันให้กรดไหลย้อนขึ้นมา GEDไว้ลดกรดไหลย้อน กับวิธีป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน

GEDไว้แก้ปวดหัว หลังวิ่งแล้วปวดหัวทำไงดี

บทความนี้เขียนโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ GEDไว้แก้ปวดหัว อาการปวดหัวหลังวิ่งมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างอาการปวดหัวที่พบได้บ่อย ได้แก่: 1. อาการปวดหัวตุ้บๆ: เกิดขึ้นหลังการวิ่ง เป็นเวลาสั้นๆ รู้สึกเหมือนมีอะไรมาตีหัว มักไม่รุนแรง และหายไปเองได้ 2. อาการปวดหัวแบบไมเกรน: เกิดขึ้นหลังการวิ่ง เป็นเวลาหลายชั่วโมง รู้สึกปวดตุ้บๆ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือไวต่อแสงและเสียง มักมีอาการปานกลางถึงรุนแรง ต้องทานยาแก้ปวดหัว 3. อาการปวดหัวแบบไซนัส: เกิดขึ้นหลังการวิ่ง เป็นเวลาหลายวัน รู้สึกปวดตื้อ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอ ร่วมด้วย   สาเหตุของอาการปวดหัวหลังวิ่งที่พบบ่อย และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น สาเหตุทั่วไป: 1. การขยายตัวของหลอดเลือด: การวิ่งทำให้เลือดไหลเวียนเร็วขึ้นและแรงดันเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้หลอดเลือดในศีรษะขยายตัว เกิดเป็นอาการปวดหัวตุ้บๆ วิธีแก้ปวดหัว จากการขยายตัวของหลอดเลือด คือ หยุดวิ่งทันทีเมื่อรู้สึกปวดหัว พักในท่าที่สบาย นั่งหรือนอนราบ วอร์มร่างกายก่อนวิ่ง ปรับการวิ่ง วิ่งช้าลง GEDไว้แก้ปวดหัว หลังวิ่งแล้วปวดหัวทำไงดี

สายเที่ยวป่าปีนเขาช่วงหน้าหนาว ต้องระวัง! “โรคไข้รากสาดใหญ่” ทำป่วยมีไข้สูง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือน! นักท่องเที่ยวที่ชอบกางกางเต็นท์นอนในพื้นที่ป่าภูเขาให้ระมัดระวังตัวไรอ่อนกัด เสี่ยงติดเชื้อ และป่วยเป็น “โรคไข้รากสาดใหญ่” ได้ หากอาการรุนแรงอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว! ไข้รากสาดใหญ่ จะมีอาการ และวิธีรักษาป้องกันอย่างไร… มาติดตามกันได้เลย หวัดจากเชื้อ ไวรัส VS แบคทีเรีย แตกต่างกันยังไง? แบบไหนรุนแรงกว่ากัน! โรคไข้หวัด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และข้อควรรู้เรื่องหวัดกับ หมออ้อม แพทย์เตือน! เป็นหวัด เจ็บคอบ่อย สัญญาณภูมิต่ำที่ต้องระวัง โรคไข้รากสาดใหญ่ อันตรายจากตัวไรอ่อนกัด! ไข้รากสาดใหญ่ หรือ สครับไทฟัส เป็นโรคที่พบได้ทุกฤดูกาล แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเชีย (Rickettsia) ตามธรรมชาติ โดยมีตัวไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค (มีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น) มักพบอยู่ตามพุ่มไม้ ป่าละเมาะ พงหญ้าใกล้กับพื้นดินที่มีความชื้นแต่ไม่เปียกแฉะ ตัวไรอ่อนจะกัดคน เพื่อกินน้ำเหลืองเป็นอาหาร เมื่อคนถูกกัดจะได้รับเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้รากสาดใหญ่ หากมีการเกาบริเวณที่ถูกกัดจะทำให้ผิวหนังเปิด เป็นเหตุให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น ระยะฟักตัวของโรค : 6-20 วัน โดยเฉลี่ย สายเที่ยวป่าปีนเขาช่วงหน้าหนาว ต้องระวัง! “โรคไข้รากสาดใหญ่” ทำป่วยมีไข้สูง

ธาตุเหล็ก สำคัญกับวัยเด็กอย่างไร?

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก เนื่องจากช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่าง ๆ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงในการนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล มีพัฒนาการที่ดี แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เด็กทารกสามารถรับธาตุเหล็กจากครรภ์มารดาตอนแรกเกิด โดยน้ำนมแม่มีธาตุเหล็กอยู่ 0.35 mg/L ถ้าน้ำนมแม่ผลิตได้ 800 ml ต่อวัน ทารกจะไดรับธาตุเหล็ก 0.27mg ต่อวัน  ดังนั้นในทารก 6 เดือนแรก ได้รับธาตุเหล็ก 0.27 mg ต่อวันจากนมแม่ รวมกับธาตุเหล็กสะสม เหล็กจากการแตกตัวของฮีโมโกลบิน ก็เพียงพอแล้ว นอกจากธาตุเหล็กที่ได้จากนมแม่แล้ว ยังมีอาหารอื่น ๆ ที่ให้ธาตุเหล็กสูงสำหรับเด็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ไข่แดง เด็กวัยเรียนควรกินเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ขาดธาตุเหล็ก ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า ตำลึง บรอกโคลี และควรกินร่วมกับ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดียิ่งขึ้น ไม่ควรกินอาหาร พร้อมกับนมวัว นมถั่วเหลือง เพราะแคลเซียมในนม ธาตุเหล็ก สำคัญกับวัยเด็กอย่างไร?

มีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า! 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว

ฤดูหนาวเป็นอากาศที่เต็มไปด้วยความชื้น ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคือง คันจมูก หรือคันคอได้ ทั้งนี้ควรมีการป้องกันอาการทางเดินหายใจ โดยใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่น นอกจากนี้ควรมียาบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่มักเกิดขึ้นในหน้าหนาว มาดูกันว่า 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว มีอะไรบ้าง… อากาศเปลี่ยน ใช้ยาให้ถูกโรค ดูแลสุขภาพให้ดี ห่างไกลหวัดและภูมิแพ้ ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร และควรมียาอะไรบ้างนะ? เที่ยวอุ่นใจไม่กลัวป่วย! ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก มีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า! 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว 1. ยาแก้หวัดสูตรผสม ยาที่เป็นสูตรผสมที่มีฤทธิ์ลดไข้ และแก้แพ้ลดน้ำมูกและคัดจมูกร่วมด้วย เช่น ยาสูตรพาราเซตามอล (Paracetamol) 500 มก.และยาคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine Maleate) 2 มก. เช่น ดีคอลเจน สามารถทำให้บรรเทาอาการต่างๆได้ดี มีสรรพคุณครบ 2. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูกที่ควรมีติดบ้าน  ควรเลือก “ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง“ ออกฤทธิ์ยาวเช่นยาลอราทาดีน (อัลเลอร์นิค) โดยยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงจะออกฤทธิ์จับกับตัวรับฮีสตามีนชนิดเอช-1 ได้น้อย ทำให้ไม่เกิดการง่วงซึมหรือมีผลต่อระบบประสาท นอกจากจะสามารถลดน้ำมูกได้แล้ว จะช่วยบรรเทาอาการผื่นคันได้ จึงนำมาใช้รักษาผื่นลมพิษได้ โดยยาแก้แพ้ ลดน้ำมูกที่ควรมีติดบ้าน มีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า! 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save