เทียบอาการให้ชัด! ไอภูมิแพ้ กับ ไอลองโควิด แตกต่างกันยังไง?

3 ก.ค. 24

ไอภูมิแพ้ กับ ไอลองโควิด

 

หายโควิดแล้ว แต่ยังไอค่อก ๆ แค่ก ๆ อยู่เลย แถมมีโรคภูมิแพ้เป็นประจำอยู่แล้วด้วย เลยไม่แน่ใจว่า อาการไอที่เกิดขึ้นนั้นมาจากผลกระทบจากโควิด หรือ ภูมิแพ้กันแน่… หากใครที่กำลังสงสัยอยู่ ไม่ต้องกังวลไป วันนี้ GED good life จะมาเทียบอาการให้เห็นกันชัด ๆ ไปเลยว่า ไอภูมิแพ้ กับ ไอลองโควิด แตกต่างกันยังไง… มาเช็กกันเลย!

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

อาการไอจากภูมิแพ้

เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ (Allergens) ชนิดต่าง ๆ ที่เราแพ้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไรฝุ่น ฝุ่นPM2.5 มลพิษ เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ เป็นต้น มักมีอาการไอดังต่อไปนี้

  • มีอาการไอร่วมกับจาม คันจมูก คัดจมูก และมีน้ำมูกใส ๆ
  • ไอแห้ง ๆ ไม่ค่อยมีเสมหะ
  • ไอเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ นานเป็นเดือน กระแอมตลอดเวลา
  • ไม่มีอาการไข้

โรคภูมิแพ้ที่มักทำให้มีอาการไอตามมา ได้แก่

  1. โรคหืด – ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบ เหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงดังหวีด และมักจะเป็น ๆ หาย ๆ บางรายอาจเกิดอาการทุกคืน
  2. โรคแพ้อากาศ – ผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม มีเสมหะในลำคอ ไอเรื้อรัง หรือกระแอมตลอดเวลา

อาการไอจากลองโควิด

ภาวะไอจากลองโควิด สามารถหายขาดได้ ไม่ต้องกังวล ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการไอมากจนรู้สึกกังวลใจ อาจพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายต่อไป

  • อาจไอมีเสมหะ หรือ ไอแห้ง รวมถึงอาจมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย
  • ผู้ป่วยบางรายอาจไอจากลองโควิด ได้ยาวนานตั้งแต่ 1-3 เดือน
  • ไอกลางคืนบ่อย จนนอนไม่ค่อยหลับ
  • หายใจมาก หายใจลึก หรือแค่พูดบ่อยก็เกิดอาการไอได้ (เกิดจากการเยื่อบุทางเดินหายใจในช่องคอถึงหลอดลมโดนทำลาย)
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไอปนเลือดเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้

จำไว้ว่า อาการไอจากลองโควิดมักจะมีอาการร่วมอื่น ๆ ด้วยดังนี้

  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • มีภาวะผมร่วงมากกว่าปกติ
  • สมองล้า ปวดศีรษะ
  • บางรายมีอาการภูมิแพ้กำเริบได้
  • อาจพบอาการท้องเสียร่วมด้วย

สรุปแล้ว ไอภูมิแพ้ กับ ไอลองโควิด แตกต่างกันยังไง?

• ไอจากลองโควิด ไม่ต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ก็เกิดอาการไอได้ ในขณะที่อาการไอจากภูมิแพ้ ต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ที่เราแพ้ก่อน ถึงจะเกิดอาการไอ

• ไอจากลองโควิด กับ ไอจากภูมิแพ้ มักจะมีอาการร่วมที่แตกต่างกัน เช่น อาการลองโควิด มักมีภาวะอ่อนเพลีย ผมร่วงมากขึ้น (ขึ้นอยู่กับบุคคล และเชื้อโควิดที่ได้รับ) แต่อาการไอจากภูมิแพ้ไม่มีอาการเหล่านี้

• หากไอกลางคืน มักเกิดจากไอภูมิแพ้ เพราะ ห้องนอนเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น และอากาศที่เย็นลง (ไอกลางคืนอาจเกิดจาก กรดไหลย้อน ได้เช่นกัน)

• ไอจากภูมิแพ้จะมีอาการเด่นทางจมูก เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูก ส่วนไอจากลองโควิดมักจะไออย่างเดียว

• ไอจากภูมิแพ้ มักมีอาการเรื้อรัง หรืออาจเป็นตลอดชีวิต เพราะ เมื่อไหร่ที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการไอได้ แต่อาการไอลองโควิดจะหายไปเมื่อหมดภาวะลองโควิด

ทั้งไอจากลองโควิด และไอจากภูมิแพ้ หากดูแลไม่ดี ก็อาจทำให้เกิด “ปอดอักเสบ” ได้!

รู้หรือไม่ว่า อาการไอทั้งจากไอลองโควิดหรือไอจากภูมิแพ้ หากปล่อยทิ้งไว้นาน สามารถก่อให้เกิด “โรคปอดอักเสบ” ได้ โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

• ไอจากโควิด มีโอกาสก่อให้เกิด -> ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ pneumonia (ปอดบวม) เพราะเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอด และเนื้อเยื้อโดยรอบได้

• ไอจากภูมิแพ้ มีโอกาสก่อให้เกิด > ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้

อาการสำคัญของโรคปอดอักเสบ ได้แก่

  • ไอมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกขณะหายใจ หรือไอ
  • หายใจเร็ว หายใจหอบ หายใจลำบาก
  • มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • เด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ

 

 

หายโควิดแล้วแต่ยังไออยู่ แบบนี้ยังสามารถแพร่เชื้อได้ไหม?

ไม่สามารถแพร่เชื้อได้แล้ว สำหรับผู้ป่วยโควิดที่รักษา และกักตัวตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด หรือครบ 10 วันแล้ว (หรือตรวจผลด้วยชุดตรวจ ATK ไม่เจอ 2 ขีดแล้ว) ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการแพร่เชื้อให้กับคนรอบข้าง สามารถออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

อาการไอที่ควรมาพบแพทย์

หากอาการลองโควิดไม่หายไปสักที แถมยังมีอาการไอร่วมกับมีเสมหะมากขึ้น หรือเสมหะเปลี่ยนสี มีไข้ เหนื่อยมากขึ้น นอนราบไม่ได้ เหนื่อยหอบ หายใจเข้าแล้วเจ็บแน่นหน้าอก แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อ มีการอักเสบจากเยื่อหุ้มปอด ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถรักษาเองได้

ส่วนใครที่อยากรู้ วิธีลดอาการไอจากภาวะลองโควิด สามารถอ่านต่อได้ที่บทความนี้ ->  วิธีลดอาการไอหลังหายจากโควิด-19

 

อ้างอิง : 1. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก 2. รพ.ศิครินทร์ 3. รพ.บำรุงราษฎร์ 4. Doctor Tany

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save