PM2.5 ทำให้เกิด มะเร็งปอด ได้อย่างไร? พร้อมชี้! 8 อาการเตือนมะเร็งปอด

28 มิ.ย. 24

มะเร็งปอด

 

“PM2.5 แค่หายใจก็เป็นมะเร็งปอดได้” คำกล่าวนี้ไม่ได้เกินจริงแต่อย่างใด และยังเป็นประเด็น talk of the town ในช่วงที่ PM2.5 ในไทยพุ่งแตะอันดับโลกอีกด้วย! เพราะมีคนไทยจำนวนมากได้รับผลกระทบจากฝุ่นพิษจิ๋วนี้ โดยเฉพาะกับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ และ เชียงใหม่ อาจได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษจนเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้ ฉะนั้นอย่าชะล่าใจไป! มาเช็กกันว่า 8 อาการเตือนป่วยมะเร็ง “มะเร็งปอด” จากPM2.5 มีอะไรบ้าง?

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

ฝุ่นPM2.5 สัมพันธ์กับ มะเร็งปอด อย่างไร?

ฝุ่นพิษ PM2.5 มีขนาดโมเลกุลเล็กมากเพียง 2.5 ไมครอน (มีขนาดเล็กจนขนจมูกเราก็กรองฝุ่นจิ๋วขนิดนี้ไม่ได้) ประกอบด้วยก๊าซพิษ และสารก่อมะเร็ง เกิดจากการเผาไหม้จากเครื่องรถยนต์ การเผาในที่โล่ง และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อฝุ่นPM2.5 เข้าสู่ร่างกาย นอกจากจะทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายแล้ว ยังเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ในเซลล์ของปอด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด (Lung cancer) ได้ในระยะยาว

อีกทั้ง PM2.5 ยังมีองค์ประกอบของสารเคมีบางชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของสารอินทรีย์ไม่สมบูรณ์ พบในเขม่าควันไฟ รวมถึงควันที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งส่งผลให้เกิดมะเร็งปอด

โดยปกติแล้วปอดมนุษย์จะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 25 ปี หากมีสารพิษกระทบในช่วงเจริญเติบโตของปอดจะส่งผลเสียต่อสมรรถภาพการทำงานของปอดในระยะยาว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ทุกระดับค่า PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเสียชีวิตจากมะเร็งปอดร้อยละ 15-21 และโรคหัวใจร้อยละ 12-14

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2556 ว่า PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่หนึ่งของสารก่อมะเร็ง ซึ่งผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพมีทั้งผลระยะสั้น และระยะยาว ได้แก่

ผลกระทบระยะสั้น

  • ระคายเคืองตา คอ และจมูก
  • หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ
  • ไอ
  • แน่นหน้าอก
  • เหนื่อย โรคหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกำเริบ
  • หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ

ผลกระทบระยะยาว

  • การเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืด ภูมิแพ้
  • ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดเป็นพังผืด มะเร็งปอด
  • โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
  • เด็กคลอดก่อนกำหนด ผลต่อการเจริญเติบโตของปอดในเด็ก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในอนาคต

รู้หรือไม่? ฝุ่น PM2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1-1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความร้ายแรงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่เลยทีเดียว!

 

 

8 อาการเตือนป่วย “มะเร็งปอด”

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า อาการที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งปอด ได้แก่

  1. ไอเรื้อรังติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ (อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้)
  2. ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะปนเลือด
  3. เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  4. น้ำหนักลด
  5. เหนื่อยง่าย
  6. อ่อนเพลีย
  7. เบื่ออาหาร
  8. บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือมีปอดติดเชื้อซ้ำซาก

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้วมักมีอาการแสดงตามที่ นพ. สกานต์ได้กล่าวไป

อย่างไรก็ตาม… อาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาการที่เฉพาะเจาะจงกับมะเร็งปอด แต่อาจพบในโรคอื่นได้ เช่น วัณโรคปอด ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งปอด ควรเข้ารับการคัดกรองเป็นประจำทุกปี หรือหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์

อาการเตือนป่วยมะเร็งปอด

นอกจากฝุ่นPM2.5 ที่เป็นปัจจัยก่อโรคมะเร็งปอดแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน ได้แก่

  • การสูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการเกิด โรค มะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย
  • การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง
  • ประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด มีผลการศึกษาระบุว่าหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อย ๆ สมาชิกในครอบครัวจะมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
  • ประวัติโรคปอดเรื้อรังเดิม เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพองเรื้อรัง และภาวะพังผืดที่ปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น

แพทย์เตือน! กลุ่มเด็กเล็ก และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ต้องระวังPM2.5 เป็นพิเศษ

นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และที่ปรึกษาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเตือนเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ควรระวังPM2.5 เป็นพิเศษ ไว้ดังนี้

สำหรับกลุ่มเด็กเล็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ชนิดแพ้ฝุ่นละอองนั้น เป็นกลุ่มที่ต้องเพิ่มความระวังเป็นเท่าตัว โดยการใส่หน้ากากอนามัยกันฝุ่น PM 2.5 สำหรับเด็ก และให้เด็กเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด ที่สำคัญไม่แนะนำให้ผู้ปกครอง ใส่หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาให้บุตรหลาน โดยเฉพาะลูกหลานที่เป็นโรคภูมิแพ้ฝุ่นละออง เพราะจะไม่เพียงพอต่อการป้องกันฝุ่นพิษจิ๋วในเด็ก

ในส่วนของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ก็แนะนำให้ทำมาตรการเดียวกัน คือให้ใส่หน้ากากอนามัยกันฝุ่น PM 2.5 ติดตามข่าวสารว่าเขตไหน หรือจุดไหนมีความเสี่ยงของฝุ่นพิษเยอะ ก็ให้เลี่ยงจุดที่มีฝุ่นพิษอยู่ในปริมาณอากาศจำนวนมาก และงดการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงนี้เช่นกัน หรือออกจากบ้านให้น้อยและใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด

 

จะเห็นได้ว่า ฝุ่น PM2.5 เป็นสาเหตุที่มีความเชื่อมโยงกับการป่วยมะเร็งปอด และโรคอื่น ๆ ที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ดังนั้นอย่าได้ประมาทฝุ่นพิษจิ๋ว PM2.5 นี้เด็ดขาด! เมื่อไหร่ที่ออกจากบ้าน ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ และควรหลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่ที่มีค่าฝุ่นPM2.5 สูง ด้วยความห่วงใยจาก GED good life อยากเห็นชีวิตคนไทยมีสุขภาพดีดี

อ้างอิง : 1. สสส. 2. รพ. เวชธานี 3. thereporters

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save