เตือนภัยฝุ่นPM2.5 ! นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศกว่าแสนรายแล้ว GED good life ขอแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยชนิด N95 (หรือหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ก็ได้) พร้อมพกยาแก้แพ้ เพื่อบรรเทาอาการแพ้จากฝุ่น PM2.5 อย่างทันท่วงที
- ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำร้ายสุขภาพเรายังไงบ้าง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน
- อาหารต้านฝุ่นพิษ PM2.5 กินดีเสริมภูมิ พร้อมสู้ฝุ่นร้าย!
- ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ?
สธ. เผย! มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ รวม 212,674 ราย
ข้อมูลจากระบบรายงานสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 24 มกราคม 2566 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ รวม 212,674 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบ ซึ่งได้ให้สถานพยาบาลทุกแห่งเตรียมความพร้อม ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยจากปัญหามลพิษทางอากาศแล้ว
นายแพทย์โอภาส จึงกำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากจังหวัดใดที่มีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกิน 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันเกิน 3 วัน ให้พิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC) เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์อย่างเป็นระบบ
เตือนภัยฝุ่นPM2.5! ช่วงวันที่ 22 – 28 ม.ค. 66 อัตราการระบายค่อนข้างอ่อน
คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่ช่วงวันที่ 22 – 28 ม.ค. 66 อัตราการระบายค่อนข้างอ่อน (น้อยกว่า2,000-4,000m2/s) (ยกเว้นวันที่ 28 อัตราการระบายอากาศดีมาก) แต่เนื่องจากเกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มค่อนข้างทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศา
และช่วงวันที่ 27-28 มกราคม 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ประกอบกับมีมวลอากาศเย็นระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่เข้ามา โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่พื้นที่ กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้
4 อาการร้ายเงียบของฝุ่นPM2.5 ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน!
ผลกระทบจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ใคร ๆ ก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า จะทำให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม คันจมูก คันตา เป็นต้น แต่ยังมีผลกระทบร้ายแรงที่หลายคนอาจยังไม่ทราบ และมีผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจโดยตรง ดังต่อไปนี้
1. ซึมเศร้า
PM2.5 เป็นพิษต่อระบบประสาท อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายได้ โดยมีรายงานผลการศึกษาข้อมูลทั่วโลกล่าสุดของแพทย์หญิง อิโซเบล เบรทเวต (Dr Isobel Braithwaite) จาก University College London หัวหน้าคณะวิจัยพบว่า คนที่ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางมลพิษทางอากาศมีอัตราการเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายสูงขึ้น
ทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า -> คลิกที่นี่
2. สติปัญญาด้อยลง
PM2.5 ทำให้สมองอักเสบ สมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ มีผลทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น สติปัญญาด้อยลง
3. คลอดก่อนกำหนด
เด็กที่ออกมามีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่าปกติ มีโอกาสเป็นออทิสติกสูงขึ้น ฉะนั้นสตรีตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ
4. ผิวหนังแก่เร็ว
การสัมผัสกับฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วยิ่งขึ้น ฝุ่นทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายผิวหนัง รวมถึงจุดด่างดำบนชั้นผิวหนังด้วย และเสี่ยงเป็นโรคกลุ่มมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น ในช่วงที่ฝุ่น PM2.5 มีค่าสูงมาก เราทุกคนควรปกป้องผิวหนังให้สัมผัสกับฝุ่นดังกล่าวให้น้อยที่สุด เช่น การใส่เสื้อแขนยาว การทาครีมปกป้องผิว เป็นต้น ยิ่งในคนที่มีโรคผิวหนังอยู่เดิมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบมากยิ่งขึ้น
ปัญหาแพ้ฝุ่นจบได้ด้วย ยาแก้แพ้ “ลอราทาดีน” ไม่ทำให้ง่วงนอน
ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยารักษาภูมิแพ้กลุ่มใหม่ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่ายาต้านอีสทามีน กลุ่มที่ ไม่ทําให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines) ออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง ใช้ลดอาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันตา บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ใช้รักษาลมพิษ และโรคผิวหนังที่เกิดจากภูมิแพ้
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมาก จึงทําให้อาการข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอน พบได้น้อย หรือผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการง่วงนอนเลยหลังจากกินยานี้ ทําให้ไม่ส่งผลเสียในการดําเนินชีวิตประจําวัน
รูปแบบ และ ปริมาณการใช้ยา ลอราทาดีน
– เด็กอายุ 2-5 ปี รับประทานชนิดน้ำ 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง โดยยาน้ำส่วนใหญ่จะมีความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร
– เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง สามารถใช้ได้ทั้งยารูปแบบเม็ด และแคปซูล
– ผู้ใหญ่ รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ดังนั้นยา Loratadine ชนิดเม็ตส่วนใหญ่จึงมีขนาด 10 มิลลิกรัม เพื่อให้สะดวกในการรับประทานเพียงวันละครั้ง
“ยาแก้แพ้ ไม่ใช่ยาอันตราย” แต่ควรใช้ให้ถูกต้อง สามารถปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
อ้างอิง : 1. mgronline 2. University College London 3. gedgoodlife