ยาแก้แพ้ ยาแก้แพ้อากาศ ยาแก้แพ้อาการคันตามผิวหนัง ยาแก้แพ้ชนิดง่วง กับ ไม่ง่วง และอีกสารพัดที่คนเป็นภูมิแพ้ต่างก็มึนงงว่าจะเลือกยังไงดีนะ!? และอาจกังวลว่า หากกินเป็นประจำจะอันตรายต่อสุขภาพไหม? วันนี้ GED good life มาไขคำตอบให้แล้ว มาดูกันเลยว่า กินยาแก้แพ้เป็นประจำ จะกระทบต่อสุขภาพหรือเปล่า พร้อมวิธีเลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง!
- อัลเลอร์นิค™ ชนิดเม็ด
- ยาแก้แพ้ (ยาต้านฮีสตามีน) คืออะไร มีกี่ชนิด และผลข้างเคียงที่ควรรู้
- โรคภูมิแพ้คืออะไร ภูมิแพ้ รักษาอย่างไร? และสาระภูมิแพ้จากหมอกอล์ฟ
ยาแก้แพ้ ใช้รักษาอาการแพ้อะไรบ้าง?
ยาแก้ภูมิแพ้ (Antihistamines หรือ ยาต้านฮีสตามีน) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการแพ้ต่าง ๆ ที่เกิดจาก…
- แพ้อากาศ
- แพ้เกสรดอกไม้
- แพ้อาหาร
- แพ้ยา
- แพ้แมลงกัดต่อย
- แพ้ขนสัตว์
- ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นลมพิษ
- สัมผัสพืชพิษ
- สัมผัสสารเคมีบางอย่าง
โดยยาแก้ภูมิแพ้ มีฤทธิ์เข้าไปยับยั้งตัวรับสารฮิสตามีน (Histamines) ที่เป็นต้นเหตุของอาการแพ้ ส่งผลให้อาการคัดจมูก น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ผื่น ลมพิษ อาการอื่น ๆ ทุเลาลง
อ่านเพิ่มเติม -> ภูมิแพ้ คืออะไร มีสาเหตุ อาการอะไรบ้าง หายขาดได้หรือไม่? พร้อมวิธีรักษาภูมิแพ้
กินยาแก้แพ้เป็นประจำ จะอันตรายต่อสุขภาพไหม?
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ได้ชี้แจงไว้ว่า “ยาแก้แพ้ ไม่ใช่ยาอันตราย แต่หากรู้จักใช้อย่างถูกต้องจะได้ประโยชน์สูงสุด” พร้อมทั้งแนะนำถึงวิธีการใช้ยาแก้แพ้ ไว้ 3 ประการ ที่คนเป็นภูมิแพ้ควรรู้ไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญต้องปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง ดังนี้
1. ยาแก้แพ้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามผลข้างเคียง ได้แก่
ประเภทที่ 1 “ทำให้ง่วง” (ยาแก้แพ้รุ่นเดิม หรือรุ่นที่1) ตัวอย่างยา เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine), ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine), ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine)
ประเภทที่ 2 “ไม่ทำให้ง่วง” (ยาแก้แพ้รุ่นใหม่ หรือรุ่นที่ 2) ตัวอย่างยา เช่น ลอราทาดีน (Loratadine), เดสลอราทาดีน (Desloratadine)
โดยยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง (หรือง่วงน้อย) จะเป็นที่นิยมในปัจจุบันมากกว่า เนื่องจากมีความปลอดภัยสูงกว่า และข้อดีคือไม่ทำให้ง่วงระหว่างวัน จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าชนิดที่ทำให้ง่วงนอน
2. ควรมีหลักการและระวังการใช้ยา
– ควรใช้ยาก่อนสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้แพ้ และใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่ต้องพบกับสารที่ก่อภูมิแพ้ และ ยาแก้แพ้จะใช้ได้ผลดีกับการป้องกันมากกว่าการระงับอาการแพ้
– ควรเริ่มใช้ยาจากขนาดต่ำก่อน แล้วค่อยปรับขนาดขึ้น จนได้ผลที่น่าพอใจ แต่ต้องระวัง เรื่องผลข้างเคียงด้วย
– เมื่อร่างกายเกิดการชินยาแก้แพ้ การเปลี่ยนชนิดของยาแก้แพ้ชนิดเดิมไปเป็นชนิดใหม่ภายในระยะเวลา 1-2 เดือน ส่วนใหญ่จะทำให้กลับมาใช้ยาชนิดเดิมได้อีก
– ในกลุ่มเด็กทารก ควรเพิ่มความระวังในการใช้เป็นพิเศษ เนื่องจากเด็กทารกมีความไวต่อการตอบสนองต่อยานี้มาก อาจเกิดผลกระตุ้นประสาท ทำให้เกิดอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย ร้องโยเย หรือรุนแรงถึงขั้นชักได้
3. รู้จักข้อจำกัดของยา กรณีนี้แยกเป็น 2 กลุ่ม
– ข้อจำกัดของยาแก้แพ้รุ่นเดิม (ง่วงนอน) คือ ทำให้ปากแห้ง จมูกแห้ง ปัสสาวะลำบาก ที่สำคัญทำให้ง่วงนอน จึงไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการดื่มสุรา หรือยากดประสาท เช่น ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ไม่ควรใช้ตอนขับรถ หรือควบคุมเครื่องจักร แต่อีกมุมหนึ่งผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงนี้ กลับมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่ต้องการการพักผ่อน เช่น โรคหวัด หรือแพ้อากาศ เพราะยานี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่
– ข้อจำกัดของยาแก้แพ้รุ่นใหม่ (ไม่ง่วงนอน) คือ ยาจะออกฤทธิ์ช้า แต่มีฤทธิ์อยู่ได้นาน ดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องกินยานี้ต่อเนื่องหลายวันจึงเห็นผล อีกทั้งยาแก้แพ้รุ่นใหม่จะลดน้ำมูก และอาการคัดจมูกได้ไม่ดีเท่ายาแก้แพ้รุ่นเดิม
ถ้าจำเป็นต้องกินยาแก้แพ้ติดต่อกันนาน ๆ ควรเลือก “ยาแก้แพ้กลุ่มไม่ง่วงนอน”
หากผู้ป่วยภูมิแพ้ จำเป็นต้องใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน แนะนำให้ใช้ “ยาแก้แพ้ชนิดที่ 2 ไม่ง่วง” (ตัวอย่างยา เช่น Loratadine, Levocetirizine, Desloratadine) เนื่องจากมีความปลอดภัย เข้าสู่กระแสเลือดน้อยกว่าในกลุ่มยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม (กลุ่มที่ 1 ใช้แล้วง่วงซึม)
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีอาการภูมิแพ้ ไม่ควรปล่อยให้เรื้อรัง ควรหาสาเหตุที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ รวมถึงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ซึ่งทางการแพทย์ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาอาการภูมิแพ้ และยังลดการใช้ยาไปได้มาก หรืออาจไม่ต้องรับประทานยาอีกเลย
อ่านเพิ่มเติม -> ยาแก้แพ้ มีกี่ชนิด และควรเลือกอย่างไรดี?
GED good life สรุปให้…
1. ยาแก้แพ้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ทำให้ง่วงนอน (รุ่นดั้งเดิม) 2. ไม่ทำให้ง่วงนอน (รุ่นใหม่)
2. ยาแก้แพ้ชนิดที่ 2 มีความปลอดภัยมากกว่าชนิดที่ 1 ตัวอย่างยา เช่น ลอราทาดีน (Loratadine), เดสลอราทาดีน (Desloratadine)
3. หากต้องกินยาแก้แพ้เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ควรเลือก ชนิดที่ 2 เพราะมีอาการปากแห้ง คอแห้ง ง่วงน้อยกว่า นอกจากนี้ยังสะดวกเพราะ ยาออกฤทธิ์นาน รับประทานเพียงวันละ 1 ครั้ง
4. วิธีรักษาอาการภูมิแพ้ที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ต่าง ๆ
5. “ยาแก้แพ้ ไม่ใช่ยาอันตราย” แต่ควรใช้ให้ถูกต้อง สามารถปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ก่อนใช้ยา