GED ไว้ก่อนป่วย เยื่อบุจมูกอักเสบ | GED Good Life

14 มิ.ย. 24

บทความโดย แพทย์หญิง อัญชลี เสนะวงษ์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้และคุ้มกันวิทยากุมารเวชศาสตร์

BNH Asthma & Allergy center

 

มลภาวะ คืออะไร และฝุ่นพิษ PM2.5 ต่างจากฝุ่นทั่วไปอย่างไรบ้าง

อากาศบริสุทธิ์จะมี ส่วนประกอบของ ก๊าซไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% และก๊าซอื่น ๆ อีกไม่ถึง 1%

มลภาวะ คือแก๊สไม่พึงประสงค์ที่เพิ่มขึ้นมาเหนือจากอากาศบริสุทธิ์เหล่านี้

Particulate matter PM ย่อมาจาก Particulate Matter แปลว่า อนุภาคเล็กที่กระจายอยู่ในอากาศ ทำให้เรามองเห็นเป็นลักษณะหมอกขุ่น เป็นที่มาของชื่อPM2.5

PM เปรียบเทียบขนาดกับเส้นผมมนุษย์ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 ไมโครเมตร ฝุ่น PM10 คือ ฝุ่นขนาด 10 ไมโครเมตร และPM2.5 คือ ฝุ่นขนาด 2.5 ไมโครเมตร นั่นคือเล็กกว่าเส้นผม 40 เท่า ขนาดยิ่งเล็กยิ่งสามารถลงหลอดลมส่วนปลายได้ โดย PM10 สามารถลงไปที่หลอดลมส่วนต้น PM2.5 สามารถลงไปที่หลอดลมส่วนปลาย และ PM1 สามารถไปที่ถุงลมปอดได้เลย

อนุภาคเหล่านี้ประกอบด้วย สารประกอบอินทรีย์ละลายน้ำ เช่น ซัลเฟต ไนเตรต และ แอมโมเนียม, เคมีและโลหะหนัก หรือ สารละอองฝอยจากแหล่งกำเนิดก๊าซต่าง ๆ เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีอนุภาคดีเซล, ไฮโดคาร์บอน, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไนตริกไดออกไซด์และโอโซน สำหรับมลภาวะที่เกิดภายในบ้าน มักมาจากการทำครัว หรือควันธูป ควันบุหรี่

ระดับที่ปลอดภัย คือเท่าใด

เกณฑ์เป้าหมายของระดับค่า PM2.5 ของประเทศไทย เดิมใช้เกณฑ์ 50 ug/m3 ใน 24 ชั่วโมง ปัจจุบันได้มีการตระหนักถึงอันตรายของฝุ่นพิษมากขึ้น จึงได้ปรับลงเป็น 37.5 ug/m3 ใน 24 ชั่วโมง และปรับเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระดับ PM2.5 ต่อปี จาก 25g/m3 ลงเป็น 15g/m3 ซึ่งองค์การอนามัยโลก ก็ได้มีการปรับแนวทางของระดับเช่นกัน โดยแนะนำไม่เกิน 5 g/m3 ใน 24 ชั่วโมงและค่าเฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 15 g/m3 ติดต่อกัน 3-4 วันต่อปีสำหรับดัชนีอากาศ หรือ air quality index นั้น ระดับที่ต้องการ คือน้อยกว่า 50 หากมีค่ามากกว่า 100 คนที่มีความเสี่ยงมากกว่า คือ คนที่มีโรคปอด โรคหัวใจหรือคนท้อง สมควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน หากมากกว่า 150 บุคคลโดยทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นมลพิษในกิจกรรมนอกบ้าน AQI 100; PM2.5 ประมาณ 35.5, AQI 150; PM2.5 ประมาณ 50, AQI 200; PM2.5 สูงถึง150

รูปที่ 1 ตารางแสดงเกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ที่มา; กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ

ฝุ่นมลภาวะทำให้เกิดผลเสียอะไรต่อร่างกาย

 มีทั้งผลระยะสั้น เช่น แสบตาแสบจมูก ทำให้ภูมิแพ้หอบหืดกำเริบ หรือผลระยะยาว เช่น ในกลุ่มประชากรเด็กพบว่ามีผลต่อการสร้างถุงลมในปอด การสัมผัสต่อมลภาวะตั้งแต่เด็ก ๆ พบว่าทำให้การเจริญเติบโตของปอดลดลงได้ถึง 5 เท่า พบความจุปอดลดลง 60 ซีซี ซึ่งปริมาตรในการหายใจปกติของมนุษย์แต่ละครั้ง อยู่ประมาณ 500 ซีซี ในกลุ่มคนท้อง ขึ้นอยู่กับระดับและช่วงเวลาของการสัมผัส หากสัมผัสมลภาวะช่วงไตรมาสที่ 1-2 จะส่งผลต่อการเติบโตและพัฒนาการของเด็กในครรภ์ น้ำหนักแรกคลอดที่น้อยกว่าเกณฑ์ การคลอดก่อนกำหนด พบว่ามีผลการพัฒนาของสมองส่วนนอกในหนู หลายการศึกษาในมนุษย์พบความสัมพันธ์ ของระดับ PM2.5 ต่อ IQ หรือความทรงจำของเด็ก ทฤษฎีเชื่อว่าฝุ่นไปรบกวนกระบวนการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทและการสื่อสารระหว่างเส้นประสาท

นอกจากนั้นยังพบว่ามีผลต่ออายุไข ประเทศจีนพบว่าคนที่อยู่ด้านเหนือและใต้ต่อแม่น้ำฮวย ซึ่งมีการทำอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันและมีค่ามลพิษต่างกันถึง 41.7 μg/m3  ผู้อาศัยด้านที่มีฝุ่นมลภาวะมากมีอายุขัย 3.1 ปีน้อยกว่าด้านที่มีฝุ่นมลภาวะน้อย

ในประเทศอังกฤษได้มีรายงานการเสียชีวิตของเด็กหญิง 9 ขวบ ซึ่งเป็นโรคหอบหืด เดิมพักอาศัยอยู่ห่างจากถนนวงแหวนหลักเพียง 30 เมตร สัมผัสฝุ่นมากมีอาการกำเริบมากกว่า 30 ครั้งในช่วง 1 ปี จนสุดท้ายเสียชีวิต ฝุ่นPM นี้ มีผลต่อร่างกายหลัก ๆ คือ ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งหากเส้นเลือดอักเสบทำงานผิดปกติ จะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ stroke หรือสัมพันธ์กับโรคจากมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด ทางเดินอาหารและตับ เป็นต้น

GEDไว้แก้แพ้อากาศ การดูแลตัวเองเบื้องต้น

การรักษาด้วยยา

  1. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

หากมีการออกไปด้านนอกบ้านและมีการสัมผัสฝุ่นละออง ควรกลับมาชำระร่างกาย สระผม อาบน้ำและล้างจมูกด้วยน้ำเกลือที่สะอาดได้มาตรฐาน เพื่อกำจัดฝุ่นละออง ไม่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในจมูกและปอด

  1. ยาแก้แพ้

หากมีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล สามารถกินยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้ โดยแนะนำยาแก้แพ้รุ่นใหม่ที่ไม่เกิดผลข้างเคียงและส่งผลเข้าสู่ระบบประสาท ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง ได้แก่ loratadine, desloratadine, fexofenadine เป็นต้น

  1. ยาพ่นจมูกและปอด กลุ่มสเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบ หากมีอาการจมูกอักเสบ, ปอดหรือหลอดลม ควรมีการใช้ยาพ่นอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมอาการ ไม่ควรหยุดยาเองในช่วงนี้

การจัดการสิ่งแวดล้อม

  1. เครื่องกรองอากาศ

สามารถแบ่งเป็น 5 ระบบหลัก ๆ ตามการทำงาน ได้แก่

  • แผ่นกรองอากาศ
  • ระบบกรองอากาศที่ทำงานโดยใช้หลักไฟฟ้าสถิต
  • ระบบที่ทำงานโดยการใช้สารเคมี
  • ระบบที่ใช้การปล่อยกระแสไฟฟ้าในการสร้างโอโซน
  • ระบบที่นำรังสีอัลตราไวโอเลตมาใช้ในการกำจัดเชื้อโรค

ตัวช่วยแก้แพ้ฝุ่นในปัจจุบันให้ใช้เครื่องกรองอากาศแบบที่มีใยกรองอากาศประสิทธิภาพสูงหรือที่เรียกว่า HEPA filter (High Efficiency Particulate Absorbing filter) และมีค่าอัตราการสร้างอากาศบริสุทธิ์  หรือ Clean Air Delivery Rate ที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ห้องด้วยเช่น  CADR : 170 ลบ.ม/ชม. แปลได้ว่า ภายในหนึ่งชั่วโมง เครื่องสามารถฟอกอากาศบริสุทธิ์ได้สูงถึง 170 ลบ.ม. ยิ่งตัวเลขสูงเท่าไหร่ ความสามารถของเครื่องในการฟอกอากาศก็จะยิ่งดี Air Flow หรือ Air Volume ซึ่งเป็นค่าที่บ่งชี้ความเร็วของการกรองอากาศและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ภายในห้อง โดยแต่ละรุ่นจะมีความต่างกันออกไป ซึ่งหากมีตัวเลขที่สูง ภายในห้องจะได้รับอากาศบริสุทธิ์เร็วมากขึ้น

นอกจากนั้นยังคำนึงถึง ฟังก์ชันเสริม หรือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ระบบการดักจับฝุ่นละอองด้วยไอออน ที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคและดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ พร้อมกับการทำงานของเครื่องที่เงียบ ไม่เกิดเสียงรบกวน

  1. หน้ากากป้องกันฝุ่น

ถึงแม้อยู่บ้านปิดประตูหน้าต่างเปิดแอร์ พบว่าก็ยังไม่เพียงพอ เพราะฝุ่นเหล่านี้จะแทรกซึมเข้ามาในบ้านได้ด้วยขนาดที่เล็กมาก และเครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมากรองฝุ่น pm2.5 ได้ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ระบบการระบายอากาศ การประกอบอาหารหรือสูบบุหรี่ในบ้าน ทิศทางลม อุณหภูมิในอาคารที่แตกต่างกัน ยังสัมพันธ์กับระดับฝุ่นได้อีกด้วย ดังนั้นคำแนะนำในการช่วยลดความเสี่ยงแก้แพ้ฝุ่น คือหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีระดับฝุ่นเยอะและใช้เครื่องกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง

หากต้องออกนอกบ้านควรสวมใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กจิ๋วได้โดยคำแนะนำ คือการใส่หน้ากากชนิด N95 N คือ Not resistant to oil หมายถึงไม่สามารถกรองอนุภาคที่เป็นน้ำมันได้ 95 คือ กรองอนุภาคที่มากกว่า 0.3 microns ได้ 95% นั่นเอง ควรใส่ให้แน่นพอดีไม่มีการรั่วเวลาหายใจเข้าออก หน้ากากชนิดมีลิ้นหรือvalve ไม่แนะนำในช่วง covid เพราะเป็นการระบายลมหายใจออกของผู้สวมใส่ทำให้เพิ่มการแพร่เชื้อได้

  1. ออกกำลังกายต้านภูมิแพ้ โดยเลือกสถานที่ออกกำลังกายให้เหมาะสม อาจอยู่ในห้องลักษณะ indoor เช่น การออกกำลังกายในยิม ว่ายน้ำในร่ม หรือ โยคะ หากต้องการออกกำลังในสวนสาธารณะควรเลือกช่วงเวลาที่มีฝุ่นน้อย
  2. กินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระวิตามินซีอีและแอนตี้อ๊อกซิแด้นต์สูง

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save