พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระวัง! เด็กเล่นแป้งบ่อยทำไอมีเสมหะ ไอเรื้อรัง ไอนานเป็นเดือน ๆ และไม่ใช่แค่นั้น เสมหะที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย ส่วนลูก ๆ บ้านไหนที่มีอาการไอมีเสมหะบ่อย GED good life มีเคล็ดลับเลือกยาละลายเสมหะเด็กมาฝาก มาติดตามกันเลย!
แพทย์เล่าประสบการณ์! เด็กเล่นแป้งบ่อยทำไอมีเสมหะ
ศ.พญ. อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจในเด็ก เผยประสบการณ์การตรวจรักษาเด็กที่มีอาการไอนานเป็นเดือน ไว้ดังนี้
“ในประสบการณ์ของหมอ มีผู้ป่วยรายหนึ่ง (เด็ก) ไอมา 1 เดือน รักษามาจากโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ โรงพยาบาล อาการไอไม่ดีขึ้น ปรากฏว่าหมอตรวจดูผนังจมูกซีดมาก ซักประวัติเรื่องสิ่งแวดล้อม จับได้ว่าเด็กชอบเล่นแป้งฝุ่น เทกระป๋องแป้ง เอาแป้งมาทาตัว ทาหน้าทุกวัน วันละหลาย ๆ ครั้ง แม่เกิดนึกขึ้นได้ว่าลูกคลุกกับแป้งฝุ่นตลอด พอกลับบ้านเลิกใช้แป้งฝุ่น อาการไอก็ลดลงเรื่อย ๆ จนหยุดไอในที่สุด”
ไม่ใช่แค่แป้ง แต่ควันบุหรี่ก็สามารถทำร้ายลูกให้ไอมีเสมหะไม่รู้ตัว!
ศ.พญ. อรุณวรรณ ยังกล่าวต่อว่า “เรื่องสำคัญที่สุดที่หมออยากจะฝากเอาไว้ คือ ควันบุหรี่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็กมาก ผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ ทุกคนสูบอย่างมีความสุข มีก้นกรองป้องกันควันพิษ แต่เด็กที่อยู่ใกล้ชิดด้วยได้รับควันบุหรี่สูดเข้าไปในทางเดินหายใจตรง ๆ ไม่มีอะไรช่วยกรองสารพิษจากบุหรี่เลย หมอพบคนไข้หลาย ๆ คนที่รักษาแล้วไม่หายสักที รักษาจนเหนื่อยก็ไม่หาย จึงขอร้องคุณพ่อที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบ
แต่มีครอบครัวหนึ่งที่หมอประทับใจมาก เด็กหญิงอายุ 6 ปี มาหาหมอด้วยเรื่องไอเรื้อรัง กระแอมมีเสมหะในคอ มีน้ำมูกเป็น ๆ หาย ๆ เสียงแหบ หมอส่องกล้องไปดูสายเสียง พบว่าปกติแต่ซีด ผนังจมูก และเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนซีด มีเสมหะเคลือบอยู่เต็มเป็นกอง ๆ หลังคอหอย ปรากฏว่าคุณพ่อสูบบุหรี่จัดวันละ 1-2 ซองเป็นประจำ อ้างว่าไม่เคยสูบต่อหน้าลูก แต่รักลูกสาวคนเดียวมาก กอดลูก หอมแก้มลูก นอนกับลูกทุกคืน
หมอรักษาด้วยยา และการล้างจมูกเต็มที่แล้วทางเดินหายใจยังเขรอะ หมอทนไม่ไหวจึงต่อว่าคุณพ่อไปอีก ให้คุณพ่อลองงดสูบบุหรี่ดูสัก 1-2 เดือน ปรากฏว่าลูกสาวคนสวยก็อาการดีขึ้นตามลำดับ เป็นเครื่องยืนยันให้คุณพ่อทราบว่า บุหรี่เป็นสาเหตุจริง ๆ คุณพ่อรักลูกมาก จึงยอมงดสูบบุหรี่ได้ในที่สุด ตัวคุณพ่อก็หายไอ มีสุขภาพดีขึ้น”
เด็กไอมีเสมหะ มักเกิดจากสาเหตุอะไร?
เด็ก ๆ มักจะไอในช่วงที่มีการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน การติดเชื้อต่าง ๆ จะทำให้เกิดการอักเสบ มีการผลิตเสมหะ และน้ำมูก ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ เด็กมักจะมีอาการไอ ร่วมกับมีไข้ ตัวร้อน เป็นหวัด คัดจมูก แต่พอการติดเชื้อทุเลาลง อาการไอก็จะค่อย ๆ น้อยลงไป และหายได้ในที่สุด
สาเหตุทั่วไป 5 ประการ ที่ทำให้เด็กมีอาการไอมีเสมหะ และอาจต้องพาพบแพทย์
- ไข้หวัด (Common Cold) – โรคไข้หวัดมักจะก่อให้เกิดอาการไอและมีเสมหะ โดยมีน้ำมูกร่วมด้วย
- ภูมิแพ้ (Allergies) – อีกหนึ่งปัญหาที่เด็ก ๆ มักเป็นกันบ่อยโดยเฉพาะตอนอากาศเปลี่ยน หรือเจอฝุ่น สามารถทำให้เกิดอาการไอทั้งที่มีเสมหะ และไม่มีเสมหะได้
- ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus Infection) – อาการเริ่มแรกเหมือนไข้หวัดทั่วไป เด็กบางคนอาจไอแบบมีเสมหะร่วมด้วย ไอมากจนอาเจียน
- หอบหืด (Asthma) – อาการเริ่มด้วยการเป็นหวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อย ๆ มักจะมีเสียงหวีด ๆ
- ไอกรน (Pertussis) – ระยะแรกเด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอแห้ง แต่เมื่อนานไปเด็กจะไอเป็นชุด ๆ และมีเสมหะร่วมด้วย
ยาแก้ไอละลายเสมหะเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสม?
- เลือกยาละลายเสมหะสำหรับเด็กที่มีตัวยา “คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine)“ ช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ร่างกายกำจัด หรือขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น โซลแมค คิดส์ (Solmax Kids)
- ควรเลือกยาแก้ไอละลายเสมหะชนิดน้ำ เพราะเป็นยาที่เหมาะกับเด็กมากที่สุด กลืนง่าย และมีรสผลไม้ทำให้เด็กรับประทานได้ง่ายขึ้น
- เลือกแบบไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และไร้น้ำตาล สามารถปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนซื้อยา
อ้างอิง : 1. สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย 2. childrens