ไม่อยากเป็น เลิกด่วน! 7 พฤติกรรมทำป่วยโรคกรดไหลย้อน

1 ก.ค. 24

พฤติกรรมทำป่วยโรคกรดไหลย้อน

 

กินเก่ง เครียดง่าย ระวัง! กรดไหลย้อนถามหา หากใครไม่อยากเป็นกรดไหลย้อน หรือกำลังเป็นอยู่ ต้องอ่านบทความนี้ เพราะ GED good life ใส่ใจสุขภาพของทุกคน จึงขอฝากเตือน 7 พฤติกรรมทำป่วยโรคกรดไหลย้อน หากใครกำลังมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ ควรลด ละ เลิก โดยเร็ว เพื่อไม่ให้ป่วยโรคกรดไหลย้อน!

ทำไมถึงต้องคุมพฤติกรรมไม่ให้เป็นโรคกรดไหลย้อน? อาการเหล่านี้คือคำตอบ!

สำหรับใครที่ไม่รู้จักโรคกรดไหลย้อนมาก่อน ฟังแต่ชื่อโรค อาจจะไม่ได้รู้สึกกลัวเท่ากับโรคมะเร็ง หรือโรคร้ายอื่น ๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนหลายต่อหลายคน ต่างต้องทุกข์ทรมานกับโรคนี้เป็นประจำทุกวัน เสียงานเสียการ ร้องไห้เสียใจ เสียเงินทองมากมายเพื่อรักษาโรคนี้ และกรดไหลย้อนยังเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่เมื่อเป็นแล้ว หายยากอีกด้วย!

อาการกรดไหลย้อน

  • เรอบ่อย ร่วมกับรู้สึกเปรี้ยว หรือขมในลำคอ
  • เจ็บแน่นกลางอก หายใจไม่โล่งคล้ายอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
  • แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ตั้งแต่ ยอดอก กลางอก และอาจร้าวไปถึงลำคอ
  • กลืนติด กลืนลำบาก เหมือนมีก้อนอะไรบางอย่างติดค้างอยู่ในลำคอ หรือทรวงอก
  • อาการอื่น ๆ เช่น สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกมีน้ำลายมาก
  • ไอเรื้อรัง กล่องเสียงอักเสบ
  • ทำให้เกิดโรคหืด โรคปอด และอื่น ๆ ตามมา!

เห็นไหมว่า อาการของกรดไหลย้อนมันทรมานแค่ไหน!! ฉะนั้น ฉะนั้นอย่าประมาทไป เราควรควบคุมพฤติกรรมของเราให้ห่างไกลจากโรคนี้ จะได้ไม่ต้องมาทุกข์ทรมานปวดท้องเป็นประจำทุกวัน

7 พฤติกรรมทำป่วยโรคกรดไหลย้อน

สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน ส่วนใหญ่มาจาก “พฤติกรรมการบริโภค” ซึ่งมีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินอาหารของเรา อาจทำให้เกิดอาการ เจ็บแน่นกลางอก อาเจียน ไอ เสียงแหบ และเจ็บปวดขณะกลืน ฯ หากใครกำลังมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ควรเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ ลด ละ เลิก ตั้งแต่วันนี้ จะได้ห่างไกลจากโรคกรดไหลย้อน!

1. กินมากเกินไป อ้วนลงพุงควรกินแต่พออิ่มท้อง

การกินมากเกินไป (Overeating) หมายถึง การรับพลังงาน (แคลอรี) มากกว่าที่ร่างกายใช้ไป อาจเนื่องมาจากเหตุผลทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า ความเครียด ฉะนั้นใครที่กำลังมีพฤติกรรมนี้อยู่ ขอให้รู้ว่าคุณกำลังทำร้ายกระเพาะอาหารของคุณเอง ทำให้เกิดอาการอึดอัด จุก แน่นท้อง หายใจลำบาก และส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ด้วย

แทนที่จะกินอาหารมื้อใหญ่สามมื้อต่อวัน ให้ลองกินมื้อเล็ก ๆ 4-5 มื้อ หรือมื้อเล็ก ๆ สามมื้อ และของว่างสามมื้อ วิธีนี้จะช่วยไม่ให้ท้องของคุณอิ่มเกินไป นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป (กรดในกระเพาะอาหารเป็นของเหลวที่ช่วยให้คุณย่อยอาหารได้)

2. กินเร็วเกินไป ฝึกกินช้าลงหน่อย

เมื่อคุณกินเร็วเกินไป ระบบย่อยอาหาร (digestive system) จะทำงานได้ยากขึ้น การย่อยอาหารที่ไม่ดี หรือ อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) จะเพิ่มโอกาสที่คุณจะมีอาการจุก เสียด แน่นท้อง ซึ่งเป็นอาการเด่นของอาหารไม่ย่อย และก่อให้เกิดอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว เป็นต้น

วิธีฝึกให้กินข้าวช้าลง ได้แก่ วางส้อมหรือช้อนของคุณระหว่างเคี้ยวอาหาร, เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน, เคี้ยว 20 ครั้ง หรือนับถึง 20 ก่อนกัดครั้งต่อไป, กินคำน้อย ๆ เป็นต้น

3. กินแล้วนอนทันที กรดไหลย้อนมาเยือนแน่!

หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคกรดไหลย้อน ก็คือ พฤติกรรม “กินแล้วนอน” เพราะการนอนทันทีจะทำให้หูรูด* ทำงานผิดปกติ เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นไปได้ รวมไปถึงท่านอนราบยังทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายกว่าปกติ

หากไม่อยากป่วยกรดไหลย้อน เมื่อกินข้าวเสร็จ ควรรอ 2-3 ชั่วโมงเพื่อเข้านอน เลี่ยงการกินยามดึก กินอาหารมื้อใหญ่ในช่วงเช้าของวัน และมื้อสุดท้ายของวัน ควรกินแต่น้อย

* หูรูด (Sphincter) ทำหน้าที่ปิด และเปิดอวัยวะนั้น ๆ เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ ไหลเข้า หรือไหลออก ของสิ่งที่บรรจุอยู่ในอวัยวะนั้น ๆ

4. กินแต่อาหารที่เป็นภัยต่อโรคกรดไหลย้อน

รู้หรือไม่ อาหารที่แสนอร่อย ถูกปาก ถูกใจ แต่กลับไม่ถูกโรค! ที่เราชอบกินกันเป็นประจำทุกวัน เช่น อาหารรสจัดจ้าน เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง คาร์โบไฮเดรตสูง อาหารหมักดอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ รวมถึงผลไม้ที่มีกรดมาก อย่างเช่น ส้ม มะนาว องุ่น เป็นต้น ล้วนทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ทั้งนั้น

ที่กล่าวมา ไม่ใช่ว่าไม่ให้กินเลยเสียทีเดียว แต่ไม่ควรกินในปริมาณมาก กินแต่น้อย ๆ นาน ๆ กินที เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นโรคกรดไหลย้อน แต่ในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงเป็นดีที่สุด!

อ่านเพิ่มเติม -> 6 อาหารต้องห้าม! เมื่อป่วยเป็นกรดไหลย้อน

5. อ้วนเกินไป เป็นโรคอ้วน ก็ไม่รอดจากกรดไหลย้อนนะ

เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อที่ 1 และ 4 การกินมากเกินไป และกินแต่อาหารที่ทำให้อ้วน เช่น อาหารไขมันสูง ขนมหวาน ชานมไข่มุก เป็นประจำ จนมีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน อ้วนลงพุง หรือเป็นโรคอ้วน (Obesity) ก็ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน เนื่องจากไขมันจากอาหารเหล่านี้จะไปรวมกับกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุก แน่น หรือร้อนที่กลางอกได้ วิธีแก้ที่ดูเหมือนง่าย แต่ก็ยาก นั่นก็คือ การพยายามควบคุมน้ำหนักให้ได้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

6. เครียดบ่อย ระวังจะเป็นโรคกรดไหลย้อน

ผู้ที่มีความเครียดอยู่เป็นประจำ เครียดจนลงกระเพาะ อาจเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อนได้  เพราะความเครียดสามารถเพิ่มการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร มักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อน กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (ซึ่งทำหน้าที่เป็นประตูระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร) ทำงานผิดปกติ

วิธีแก้คือ ให้ฝึกทำสมาธิ รู้จักปล่อยวาง และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง หากมีเวลาว่างก็หางานอดิเรกทำ ดูหนัง ฟังเพลง อ่านเรื่องตลกขบขัน เป็นต้น ก็สามารถบรรเทาความเครียดได้บ้างไม่มากก็น้อย

7. สูบบุหรี่เป็นประจำ

การสูบบุหรี่ส่งผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้โดยตรง เพราะสารนิโคตินกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งกรดในการย่อยอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคนี้ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก โดยน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนรุนแรง เมื่อทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อบริเวณหลอดอาหาร จะทำให้เกิดเป็นแผล และแผลที่เกิดขึ้นจะหายได้ช้ากว่าปกติ

พฤติกรรมทำป่วยโรคกรดไหลย้อน

บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วย “ยาลดกรด” 

ยาลดกรด (Antacid) เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความเป็นกรด (acid) ภายในกระเพาะอาหารทำให้เป็นกลางมากขึ้น กลไกในการออกฤทธิ์ของยาลดกรด คือ การนำความเป็นด่างของยาสะเทินกับกรดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เพื่อลดความเป็นกรด เมื่อความเป็นกรดลดลง การกัดกร่อนของกรดที่จะทำให้เกิดแผล หรือการทำให้แผลที่มีอยู่ระคายเคืองจึงลดลงตามไปด้วย อาการกรดไหลย้อนจึงบรรเทาลง

คุณสมบัติของยาลดกรดชนิดต่าง ๆ 

1. อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, AlOH3) เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี ออกฤทธิ์ไว ปลอดภัย ออกฤทธิ์ที่กระเพาะอาหาร ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อย

2. แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate, MgCO3) ตัวยาจะเข้าทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) ในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กรดมีฤทธิ์เจือจางลง ทำให้อาการระคายเคืองต่อแผลในกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ลดน้อยลงไปด้วย

นอกจากตัวยาที่มีฤทธิ์ในการลดกรดแล้ว ยาที่วางขายในท้องตลาดมักผสมตัวยาชนิดอื่นเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษา และบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากกรดอีกด้วย ยาดังกล่าวได้แก่

• ไซเม็ททิโคน (simethicone) เป็นสารลดแรงตึงผิวที่ทำให้ฟอง และแก๊สในกระเพาะอาหาร สามารถระบายออกจากอาหารที่กำลังถูกย่อยได้ เสริมประสิทธิภาพในการขับลม ท้องอืด แน่นท้อง โดยยาประเภทนี้มีให้เลือกทั้ง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ ยาในกลุ่มนี้ เช่น เครมิล ชนิดเม็ด (Kremil Tablets)

วิธีใช้ยาลดกรด

• บรรเทาอาการที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร – รับประทานวันละ 2-4 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง หรือตามแพทย์สั่ง
• ลดกรดในกระเพาะอาหาร – รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง: 1. วงการแพทย์ 2. รพ. พญาไท 3. pantip 4. samitivejhospitals

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save