ใครเป็นบ้าง… ออกไปวิ่งทีไร ต้องมีอาการไอมากวนใจทุกที?! เพื่อนคนอื่น ๆ ก็วิ่งได้ปกติไม่เป็นอะไร แต่กับเรา… วิ่งแล้วไอ มีเสมหะมากวนใจตลอด! อาการแบบนี้เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่นะ แล้วต้องทำยังไงให้หายดี? วันนี้ GED good life มีคำตอบมาฝากแล้ว ใครที่วิ่งแล้วไอเป็นประจำ หรือออกกำลังกาย เล่นกีฬาอื่น ๆ เช่น ว่ายน้ำ เตะบอล เล่นบาสแล้วไอ ต้องไม่พลาดบทความนี้
- ยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน” สรรพคุณ วิธีใช้ให้ถูกต้อง ปลอดภัย
- 12 วิธีแก้ไอให้หายไวไว ลองทำดู ได้ผลแน่นอน!
- จุกเสียดท้อง ตอนวิ่ง มีใครเป็นบ้าง ควรทำยังไงดี?
วิ่งแล้วไอ มีเสมหะมาก เกิดจากอะไร?
นพ.วินัย โบเวจา อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ รพ.พญาไท 3 ได้ชี้แจงว่า การไอขณะออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง ว่ายน้ำ เตะบอล แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรืออาจส่งตรวจเพิ่ม เพื่อแยกให้ได้ 3 ประเด็น ดังนี้
- ไอจากโรคต่าง ๆ เช่น มีไข้หวัด มีไซนัส โพรงจมูกอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นโรคเรื้อรังอยู่ เป็นต้น
- ไอจากสภาพแวดล้อม เช่น สภาพอากาศเย็นเกินไป ควันรถ ควันบุหรี่ เป็นต้น
- ไอจากพฤติกรรม เช่น การหายใจทางปาก ชอบกินน้ำเย็น กินอาหารเยอะไป ติดกาแฟ ไม่ชอบวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย เป็นต้น
รู้หรือไม่? อากาศเย็นกระตุ้นปลายประสาท ทำให้ไอได้ง่าย
การวิ่งเยอะ ๆ อาจทำให้นักวิ่งต้องหายใจทางปาก และยิ่งวิ่งในช่วงที่อากาศเย็น (โดยเฉพาะบริเวณภูเขา และยอดดอย) เมื่ออากาศเข้าไปในปากขณะวิ่งก็จะเป็นเหตุให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่เป็นภูมิแพ้จมูกอยู่แล้ว จะทำให้เกิดอาการไอ คอแห้ง และไอ
การวิ่ง หรือออกกำลังกายขณะที่อากาศเย็น ถึงเย็นจัด นอกจากจะทำให้เกิดอาการไอได้ง่ายแล้ว ยังก่อให้เกิดลมพิษอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ผิวหนังมีสีแดง แตก เป็นรอยนูนบวม และคันคล้ายผื่นลมพิษ การว่ายน้ำในน้ำเย็นก็อาจทำให้อาการมีความรุนแรงยิ่งขึ้นได้
ผู้ป่วยภูมิแพ้ และไข้หวัด ควรเลี่ยงการออกกำลังกายในอากาศเย็น
เนื่องจากผู้ป่วยภูมิแพ้จมูก และไข้หวัด เยื่อจมูกจะบวมพอสมควร พอเจออากาศเย็นเข้าไป จมูกจะยิ่งบวมตันได้ง่ายกว่าบุคคลปกติทั่วไป ทำให้มูกเมือกลงหลอดลมและปอดเนื่องจากระเหยไม่ได้ หรือระเหยได้ยาก ทำให้เกิดอาการไอได้บ่อย คนที่เป็นไซนัสอักเสบ หากเจออากาศเย็นก็ทำให้ไอได้เช่นกัน
นพ.วินัย เผย! 8 โรคที่มักทำให้เกิดอาการไอระหว่างออกกำลังกาย
- ภูมิแพ้จมูก
- ไซนัสเรื้อรัง
- กรดไหลย้อน
- หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- หอบหืด
- หลอดลมหดเกร็ง (หลอดลมตีบ) จากการออกกำลังกาย
- หลอดเสียงผิดปกติ
- ติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นโรคปอดอยู่
อาการแบบไหนที่ไม่ควรวิ่งต่อ?
Mayo Clinic ศูนย์การแพทย์เพื่อการศึกษาอเมริกันที่ไม่แสวงหาผลกำไร แนะนำให้สังเกตอาการของตนเองขณะวิ่งว่าเกิดบริเวณไหน ถ้ามีอาการเหนือคอขึ้นไป ก็อาจวิ่งต่อไปได้ แต่ถ้ามีอาการใต้คอลงไป ควรพิจารณาหยุดวิ่ง
อาการเหนือคอ – หากคุณมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรือไอแห้งเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นอาการที่อยู่ลำคอขึ้นไป ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเจอได้
อาการใต้คอลงไป – ควรหยุดพักจากการวิ่ง และการออกกำลังกายอื่น ๆ หากอาการแสดงของคุณอยู่ที่ใต้คอ ซึ่งรวมถึงอาการท้องร่วง แน่นหน้าอก หรือไอมีเสมหะ
แม้ว่าสัญญาณ และอาการของคุณจะอยู่เหนือคอ ก็อาจพิจารณาลดความเข้มข้นของการออกกำลังกายลง ให้เหลือเพียงการวิ่งเหยาะ ๆ หรือเดินช้า ๆ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ จะเหมาะสมกว่าการวิ่งเร็ว หรือวิ่งมาราธอน
สังเกตตัวเองให้เป็น! ไอแห้ง กับ ไอมีเสมหะ ต่างกันยังไง?
– ไอแห้ง (Dry cough) คืออาการไอที่ไม่มีเสมหะปน เกิดจากการระคายคอ หรือระบบทางเดินหายใจส่วนล่างจนกระตุ้นให้เกิดการไอ เช่น ไปวิ่งตอนอากาศเย็น ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการไอแห้งเป็นครั้งคราวได้ ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไรกับการวิ่ง หรือการออกกำลังกายของคุณมากนัก
– ไอมีเสมหะ (Productive cough) คืออาการไอร่วมกับมีของเหลวเป็นเมือกเหนียวออกมาขณะไอด้วย มักพบในภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง เป็นต้น
ดูแลตัวเองอย่างไรให้หายไอขณะออกกำลังกาย?
- หากวิ่ง หรือออกกำลังกายขณะอากาศเย็นแล้วไอ ให้เลี่ยงการวิ่งขณะอากาศเย็น เพราะนั่นแปลว่าคุณกำลังเป็นภูมิแพ้อากาศอยู่ก็ได้
- หากเป็นหอบหืด วิ่งหรือออกกำลังกายแล้วไอ ไอมีเสมหะ ให้พ่นยา หรือกินยาตามแพทย์สั่ง หรือปรึกษาแพทย์เรื่องหอบหืดขณะออกกำลังกาย
- ฝึกหายใจทางจมูกขณะออกกำลังกาย จะช่วยให้อาการไอลดน้อยลง เพราะ ถ้ายังหายใจทางปาก จะทำให้อากาศเย็นเข้าไปในปาก ก่อให้เกิดอาการไอ
- หากมีอาการไอจากโรคประจำตัว เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคหอบหืด หรือไซนัสเรื้อรัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนก่อนการออกกำลังกาย
- พบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น เช่น ภาพถ่ายรังสีปอด, ตรวจสมรรถภาพปอด, ทดสอบภูมิแพ้ เป็นต้น
บรรเทาอาการไอมีเสมหะ ด้วย “คาร์โบซีสเทอีน”
คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ยาแก้ไอละลายเสมหะ” บรรเทาอาการไอจากการมีเสมหะมาก เป็นยาที่ออกฤทธิ์เข้าไปย่อยโปรตีน มีผลทำลายการรวมตัวกันของโปรตีนที่จับตัวเป็นก้อนเสมหะเหนียวข้น รวมถึงลดแรงตึงผิวของเสมหะ ทำให้เสมหะใสขึ้น เหนียวข้นน้อยลง จนกลไกของร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น
สรรพคุณของยาแก้ไอ คาร์โบซิสเทอีน
- บรรเทาอาการไอมีเสมหะ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด
- ลดการเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น
- บรรเทาอาการไอ เนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- บรรเทาอาการไอ ที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบ
ขนาดและวิธีใช้
ผู้ใหญ่ และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
อ้างอิง : 1. นพ.วินัย โบเวจา 2. healthline 3. pobpad 4. รพ. นวเวช