สิ่งที่ควรทราบหากคุณไม่แน่ใจว่าได้รับเชื้อ “โอมิครอน” เข้าสู่ร่างกายหรือไม่

4 ก.ค. 24

โอมิครอน

 

หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับการระบาดของไวรัสโคโรนา มากว่า 2 ปี ซึ่งตัวเชื้อไวรัสได้มีการกลายพันธุ์ และพัฒนารูปร่างหน้าตา ต่างรหัสพันธุ์กรรม โดยสามารถแยกออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ถึง 8 สายพันธุ์หลัก ประกอบด้วย S,L,G,V,GH,GR,O,B และในเวลานี้เชื่อว่า คงไม่มีสายพันธุ์ไหนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดเทียบเท่ากับสายพันธุ์ “โอมิครอน” หรือ “โอไมครอน” ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่กลับสร้างความตื่นตระหนกให้กับทุกประเทศทั่วโลกได้อย่างมากมาย ด้วยประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อของเจ้าสายพันธุ์โอมิครอน ที่ ถือว่ารวดเร็วมากที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ที่เคยพบมาในอดีต

จึงเป็นที่มาของหัวข้อบทความในวันนี้ ที่ต้องการให้ทุกท่านรับรู้ข้อมูลสิ่งที่ควรทราบหากคุณไม่แน่ใจว่าได้รับเชื้อโอมิครอน เข้าสู่ร่างกาย

decolgen ดีคอลเจน

กลุ่มอาการโอมิครอน  ที่พบในประเทศไทย เช็คเลยว่าแบบไหนเข้าข่ายติดแน่ ๆ แล้ว

โดยข้อมูลอ้างอิงจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เปิดเผยข้อมูลอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ในประเทศไทย พบว่าอาการที่ผู้รับเชื้อจะแสดงออกมากที่สุด มีดังนี้

  • อาการไอ 54 %
  • เจ็บคอ 37 %
  • มีไข้ 29 %
  • ปวดกล้ามเนื้อ 15 %
  • มีน้ำมูก 12 %
  • ปวดศีรษะ 10 %
  • หายใจลำบาก  5 %
  • ได้กลิ่นลดลงมีเพียง  2 %
โอมิครอน

โอมิครอน แสดงอาการรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ จริงหรือไม่

ตั้งแต่เริ่มพบการแพร่ระบาดครั้งแรกของเชื้อ โอมิครอน ในแถบทวีปแอฟริกา ก็ได้มีการเก็บบันทึกข้อมูลจากนักวิจัย ของ หลากหลายประเทศ ทั้งจากฝั่งแอฟริกาใต้ และทวีปยุโรป ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏในเวลานี้ค่อนมีแนวโน้มไปในทิศทางใกล้เคียงกัน คือ ผู้ที่ติดเชื้อ โอไมครอน จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่า สายพันธุ์ ที่สร้างความเสียหายในกับระบบสาธารณสุขของทุกประเทศอย่างหนักหน่วง

อย่างสายพันธุ์เดลต้าพอสมควร แต่ถึงแม้จะพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโอไมครอน จะมีอาการเบาบางน้อยลง แต่ประสิทธิภาพ และความสามารถในการแพร่กระจาย หรือทางการแพทย์เรียกว่าค่า RO ของเชื้อตัวนี้ มีสูงกว่าเดลต้ามาก ถึง 8.54 ซึ่งเร็วกว่าเดลต้า ที่มีค่า RO ที่ 6.5 และเร็วกว่าสายพันธุ์อู่ฮั่นอยู่เพียงที่ 2.5 เท่านั้น

การฉีดวัคซีน จะช่วยไม่ให้ติดเชื้อ โอมิครอนใช่หรือไม่

อย่างที่หลายท่านคงเคยได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับวัคซีน ป้องกันไวรัส โคโรน่า 19 กันมาก่อนหน้านี้ว่า การฉีดวัคซีนนั้นไม่สามารถป้องกันมนุษย์ไม่ให้ติดโรคโควิดได้ แต่หน้าที่หนักของวัคซีน ที่มีในท้องตลาด ณ ปัจจุบัน ช่วยป้องกันไม่ให้ เกิดอาการรุนแรงรวม อาการป่วยหนัก รวมถึงการสูญเสียชีวิตได้

ดังนั้น แนวทางในการรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ “โอมิครอน” ตัวใหม่นี้ก็เช่นกัน การเข้ารับฉีดวัคซีน เข็มกระตุ้น หรือที่เรียกว่า Booster วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในหลายประเทศที่ พบว่าประชากรบางส่วนเช่น ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และกลุ่มเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่าห้าขวบที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มีอัตราการส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้นการเข้ารับวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นเข็มแรก หรือ เข็มกระตุ้นตามแนวทาง ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหนัก และการสูญเสียจากการระบาดในระลอกนี้ได้

วิธีป้องกัน และปฎิบัติตนให้ห่างไกลจากเชื้อโอมิครอน แตกต่างจาก เชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้านี้หรือไม่

แนวทางการรับมือกับเชื้อ กลายพันธฺ์ โอมิครอน ยังเหมือนกับ การป้องกันตนเองจากเชื้อโคโรน่าไรรัสทุกสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ทุกประการ เริ่มต้นจากหารสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือถ้าเป็นชนิดผ้า ควรเป็นผ้าเนื้อมัสลิน โดยสามารถสวมใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไว้ชั้นใน และทับด้วยหน้ากากชนิดผ้าอีกชั้น

โดยต้องระมัดระวังในการสวมใส่ให้ถูกวิธีด้วย จึงจะสามารถ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่มีการทดสอบ และในกรณีที่ เกิดการติดเชื้อ และรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสวมหน้ากากไว้นั้นอย่างน้อยก็จะช่วยลดปริมาณไวรัสที่ร่างกายเราจะได้รับจากพวกละอองฝอยของสารคัดหลั่งลงไปได้พอสมควร จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการมีอาการป่วยหนัก และรุนแรงได้ระดับที่น่าพอใจ

คนที่ได้รับเชื้อโอมิครอน หลังจากหายแล้ว จะมีภูมิสูงมากเหมือนได้รับวัคซีนจากธรรมชาติจริงหรือไม่

คงเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุป ว่าเชื้อ โอมิครอน กำลังจะมาช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติให้กับมนุษย์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อตัวใหม่นี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่น่า การศึกษาค้นคว้าเชิงลึก ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อ ให้เข้าใจธรรมชาติของเชื้อไวรัสโอไมครอนตัวใหม่นี้ และผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบ จากการได้รับเชื้ออ่อน ๆ ของโอไมครอน เข้าสู่ร่างกายมนุษย์

ดังนั้นจึงอยากฝากให้ทุกคน ยังคงรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่อย่างเสมอ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อโอไมครอน โดยไม่จำเป็น เพราะยังไม่มีความชัดเจนถึงผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ในระยะยาว

สามารถตรวจพิสูจน์ ว่าตนเองได้รับเชื้อโอมิครอนผ่านชุดตรวจ ATK ได้หรือไม่

ข้อมูลจากงานวิจัยล่าสุดจากศูนย์โรคไวรัสอุบัติใหม่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพชุดตรวจ ATK ในการตรวจผู้ติดเชื้อโอไมครอน

เบื้องต้นพบว่า เครื่องมือชุดตรวจชนิด ATK สามารถตรวจวัดเชื้อได้ แต่ประสิทธิภาพความไวของบางตัวนั้นมีระดับที่ลดลง ซึ่งสอดคล้องไปทางเดียวกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่เปิดเผยถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK ว่า การตรวจหาเชื้อแบบ ATK ในระยะเวลา 72 ชั่วโมง อาจไม่เพียงพอสำหรับการค้นหาเชื้อโอมิครอน

ดังนั้น หากมีการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ในเบื้องต้นแล้ว และมีระดับความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อในระดับปานกลางถึงสูง ก็ควรที่จะกักตัว งดการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลรอบข้างรวมถึงงดไปในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว

แนวทางการปฏิบัติตัวในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิครอนในประเทศไทย

แนวทางการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ เชื้อโอไมครอน โดยภาพรวมไม่ได้มีความแตกต่างจากในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยในหลายประเทศที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสนายพันธุ์ใหม่นี้ อย่างในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ซึ่งพบว่ามีเคสผู้ติดเชื้อโอไมครอน สูงมาก

ผู้ที่สงสัยว่าได้รับเชื้อ จะเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล หรือชุดตรง ATK ที่ทางหน่วยงานสาธารณสุขรับรอง และหากพบว่ามีอาการไม่หนัก หรือไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะได้รับการอนุญาตให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน โดยเฝ้าสังเกตอาการตนเอง พยายาม พักผ่อน ดื่มน้ำ รับประทานอาหารปรุงสุกที่เป็นประโยชน์ ซึ่งโดยส่วนมากนั้น ผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการเพียง 2-5 วันแรกเท่านั้น และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นโดยลำดับ

แต่หากพบว่าอาการแย่ หรือมีสิ่งไม่พึงประสงค์อื่น ๆ เกิดขึ้น ก็ควรติดต่อ เพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงาน เพื่อหาเตียงในการรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือพร้อมต่อไป

 

ความหวังในการกู้คืนโลกจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ดูจะขยับเข้าใกล้ความเป็นจริงขึ้นทุกที และหวังว่าในอีกไม่ช้าไม่นานเกินรอนี้ โลกทั้งโลกจะพร้อมประกาศชัยชนะเหนือเชื้อโรคร้ายที่ก่อความสูญเสียให้ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้คนทั้งโลกมายาวนานกว่า 2 ปี และจนกว่าวันนั้นจะมาถึงขอให้คุณผู้อ่านทุกท่าน รักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจให้ได้เป็นอย่างดี เพื่อรอคอยการเฉลิมฉลองประกาศอิสรภาพจากโรคระบาดร้ายในเร็ววันนี้พร้อมกัน

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save