โรค ASF ระบาดในหมู คืออะไร ติดต่อสู่คนไหม ควรเลี่ยงกินไปก่อนหรือไม่?

28 มิ.ย. 24

โรค ASF

 

นาทีนี้ นอกจากโรคโควิด-19 แล้ว ยังมีโรคระบาดในหมู ที่กำลังเป็นกระแสสังคมมาตลอดต้นปี2565 นี้ โดยโรคระบาดในหมูนี้มีชื่อว่า “โรค ASF” หรือชื่อเต็มคือ African Swine Fever เป็นโรคที่ส่งผลให้เนื้อหมูขาดตลาด ราคาหมูแพงขึ้น แล้วยังส่งผลให้สินค้าอื่นแพงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564

วันนี้ GedGoodLife จะพาไปทำความรู้จักกับ “โรค ASF” ให้มากขึ้น พร้อมไขข้อสงสัยโรค ASF คืออะไร ติดต่อสู่คนได้ไหม ควรกินหมูในช่วงนี้หรือไม่? มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลย!

decolgen ดีคอลเจน

โรค ASF คืออะไร?

ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever หรือ “โรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร” เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงในสุกร (หมู) เกิดจากเชื้อไวรัส DNA ชนิดมีเปลือกหุ้ม family Asfarviridae genus Asfivirus (ASFV) โดยเชื้อ ASFV มีความคงทนสูง จึงอยู่ได้ในเลือด สิ่งขับถ่ายในซากสัตว์รวมทั้งในเนื้อหมู และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากเนื้อหมู เช่น ไส้กรอก ซาลามี่ แฮม ได้เป็นเวลานาน เนื่องจากเชื้อไวรัสทนอุณหภูมิต่ำได้ดี โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ดิบ หรือผ่านความร้อนที่ไม่สูงนัก จะพบว่าอยู่ได้นานถึง 3-6 เดือน เลยทีเดียว

หมูที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิต และยิ่งกว่านั้น โรคนี้เป็นโรคที่มีความความรุนแรงทำให้หมูที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

ระยะฟักตัวของโรค และอาการป่วยในหมู

เชื้อไวรัสโรคอหิวาต์สุกรอัฟริกัน มีระยะฟักตัว 3-15 วัน ในหมู แต่ถ้าเป็นการเกิดโรคแบบเฉียบพลัน (acute) จะใช้เวลาเพียงแค่ 3-4 วัน เท่านั้น โดยหมูจะมีอาการป่วยคร่าว ๆ ดังนี้ มีไข้สูง 40.5-42°C, อาเจียน ท้องเสีย, ไม่กินอาหาร ไม่เคลื่อนไหว หมดแรง, และอาการอื่น ๆ จนถึงแก่ชีวิตในที่สุด

การติดต่อ และการแพร่กระจาย

สุกร หรือ หมู มักติดเชื้อ ASF​ จากการกินเศษอาหารที่มีเชื้อ​โรคเข้าไป และการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมากับคน​ สิ่งของ​ รถขนส่ง​ และสัตว์พาหะ ซึ่งสัตว์พาหะที่สามารถนำโรคได้โดยตรง​ ได้แก่​ เห็บอ่อน​ ที่พบในทวีปแอฟริกา และยุโรปเท่านั้น​ ไม่พบในประเทศไทย (ยังไม่มีรายงานว่าเชื้อโรค ASF สามารถติดต่อกันได้โดยผ่านทางอากาศ)

จะฆ่าเชื้อ​โรค ASF ได้อย่างไร?

เชื้อโรค ASF​ สามารถตายด้วยความร้อน​ 60°C ใช้เวลาประมาณ 30 นาที​ และมีรายงานการทดสอบยาฆ่าเชื้อส่วนใหญ่สามารถฆ่าเชื้อ ASF ได้ ตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ​ หรือโดยทั่วไปจะใข้ 1:200 เช่น​ Glutaraldehyde, Phenol, Iodine, Chlorine​ เป็นต้น​ โดยมีระยะเวลาหลังฆ่าเชื้อประมาณ​ 5-30​ นาที

อนึ่งโรค ASF นี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือยารักษาโรค

โรค ASF

โรค ASF ติดต่อสู่คนได้ไหม?

ข้อมูลจากสำนักงานปศุสัตว์เขต 7  เน้นย้ำว่า โรค​ ASF ไม่ติดต่อสู่คน คนกินเนื้อหมูที่เป็นโรคดังกล่าว ก็ไม่มีอันตรายใดใด โรคนี้จะติดในสัตว์ประเภทสุกร​เท่านั้น​ ทั้งสุกรเลี้ยง และ​สุกรป่า

ควรกินเนื้อหมูต่อไป หรือไม่?

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า “โรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร” ไม่ติดต่อสู่คน จึงสามารถกินเนื้อหมูต่อไปได้อย่างปลอดภัย ไร้กังวล

ข้อปฏิบัติของโรงฆ่าสัตว์ เมื่อพบสุกรสงสัยเป็นโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่โรงฆ่าสัตว์

หากพนักงานตรวจโรคสัตว์ที่โรงฆ่าสัตว์ พบสุกรมีเหตุสงสัยว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรให้ดำเนินการตาม
มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์พ.ศ. 2559 ทันทีดังนี้

  1. แจ้งสัตวแพทย์ประจำท้องที่
  2. สั่งงดการฆ่าสัตว์ และแยกสัตว์นั้นไว้เพื่อตรวจพิสูจน์
  3. ไม่อนุญาตให้นำซากที่ได้จากสุกรชุดนี้ไปจำหน่ายจนกว่าจะได้รับยืนยันว่าสุกรที่เข้าฆ่าไม่เป็นโรคอหิวาต์
    แอฟริกาในสุกร

เมื่อพบสุกรตายเฉียบพลันเป็นจำนวนมาก ต้องทำอย่างไร?

แจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีหรือ ติดต่อ call center : 063 225 6888 หรือแจ้งผ่าน application DLD 4.0 (แจ้งการเกิดโรคระบาด)

 

สุดท้ายนี้ GedGoodLife ขอฝากเรื่องการกินเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว หรืออื่น ๆ จำเป็นต้องปรุงสุกอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ดิบ หรือดิบ ๆ สุก ๆ เพราะอาจก่อให้เกิดโรคหลายโรค โดยเฉพาะ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น แถมยังเสี่ยงติดพยาธิประเภทต่าง ๆ อีกด้วย!

 

อ้างอิง : 1. สมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก  2. สำนักงานปศุสัตว์เขต 7  3. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save