หน้าฝนทีไร ผิวหนังมีผื่นแดง คัน ลอกเป็นขุย ทุกที! ใครมีอาการเหล่านี้อยู่บ้าง มารวมกันทางนี้ เพราะ วันนี้ GedGoodLife มีทั้ง โรคผิวหนัง ที่ควรระวังในหน้าฝน พร้อมวิธีป้องกันโรคผิวหนัง ช่วงหน้าฝน จากแพทย์ผิวหนังมาฝากแล้ว มาติดตามกันเลย!
– 5 ผื่นโควิด วิธีสังเกต และรักษา พร้อมวิธีใช้ยาแก้แพ้ รักษาผื่น อย่างถูกต้อง
– 6 โรคหน้าฝน ที่ไม่รัก!! ระวังไว้หน่อย จะได้ไม่ป่วย
7 โรคผิวหนัง ที่ต้องระวัง! ในฤดูฝน
1. ผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา
– โรคเกลื้อน เป็นโรคที่มีลักษณะเป็นผื่นวงกลมหลายวง โดยตัววงจะเป็นสีขาว หรือสีคล้ำขึ้น มีขุยละเอียด สีแตกต่างกัน เกิดขึ้นได้บนผิวหนังบริเวณ เช่น หลัง หน้าอก ท้อง ใหล่ คอ ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก หรือใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย
– โรคกลาก เป็นผื่นวงมีขอบเขตชัดเจน มีขุยอยู่บริเวณขอบของวงผื่น มีอาการคัน ตามด้วยผื่นแดง และลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ โดยจะเกิดขึ้นในจุดอับชื้นบริเวณ หนังศีรษะ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า และบริเวณซอกนิ้วเท้า
2. โรคน้ำกัดเท้า
โรคนี้มักมีอาการระคายระคายเคืองผิวหนังจากความอับชื้น เมื่อสัมผัสสิ่งสกปรก อาจจะในบริเวณบริเวณที่มีน้ำท่วมขังหลังฝนตก ทำให้เกิดขึ้นผื่นตามเท้า หรือซอกนิ้วเท้า ในบางรายอาจมีอาการติดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
ผศ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ ภาควิชาตจวิทยา คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อาการของโรคน้ำกัดเท้า มักมีอาการคันที่ซอกนิ้วเท้า เท้าลอกเป็นขุย บางครั้งอาจมีผื่นหน้าขึ้นที่เท้า โดยหากไม่ได้รับการรักษาเชื้อราที่เท้าอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดเป็นแผลเป็นทางเข้าของแบคทีเรีย และเป็นแบคทีเรียที่ผิวหนังต่อไปได้
3. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่จะเกิดมากขึ้นในช่วงฤดูฝน เพราะอุณหภูมิของอากาศ และความชื้นมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คือ มักมีผื่นแดง แห้งลอก มีอาการคันมากที่บริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา และซอกคอ เป็นต้น
– ทำความเข้าใจ ผื่น ทั้ง 6 ประเภท และผื่นแย่แค่ไหนถึงควรพบแพทย์
– ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ดูแลรักษายังไงดี ?
4. ผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง
ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงแห่งการเพิ่มจำนวนของแมลงหลายชนิด ซึ่งแมลงบางอย่างก็อาจทำให้เราเกิดอาการผื่นผิวหนังอักเสบได้ เช่น ยุง หมัด ไร ด้วงก้นกระดก หากตัวเราได้สัมผัส หรือบังเอิญไปสัมผัสแล้วก็อาจเกิดเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้ โดยหากมีอาการแพ้อย่างรุนแรงควรรับไปพบแพทย์ทันที
5. โรคงูสวัด
โรคนี้มีเชื้อไวรัส Herpes Virus เป็นเชื้อเดียวกับอีสุกอีใส เมื่อเป็นอีสุกอีใสหายแล้ว เชื้อจะยังอยู่ในปมประสาท ซึ่งหากร่างกายของเราอ่อนแอ เชื้อจะออกมาโดยจะเป็นลักษณะของตุ่มน้ำ เรียงตัวเป็นเส้นตามเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน โดยความรุนแรงของโรคนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย บางคนหากหายแล้วก็จะมีอาการเส้นประสาทอักเสบไปอีกนาน แต่ปัจจุบันสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดได้แล้ว
6. โรคผื่นกุหลาบ
เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่มีอาการเฉียบพลัน และยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัด โดยอาการของโรคคือ ผื่นจะมีลักษณะเฉพาะรูปร่างกลมหรือรี และจะกระจายเป็นแนวตามร่องบนผิว คล้ายกับลักษณะของต้นสน
โรคผื่นกุหลาบนี้ ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุน้อย โดยเฉพาะช่วงวัย 10-35 ปี พบในเพศหญิงได้มากกว่าผู้ชายในอัตรา 2:1 ผื่นมักเกิดอยู่นานประมาณ 6-8 สัปดาห์แล้วหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 5 เดือนหรือมากกว่า
การวินิจฉัยแยกกับผื่นผิวหนังอักเสบอื่น ๆ มีรายงานว่า การเกิดผื่นกุหลาบในผู้ป่วยตั้งครรภ์ เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดการแท้งได้ โดยเฉพาะช่วง 15 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผื่นแรกมักเกิดขึ้นบริเวณลำตัว และมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งอาจพบบริเวณคอ หรือแขนขาส่วนบนได้ โดยลักษณะของผื่นจะเป็นสีชมพู หรือสีน้ำตาล อาจมีขอบยกเล็กน้อย ขนาดประมาณ 2 – 4 ซม.แต่บางกรณีอาจมีขนาด 1 ซม. หรือใหญ่ถึง 10 ซม. ตัวผื่นจะมีขุยขนาดเล็ก มักไม่พบผื่นบริเวณหน้า มือ แล้วเท้า ในส่วนของอาการคัน พบได้ประมาณ 25% โดยโรคผื่นกุหลาบมักหายได้เอง และไม่ทิ้งร่องรอยแผลเป็นไว้บนผิว
อ่านเพิ่มเติม -> ผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังที่มาพร้อมหน้าฝน! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา
7. โรคเท้าเป็นรู
หรือโรคเท้าเหม็น เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่อาจมองข้ามไป เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ชอบความอับชื้น ลักษณะโรคจะเห็นฝ่าเท้ามีรูพรุน ๆ เป็นวง ๆ มีกลิ่นอับ มักพบในคนที่มีเหงื่อออกที่เท้าเยอะ การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะทา หรือรับประทาน
วิธีการป้องกันโรคผิวหนัง ในฤดูฝน
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง แนะว่า
– เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย ควรเป็นผ้าผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ เพราะสวมใส่สบาย แห้งง่าย ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
– เนื้อผ้าที่ต้องระวังคือผ้าประเภทขนสัตว์ ผ้าไนลอน เพราะอาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง และมักเป็นสาเหตุทำให้เกิดผดผื่นคัน
– ควรซักเสื้อผ้าให้สะอาด และตากแดดให้แห้งสนิท โดยเฉพาะเสื้อผ้าประเภทที่มีเนื้อผ้าหนาควรตากแดดให้แห้งสนิทจริง ๆ เพราะเนื้อผ้าประเภทนี้มักแห้งช้ากว่าผ้าปกติ
– ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะคนอ้วนเสื้อผ้ามักจะเสียดสีกับผิวหนังทำให้เกิดการระคายเคือง และอับชื้นได้ง่าย
– เวลานอนควรสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย
– ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดชั้นในเวลานอน เพื่อให้จุดอับชื้นต่าง ๆ ในร่างกายมีการระบายได้ดี
ทั้งนี้ ควรดูแลร่างกายตนเองให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นทานผัก และผลไม้ที่มีวิตามิน C, E และเบต้าแคโรทีน เช่น ข้าวโพด แครอท ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ ดื่มน้ำสะอาด และพักผ่อนให้เพียงพอ หากพบความผิดปกติบริเวณผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโดยตรง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี
ในส่วนของ นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้คำแนะนำว่า สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายมีเหงื่อมาก ผู้ที่โดนฝน หรือสวมเสื้อผ้าที่ไม่แห้งสะอาด การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมในช่วงฤดูฝนถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย แห้งง่าย ไม่ควรใส่ผ้าเนื้อหนา และรัดรูปจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณผิวหนัง ซึ่งนำไปสู่อาการของโรคผิวหนังได้
นอกจากนี้ การที่เหงื่อออกมาก อับชื้น เชื้อรา และแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้เกิดอาการแพ้เสื้อผ้า มีผื่นคันตามจุดต่าง ๆ เช่น ผู้ที่ชอบสวมเสื้อแขนรัดมักพบผื่นบริเวณรักแร้ ส่วนผู้ที่ชอบสวมกางเกงยีนส์รัดรูปมักพบผื่นบริเวณขาหนีบ เป็นต้น นอกจากการติดเชื้อที่ผิวหนังแล้ว ยังส่งผลให้เกิดกลิ่นอับ กลิ่นตัว เพราะเหงื่อระเหยได้ยากยิ่งขึ้นอีกด้วย
อ้างอิง : 1. สสส. 2. chulalongkornhospital 3. siamrath