วัคซีนโควิดฉีดตอนตั้งครรภ์ ได้หรือไม่? และคำถามอื่น ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้! ข้อมูลโดย นพ.ยง และ สธ.

28 มิ.ย. 24

การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์

 

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดอยู่ ณ เวลานี้ คงมีคำถามในใจว่า จะสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่? เป็นอันตรายต่อลูก และตนเองหรือเปล่า? วันนี้ GedGoodLife ได้รวบรวมคำตอบเรื่อง การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ มาให้แล้ว …อ้างอิงข้อมูลจาก ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ และ กระทรวงสาธารณสุข (สธ)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ 5 คำถาม การฉีดวัคซีนสำหรับผู้หญิง ไว้ที่เฟซบุ๊กส่วนตัวของท่าน ไว้ดังต่อไปนี้

คำถามที่ 1 : กำลังตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนได้ไหม?

นพ.ยง ตอบ : เนื่องจากวัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ โดยทั่วไปเราจะไม่ให้วัคซีนในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นวัคซีนใหม่ แต่หลักการทั่วไปทางการให้วัคซีน เช่น วัคซีนเชื้อตายเราให้ในสตรีตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะในไตรมาสสอง และสาม เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนคอตีบ, ไอกรน, บาดทะยัก

สำหรับโควิด-19 วัคซีนเป็นวัคซีนใหม่ เราจะไม่ให้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แต่ในไตรมาสที่สอง และสาม ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่ได้กับความเสี่ยงของวัคซีน เช่น ถ้าสตรีตั้งครรภ์นั้นทำงานด่านหน้าที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย เช่น เป็นพยาบาล เป็นแพทย์ หรืออยู่ในแหล่งระบาดสูง ก็ให้คำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ เพราะถ้าติดเชื้อแล้วในสตรีตั้งครรภ์จะมีความรุนแรงมากกว่าคนปกติ มีโอกาสที่ทารกจะคลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อสู่คนอื่น

การให้วัคซีนส่วนใหญ่จะแนะนำให้วัคซีนที่เป็นเชื้อตาย และที่มีข้อมูลในสตรีตั้งครรภ์บ้าง คือ วัคซีนในกลุ่ม mRNA ที่มีการให้ในสตรีตั้งครรภ์ ส่วนไวรัสเวกเตอร์โดยหลักการถือว่ามีชีวิต แต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ การเกิดลิ่มเลือดก็เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนตัวอย่าง เพราะในสตรีตั้งครรภ์ จึงยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอในสตรีตั้งครรภ์

วัคซีนของจีน Sinovac เป็นวัคซีนเชื้อตาย แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลในการศึกษาในสตรีตั้งครรภ์ จึงใช้ชั่งน้ำหนักระหว่างผลประโยชน์ที่ได้กับความเสี่ยง หรืออันตรายของวัคซีน อย่างไรก็ตามขณะนี้กำลังมีการศึกษากันมากถึงการให้วัคซีนในสตรีตั้งครรภ์ ข้อมูลต่าง ๆ คงจะมีการเปิดเผยออกมาเป็นระยะ

คำถามที่ 2 : กำลังจะเตรียมตัวมีบุตรฉีดวัคซีนได้ไหม?

นพ.ยง ตอบ : วัคซีนนี้ไม่มีข้อห้าม และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือเริ่มจะตั้งครรภ์

ไม่ต้องไปซื้อชุดตรวจมาตรวจก่อน แต่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์หลังฉีดวัคซีนเข็มหนึ่งไปแล้ว ก็ให้เลื่อนการฉีดเข็มสองออกไป ไปฉีดหลังการตั้งครรภ์ หรือฉีดวัคซีนนั้นต่อในไตรมาสสองหรือสาม ในกรณีที่สตรีผู้นั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะติดโควิด-19 โดยดูประโยชน์ที่ได้ และความเสี่ยงของวัคซีนเป็นหลัก

คำถามที่ 3 : คุณแม่ที่ให้นมบุตรฉีดวัคซีนได้ไหม?

นพ.ยง ตอบ : ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลในรายละเอียดทั้งหมด แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ าส่วนประกอบที่อยู่ในวัคซีนจะมีโอกาสผ่านมาในน้ำนมน้อยมากหรือแทบจะวัดไม่ได้ ดังนั้นการให้นมบุตรจึงไม่ได้ถือเป็นข้อห้ามเด็ดขาด ที่จะให้วัคซีน

และถ้าเราถึงกำหนดที่จะต้องให้วัคซีนโดยเฉพาะในแหล่งระบาดก็ควรจะได้รับวัคซีน เพราะมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และเมื่อให้วัคซีนมาแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องงดนมมารดาแต่อย่างใด

คำถามที่ 4 : การให้วัคซีนโควิด-19 จะมีผลทำให้มีบุตรยากหรือไม่?

นพ.ยง ตอบ : ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานอันใดที่บ่งบอกว่าวัคซีนโควิด-19 จะทำให้มีผลทำให้มีบุตรยาก

คำถามที่ 5 : มีประจำเดือน หรือกำลังจะมีประจำเดือนฉีดวัคซีนได้ไหม?

นพ.ยง ตอบ : ฉีดได้เลยไม่มีข้อห้ามอันใด ที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน

การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์

การฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยกรมควบคุมโรค

คำถามที่ 1 : กรณีกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว แต่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือเป็นหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร สามารถรับการฉีดวัคซีน โควิด-19 ได้หรือไม่?

ตอบ : ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษารองรับเกี่ยวกับการให้วัคซีนโควิด-19 ในประชากรที่อายุน้อยกว่า 18 ปี เนื่องจากข้อมูลการวิจัยส่วนใหญ่จะทำในประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ยกเว้นการวิจัยวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท BioNTech/Pfizer ที่มีการศึกษาในประชากรที่อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration) ให้สามารถใช้ในประชากร ที่อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปได้

ส่วนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษารองรับจึงยังไม่ได้มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วงนี้ จนกว่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้ เว้นแต่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง และประเมินแล้วว่าวัคซีนให้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง

ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ รวมทั้งหญิงให้นมบุตร สามารถฉีดวัคซีนได้ ยกเว้นโรคเรื้อรังที่อาการยังไม่คงที่ ควรให้แพทย์ประเมินก่อนฉีด

คำถามที่ 2 : หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

ตอบ : จากการศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด-19 แต่ละชนิด มักพบเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา

แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ในอัตราที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ในสถานพยาบาลเสมอ หากผู้รับวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรือไม่มั่นใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ควรแนะนำให้ผู้รับวัคซีนปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม

คำถามที่ 3 : สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือไม่?

ตอบ : สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน แม้จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งต่อไป และยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้


ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด-19 เสมอแม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด-19 มาก่อนก็ตาม
โดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้อไปอย่างน้อย 3-6 เดือน ไม่จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน เพราะแม้จะเคยเป็นมาก่อน ก็ไม่ทำให้มีอันตรายจากการฉีดวัคซีน โดยอาจพิจารณาให้ฉีดเพียง 1 เข็ม

กรมอนามัยชี้ หญิงท้องติด COVID-19 เสี่ยงอาการรุนแรง แนะฉีดวัคซีนป้องกันหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

วันที่ 30 เม.ย.2564 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า

จากกการประชุมคณะทำงานการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอดที่ติดเชื้อ โควิด-19 มีการนำเสนอข้อมูลการสำรวจของกรมอนามัยล่าสุดเมื่อ 28 เม.ย.นี้ พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อจำนวน 77 คน ไม่มีอาการ 43 คน มีอาการปอดอักเสบ แต่ไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ 21 คน เสียชีวิต 1 คน ส่วนใหญ่ 81.5% ติดเชื้อในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์

โดยข้อมูลการใช้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์พบยังมีไม่มาก แต่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป ดังนั้น การนัดหมายตรวจครรภ์ กรณีตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 โดยไม่มีการนัดตรวจพิเศษอื่น ๆ สามารถโทรติดต่อขอเลื่อนนัดตรวจครรภ์ออกไปตามความเหมาะสม

ส่วนในรายที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์เป็นต้นไป และในรายที่เป็นกลุ่มครรภ์เสี่ยงสูงหรือมีโรคร่วม ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ธัยรอยด์ หัวใจ หอบหืด ปอดเรื้อรัง ไต และภูมิต้านทานผิดปกติ ควรไปฝากครรภ์ตามแพทย์นัดทุกครั้ง โดยมีการนัดเวลาล่วงหน้า เพื่อลดระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลให้สั้นที่สุด

  • หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ
  • แนะนำให้มีผู้ติดตามไม่เกิน 1 คน
  • สวมหน้ากากตลอดเวลาที่ออกนอกบ้าน
  • พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวเพื่อล้างมือให้สะอาดเมื่อจำเป็น
  • ระหว่างนั่งรอตรวจหรือรับยา ให้เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร
  • เมื่อกลับถึงบ้านให้ถอดหน้ากากทิ้งอย่างถูกวิธี ล้างมือ และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  • สังเกตอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น บวม ลูกดิ้นน้อยลง มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์ น้ำเดิน หากมีอาการดังกล่าว ให้โทรประสานกับหน่วยบริการที่ฝากครรภ์เพื่อส่งต่อโรงพยาบาลต่อไป

ทางด้าน นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ และโฆษกกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอนามัยโดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ ได้ประชุมหารือร่วมกับ รศ.นายแพทย์ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ ประธานอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคติดเชื้อ และอนุกรรมการมารดา และทารกปริกำเนิด ภายใต้คณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กแห่งชาติ ได้ข้อสรุปในเบื้องต้น โดยมีคำแนะนำว่า

หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับวัคซีน และควรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ และอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน รวมทั้งความเสี่ยงที่จะติดโรคโควิด-19 และความรุนแรงของโรค ก่อนตัดสินใจ

ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่ควรได้รับวัคซีนก่อนนั้น มีหลักการพิจารณาเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ได้แก่

  • กลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น บุคลากรทางการแพทย์ หรือบุคคลที่ทำงานในลักษณะที่ต้องสัมผัสกับคนหมู่มาก
  • บุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคสูง
  • รวมถึงกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรงเมื่อติดเชื้อ เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์

สำหรับช่วงเวลาที่แนะนำให้ฉีดวัคซีนคือช่วงหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป และแนะนำให้ฉีดวัคซีนซิโนแวคก่อน เนื่องจากผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว ในขณะที่แอสตราเซเนกา เป็น viral vector vaccine มีโอกาสเกิดอาการไข้หลังฉีดได้มาก

และมีรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี แต่พบน้อยมาก สำหรับหญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร สามารถรับการฉีดวัคซีนได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

ดาวน์โหลด คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด และเด็กเล็กในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อ COVID-19 จากกรมอนามัย ได้ที่นี่ -> https://bit.ly/340UGDR

อ้างอิง :
1. เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ
2. กรมควบคุมโรค
3. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save