หนึ่งในหนทางออกจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่หลายคนกำลังรอคอยกันอย่างใจจดใจจ่อนั่นก็คือ การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน แม้ว่าในตอนนี้หลายประเทศในโลกอย่างอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ ได้มีการอนุมัติให้มีการใช้ วัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 ในกรณีฉุกเฉินกันไปแล้ว แต่ข่าวอาการแพ้หรือผลข้างเคียงที่อาจจะเกินขึ้นกับผู้ที่ได้รับวัคซีน ยังคงมีให้เราได้ยินได้ฟังมาเป็นระยะ ๆ
ในวันนี้ GedGoodLife จึงขอสรุปรวบรวมมาเพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับคนที่อยากทราบถึงผลกระทบ และลักษณะอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้ เมื่อได้รับ วัคซีนต้านเชื้อโควิด-19
การทำงานของวัคซีน (Vaccine) มีผลอย่างไรต่อร่างกาย ?
วัคซีนคือสารชนิดหนึ่งที่มีการคิดค้นขึ้นเพื่อฉีดเข้าไปร่างกาย ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ซึ่งสารที่ว่านั้นโดยมากก็มักจะทำมาจากเชื้อโรคที่เราต้องการจะป้องกันนั่นเอง เราสามารถแบ่งสารที่ใช้ในการผลิตวัคซีนได้เป็น 2 ประเภท คือ
- สารที่ได้จากการทำเชื้อโรคที่ตายแล้วมาฉีดเข้าตัวเรา
- การใช้สารที่ทำจากเชื้อโรคที่อ่อนแอ มีกำลังน้อย ซึ่งพิษจะไม่รุนแรง
และเมื่อนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ ร่างกายเราก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อโรคเหล่านั้นได้เองในที่สุด โดยไม่มีอาการป่วยที่รุนแรงอาจจะพบอาการข้างเคียงเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก
สำหรับโรคโควิด 19 นั้น วัคซีนที่ผลิตขึ้นมากได้ใช้หลักการเดียวกัน คือการนำเชื้อที่ตายแล้ว หรืออ่อนแอ มาผลิตเป็นวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยจากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ นั้นเมื่อประชากรของประเทศไทยได้รับวัคซีนราว ๆ 60-70% ของในประเทศ ไวรัสก็จะไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายคนมีภูมิได้ และจะสลายไปเองจะหายไปในที่สุด
วัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 ที่ใช้อยู่ทั่วโลกในเวลานี้มีกี่ชนิด ?
จากการเปิดเผยของ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีศิริราชพยาบาล ได้กล่าวว่า ปัจจุบันมี วัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านการทดสอบในระยะ 3 จากทั่วโลกอยู่ราว 20 ยี่ห้อ จาก 20 บริษัทผู้ผลิต โดยสามารถจัดกลุ่มตามเทคโนโลยีการผลิตออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เทคโนโลยี mRNA จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการตัดต่อสารพันธุกรรม เป็นสิ่งใหม่แต่เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสูงสุดถึง 95% ซึ่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดประจำปี มีประสิทธิภาพประมาณ 50-60% เท่านั้น
เราไม่จำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพถึง 80-90% เพราะ 50-60% ก็เพียงพอ สิ่งสำคัญคือ หากรับวัคซีนต้องทำให้โรคไม่รุนแรง และไม่เสียชีวิต อันนี้คือเป้าหมายใหญ่ ไม่ใช่ไม่ติดเชื้อ
2. วัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา หลักการวัคซีนตัวนี้ คือ เอาไวรัสตัวหนึ่งที่ไม่ก่อโรคในคน และเอาพันธุกรรมของโควิด-19 ที่สร้างโปรตีน(สไปรท์โปรตีน) จนเกิดการแพร่ระบาดเยอะ ๆ เข้าไปแตะกับไวรัสตัวนี้และเข้าสู่ร่างกาย
ซึ่งภูมิคุ้มกันตัวเราจะพบว่าไวรัสตัวนี้เป็นสิ่งแปลกปลอม และจดจำว่านี่คือเชื้อโรค เมื่อจำได้ภูมิคุ้มกันในตัวเราก็จะกำจัดไวรัสพวกนี้ ดังนั้น ตัวนี้จึงมีประสิทธิภาพสูงถึง 90% โดยทั้งหมดต้องฉีด 2 ครั้ง แต่วัคซีนตัวนี้ไม่ได้เอาโควิด-19 มาทำ จึงทำให้ราคาไม่แพง
3. วัคซีนจากบริษัท ซิโนแวต เป็นการใช้เทคโนโลยีที่นำเชื้อโควิด และทำให้อ่อนแรงลง จนไม่สามารถทำอันตรายได้ และนำเข้าร่างกายเรา จนภูมิฯ ของเราจดจำเชื้อไวรัสนี้ และเมื่อเชื้อเข้ามาก็จะไปจัดการ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ เป็นเทคโนโลยีเดิมแต่มีราคาสูง เพราะต้องไปจัดการเชื้อให้อ่อนแรง ไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ซึ่งได้ผลประมาณ 50% ที่เพียงพอต่อการเกิดภูมิคุ้มกัน เป็นเทคโนโลยีเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นเทคนิคการผลิตวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูง เพราะรู้จักมานาน
แต่เทคโนโลยีของแอสตราฯ โดยทฤษฎีไม่ได้ใส่ไวรัสเข้าไป โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน อาการแพ้ก็น่าจะน้อย ซึ่งผลการศึกษาระหว่างทดสอบระยะ 1 2 และ 3 พบบ้าง 2-3 กรณี แต่สุดท้ายไม่เกี่ยวกับวัคซีน ก็ถือว่าปลอดภัย
ซึ่งในปัจุบันวัคซีนที่สามารถผลิตได้ยังไม่สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ของเราให้อยู่ได้นานมากนัก โดยเฉลี่ยภูมิต้านทานจะมีอยู่ได้ไม่เกินระยะ 1 ปี ซึ่งก็อาจมีความจำเป็นต้องฉีดปีละครั้ง
ลักษณะอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้ เมื่อได้รับ วัคซีนต้านเชื้อโควิด-19
คำถามสำคัญที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างนั่นก็คือ ความปลอดภัย และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะแน่นอนว่าต่างคนก็ต่างความคิด มีคนจำนวนหนึ่งอยากฉีดวัคซีน เพราะไม่อยากติดไวรัสซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิต และคนรอบข้าง แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากฉีด เพราะเกรงถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งปัจจุบันถือว่ายังมีข้อมูลทางงานวิจัยที่น้อยมาก
ซึ่งในส่วนนี้ ทาง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ก็ได้มีอธิบายถึงกรณีอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการได้รับวัคซีนว่า…
เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติอยู่แล้ว แม้แต่วัคซีน ชนิดอื่น ๆ ที่เรารู้จักคุ้นเคย และใช้อยู่กันเป็นประจำอย่างวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ก็ยังมีผลข้างเคียง อาการแพ้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากรายงานขององค์การอาหาร และยาสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้ระบุถึงผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ที่พบได้ออกได้ออกเป็น 2 กลุ่มระดับความรุนแรง ดังนี้
อาการของผลข้างเคียง อาการแพ้ในระดับไม่รุนแรง และพบได้บ่อยมาก มีลักษณะดังต่อไปนี้
- อาการปวดบริเวณที่ฉีดยา และบวมแดง
- อาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้
- ปวดศีรษะ
- ปวดตามกล้ามเนื้อ
- มีไข้ รู้สึกหนาว ตัวสั่น
- ปวดตามข้อ
ในทุก ๆ 10 คน ที่ได้รับวัคซีนจะมีอาการในลักษณะนี้ปรากฎให้เห็นอยู่ราว 1 คน ทางการแพทย์ถือว่าเป็นอาการปกติ
อาการของผลข้างเคียง อาการแพ้ในระดับรุนแรง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
- อาการไส้ติ่งอักเสบ
- อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือกเฉียบพลัน
- อาการผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง
- ต่อมน้ำเหลืองโต
ถือว่าพบได้น้อย ใน 100 คน อาจจะมีพบอาการเหล่านั้น 1 คน
อีกประเด็นสำคัญที่คุณควรทราบก็คือ ควรสอบถาม และตรวจสอบส่วนผสมที่มีอยู่ในวัคซีนชนิดที่คุณฉีด จากแพทย์ที่คุณเข้ารับการฉีดว่าส่วนประกอบในวัคซีนชนิดนั้น เป็นสารที่ทำให้คุณมีอาการแพ้เดิมอยู่แล้วหรือไม่ เช่น อาการคันตามผิวหนัง หายใจลำบาก ใบหน้า และลิ้นมีอาการบวม
ในรายงานยังระบุว่าข้อมูลที่พบในตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปชี้ชัดได้ว่า วัคซีนที่ได้รับเข้าไปนั้นก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือผลข้างเคียงตามรายงานกล่าวมานี้ เพราะอาจจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพโดยพื้นฐานเดิมของผู้เข้ารับวัคซีนที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว และได้แสดงอาการโดยบังเอิญในช่วงระหว่างการเข้ารับวัคซีน
อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ที่ประวัติอาการแพ้รุนแรงหลังจากได้รับวัคซีนชนิดอื่น ๆ มาก่อนหน้านี้ ทางผู้เชี่ยวชาญ ก็ได้มีคำแนะนำว่าควรจะหลีกเลี่ยงการเข้ารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ออกไปก่อนจนกว่าจะมีการศึกษาค้นคว้าถึงอาการแพ้เหล่านั้นได้อย่างละเอียดลึกซึ้งในอนาคตข้างหน้า และพยายามป้องกันตนเองตามมาตรฐานการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันตนเองจากการสัมผัสรับเชื้อในผู้ที่มีความเสี่ยงจากการรับวัคซีน
จากการศึกษา และค้นคว้าจากการทำสอบและวิจัยในตอนนี้อาจจะเป็นการด่วนไปที่จะสรุปในเรื่องผลกระทบ และอาการแพ้ที่เกิดจากการเข้ารับวัคซีนโควิด 19 ได้ เพราะโดยปกติแล้ว กระบวนการการคิดค้น และผลิตวัคซีนจะต้องมีการทดสอบ และการติดตามผล ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสองปีขึ้นไป
แต่เนื่องจากสถานการณ์ที่เราต่างก็ทราบกันดีว่า ทางเลือกในการฝ่าวิกฤตออกจากปัญหานี้ที่กำลังหนักหน่วงอยู่ทั่วทั้งโลกมีคนติดเชื้อถึงกว่า 100 ล้านคน และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้นมีอยู่ไม่มาก จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะต้องมีการนำออกมาใช้แก้ปัญหาไปพร้อมกับการประเมินประสิทธิภาพ และปรับปรุงควบคู่กันไป
สิ่งที่อยากจะฝากทิ้งท้ายไว้ในบทความนี้ ก็คือการหาศึกษาหาข้อมูล และรับข่าวสารอย่างมีสติ หากสงสัยในข้อมูลที่ได้รับมา ควรมีการตรวจสอบเรื่องความถูกต้อง การที่จะนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อป้องการการสร้างความตื่นตระหนกในสังคม
หลีกเลี่ยงการเข้ารับวัคซีนในช่วงระยะเริ่มต้นหากคุณมีประวัติความเสี่ยงในการแพ้วัคซีนประเภทอื่น ๆ รุนแรงมาก่อน รวมถึง หมั่นดูแลสุขภาพอย่างจริงจังตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการควบคุมโรคโควิด 19 เท่านี้ คุณก็สามารถมีชีวิตและจิตใจที่เป็นปกติในช่วงเวลาที่ไม่ปกติได้อย่างมีความสุข
แหล่งที่มาข้อมูล
• งานแถลงข่าววัคซีน เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)โดย ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.hfocus.org/content/2021/01/20944
• ผลงานศึกษาของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐ US FDA / FACT SHEET FOR RECIPIENTS AND CAREGIVERS EMERGENCY USE AUTHORIZATION (EUA) OF THE PFIZER-BIONTECH COVID-19 VACCINE TO PREVENT CORONAVIRUS DISEASE 2019 (COVID-19) IN INDIVIDUALS 16 YEARS OF AGE AND OLDER https://www.fda.gov/media/144414/download
• เอกสารคำแนะนำของการฉีดวัคซีนของบริษัท Pfizer ประเทศอังกฤษ / Information for UK recipients on Pfizer/BioNTech COVID-19 vaccine https://www.gov.uk/government/publications/regulatory-approval-of-pfizer-biontech-vaccine-for-covid-19/information-for-uk-recipients-on-pfizerbiontech-covid-19-vaccine#side-effects
ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok : @gedgoodlife