มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น เกิดจากโรคอะไร รักษายังไงดี?

28 มิ.ย. 24

มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น

 

มีผู้ป่วยหลายคนมาพบหมอ พร้อมกับความรู้สึกหดหู่ ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม เพราะ มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น อยู่ตลอดเวลา… หมอวินิจฉัย ให้ยามากิน อาการก็หายไปพักนึง แต่ก็ไม่หายขาดสักที อาการแบบนี้เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง และควรดูแลรักษายังไงดี? วันนี้ GedGoodLife มีคำตอบมาให้แล้ว มาติดตามกันได้เลย

ดีคอลเจน

จำไว้ให้ดี! สาเหตุหลัก 3 ประการ ที่ทำให้ มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น

ความผิดปกติของร่างกาย หรือโรคบางชนิด จะทำให้ลมหายใจ หรือลมจากปากมีกลิ่นเหม็นได้ (Bad Breath) ถึงแม้จะเพิ่งแปรงฟัน บ้วนปากมาแล้วก็ตาม… เป็นปัญหาที่เกิดได้จากหลายสาเหตุเปรียบเหมือนเป็นไข้ ตัวร้อน ที่เกิดได้จากหลายโรคนั่นเอง…

การจะแก้ปัญหากลิ่นปาก กลิ่นลมหายใจ จึงต้องสืบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอสาเหตุที่แท้จริง โดยปัญหาดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่

  1. สาเหตุจากในช่องปาก
  2. สาเหตุจากระบบทางเดินหายใจ
  3. สาเหตุจากระบบทางเดินอาหาร

มาไล่เรียงไปทีละสาเหตุ แล้วลองสังเกตตัวเองสิว่า ปาก และลมหายใจเราเหม็นจากอะไรใน 3 สาเหตุนี้

มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น

1. มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น จากสาเหตุใน “ช่องปาก”

โรคเหงือก ฟันผุ – เกิดจากการไม่ค่อยดูแลสุขภาพในช่องปาก หรือไม่แปรงฟันนั่นเอง วิธีทดสอบง่ายๆ ให้ผลแน่นอน คือการเลียที่ข้อมือตัวเองทิ้งให้แห้งแล้วลองดม ถ้ามีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็แปลว่ามีกลิ่นปากแน่นอน

ปากแห้ง น้ำลายน้อย – มีสาเหตุมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือดื่มน้อยเกินไป ทำให้มีน้ำลายน้อย เชื้อโรคต่าง ๆ จะตกค้างอยู่ในช่องปากเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดกลิ่นมากขึ้น นอกจากนี้ การนอน ภาวะอดอาหาร หิว เครียด อาชีพที่ใช้เสียงมาก ๆ จะมีผลให้น้ำลายลดลง มีกลิ่นปากได้เช่นกัน

ไม่ได้ใช้ไหมขัดฟัน – เศษอาหารที่ไปติดตามซอกฟัน แปรงสีฟันจะเอาออกไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้ใช้ไหมขัดฟันเอาเศษอาหารออกมา เศษอาหารก็จะเน่าอยู่ในปากส่งกลิ่นเหม็นได้

วิธีดูแลรักษาปัญหาในช่องปาก

  1. ลดการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เป็นต้นเหตุที่ทำให้ฟันผุ
  2. ไม่ควรทานอาหารมื้อดึก
  3. ไม่นอนดึก และไม่เครียด
  4. ลดการทานของทอด
  5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ 8 แก้ว / วัน แนะนำให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องจะดีที่สุด
  6. พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน

มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น

2. สาเหตุจากระบบทางเดินหายใจ

การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด โรคไซนัสอักเสบ ก็เป็นสาเหตุของการมีลมหายใจที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากมีการไหลลงของแบคทีเรียจากช่องจมูก ไปยังลำคอ

โรคไซนัสอักเสบ – ถ้ามีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็นแรง ร่วมกับมีน้ำมูกไหลลงคอ หายใจไม่สะดวกอยู่เป็นประจำ ให้สงสัยไว้เลยว่าอาจเป็น โรคไซนัสอักเสบ โดยโรคนี้เกิดจากเยื่อบุไซนัสติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ที่ผ่านเข้ามาจากการหายใจ

อาการของโรค ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกข้น ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หนักและปวดศีรษะ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย ในบางรายมีเลือดใส หรือเลือดปนหนองออกทางจมูก อาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบได้

2.2 โรคหลอดลมโป่งพองเรื้อรัง – สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปอด หรือหลอดลมมีการติดเชื้อซ้ำ ๆ ส่งผลให้เยื่อบุของหลอดลมซึ่งยืดหดได้ถูกทำลาย หลอดลมจึงเกิดการขยายตัวถาวร ทำให้เสมหะคั่งอยู่ในหลอดลม เนื่องจากหลอดลมไม่สามารถหดบีบกำจัดออกมาได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ ไอเรื้อรัง และเสมหะที่ค้างอยู่มากนี่แหละ เป็นสาเหตุที่ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น

2.3 โรคเยื่อจมูกอักเสบฝ่อ – เกิดจากเยื่อบุจมูกของเรามีการเปลี่ยนแปลงจากเยื่อบุทางเดินหายใจ เป็นเยื่อบุที่ปกคลุมผิวหนัง ทำให้เยื่อบุในจมูกเหี่ยวฝ่อ ทำให้น้ำมูกในจมูกตกค้าง และแห้งเป็นสะเก็ดเกาะติดอยู่บนเยื่อจมูก และเมื่อมีการสะสมมากขึ้นจะไปอุดกั้นโพรงจมูก ทำให้จมูกมีกลิ่นเหม็นได้

วิธีดูแลรักษาระบบทางเดินหายใจ

  1. สวมใส่หน้ากากอนามัยเสมอ เมื่อต้องอยู่ในที่มีมลพิษ ฝุ่นควัน ผู้คนแออัด
  2. ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ
  5. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ หลีกเลี่ยงการเดินตากฝน
  6. กินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะที่มีวิตามินซีสูง
  7. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดความข้นของน้ำมูก
  8. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นค้างอยู่ในโพรงจมูก หรือไซนัส
  9. หลีกเลี่ยงการเปิดพัดลมตรงตัว และไม่ควรเปิดแอร์ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส
  10. พบแพทย์ ถ้ามีอาการหนัก และเรื้อรัง

มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น

3. สาเหตุจากระบบทางเดินอาหาร

อาหารที่ย่อยไม่หมด จะทำให้เกิดการหมักหมมในลำไส้ มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะจุลินทรีย์ย่อยอาหารตกค้างกลายเป็นแก๊สที่มีกลิ่น และยังทำให้เกิดปัญหาโรคภายในช่องท้องอื่น ๆ ตามมา ดังนี้

3.1 กรดไหลย้อน เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมายังหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้

สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน ความเครียด กินอาหารไม่ตรงเวลา ชอบทานอาหารรสจัด ทานอาหารในปริมาณที่มาก ของมัน ของทอด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ บุหรี่ มีโอกาสทำให้เกิดกรดมากขึ้น

3.2 โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้ กระเพาะอาหารที่ผิดปกติ ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นได้ เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง และหรือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร

วิธีดูแลรักษาระบบทางเดินอาหาร

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ 8 แก้ว / วัน แนะนำให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องจะดีที่สุด
  2. ออกกำลังกาย สร้างเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  3. งดอาหารมื้อดึก และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  4. รับประทาน ผัก ผลไม้ เป็นประจำทุกวัน
  5. ไม่ทานอาหารที่ทำให้อ้วนง่าย เลี่ยงหมูกะทะ บุฟเฟต์
  6. เลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่
  7. ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  8. พบแพทย์ ถ้ามีอาการเรื้อรัง

มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น สามารถรักษาให้หายได้ไหม?

เมื่อสำรวจตัวเองแล้วว่า มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น มาจากสาเหตุใด ก็ให้ดูแลรักษาที่ต้นเหตุ แต่ถ้ามีอาการเรื้อรังควรพบแพทย์หู คอ จมูก ถามว่าสามารถรักษาหายได้ไหม? ถ้าดูแลรักษาตนเองได้ดี อาการก็จะทุเลาลงได้มาก และหายได้ในที่สุด แต่ถ้ามีโรคเรื้อรัง อาการดังกล่าวอาจจะไม่หายขาด แต่ก็จะดีขึ้นถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

อ้างอิง :
1. visitdrsant.blogspot.com
2. si.mahidol.ac.th
3. nosickhandup.com
4. ธรรมศาสตร์เวชสาร

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save