การเลือกใช้ยาแก้แพ้ในเด็ก ควรเลือกอย่างไรดี?

28 มิ.ย. 24

 

เมื่อลูกมีปัญหาเรื่องภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็น อาการจาม คัดจมูก น้ำมูลใส ๆ ไหลออกมา หรือ มีผื่นขึ้นตัว คันตา เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่คงกังวลใจว่าจะทำอย่างไร จะซื้อยาแก้แพ้ให้ลูกยังไงดี? งั้นมาดู การเลือกใช้ยาแก้แพ้ในเด็ก ให้ถูกต้องกันดีกว่า ว่าควรเลือกอย่างไรดีให้เหมาะกับลูกของเรา…

ในปัจจุบัน เรามักพบอุบัติการณ์การเกิดโรคภูมิแพ้มากขึ้นอย่างชัดเจนทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้น โดยพบว่าอุบัติการณ์ในเด็ก จะสูงกว่าในวัยผู้ใหญ่ โรคภูมิแพ้เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น กรรมพันธุ์ มลภาวะ ควันบุหรี่ สภาพแวดล้อม เป็นต้น

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย อัลเลอร์นิค

สารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมและอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร เชื้อรา

2. สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นม ไข่ ถั่ว แป้งสาลี อาหารทะเล ซึ่งร่างกายของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายได้รับเหล่านี้ ด้วยการหลั่งสาร ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

โดยโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่

– เยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้ มีการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกใส

– เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการ ตาแดง ตาบวม คันตา น้ำตาไหล แสบตา

– ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มีอาการคัน มีผื่น ผิวหนังแดง ซึ่งมักเป็นอาการที่พบได้บ่อยเมื่อมีการแพ้อาหารบางชนิด

– หืด มีอาการหายใจเสียงดัง แน่นหน้าอก หายใจเสียงดัง “วี้ด”

การรักษาโรคภูมิแพ้ มีหลักการทั่วไป คือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และการรักษาด้วยยา โดยควรหลีกเลี่ยงสารหรืออาหารที่ก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง  รวมถึงการใช้ยาให้ถูกต้อง และสม่ำเสมอ

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ มักเป็นยากลุ่มแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน (Antihistamines) ซึ่งมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการจามเนื่องจากหวัด บรรเทาอาการคันจากสาเหตุต่าง ๆ ลดสารคัดหลั่ง ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ในการยับยั้งผลของ ฮีสตามีน (Histamine) จึงมีผลทำให้ลดการหลั่งน้ำมูก มีอาการแพ้และอาการคันลดลง

หลักการใช้ยาในเด็กมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเด็ก ไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก การตอบสนองของยาในเด็ก และผู้ใหญ่ในบางด้านมีความแตกต่างกัน การใช้ยาในเด็กจึงควรคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสม มีผลข้างเคียงต่ำ มีความปลอดภัยสูง

โดยยาแก้แพ้ที่ใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1.ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม หรือยาต้านฮิสตามีนกลุ่มที่ทำให้ง่วงซึม (First Generation Antihistamines)

เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlopheniramine), ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate), ไฮดรอไซซีน (Hydroxyzine), ทริโปรลิดีน (Tripolidine), บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine), คีโตติเฟน (Ketotofen)

ยากลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ที่มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล และมักให้ร่วมกับยาชนิดอื่นตามอาการที่แสดง ซึ่งยากลุ่มนี้ มีความสามารถที่จะผ่านเข้าสู่สมอง ทำให้มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง

จึงทำให้ผู้ที่ใช้ยา เกิดอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ อาการง่วงซึม และควรระมัดระวังการใช้ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ในบางครั้ง กลุ่มผู้ได้รับยา โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับยาขนาดสูง อาจพบอาการตรงกันข้าม คือ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ อยู่ไม่นิ่ง ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่ได้พบได้ เช่น ตาพร่ามัว จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง  เป็นต้น

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ อาจมีผลทำให้เกิดอาการเสมหะเหนียว  จึงไม่นิยมใช้ในเด็กที่อายุน้อย เพราะจะทำให้เสมหะขับออกยากขึ้น และยากลุ่มนี้มักมีช่วงเวลาในการออกฤทธิ์ที่สั้น เพียงประมาณ 4-6 ชั่วโมง จึงทำให้ต้องรับประทานยาหลายครั้งต่อวัน

2. ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่สอง หรือ กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (Second Generation Antihistamines)

เป็นกลุ่มยาที่พัฒนามาจากยาต้านฮีสตามินกลุ่มดั้งเดิม เพื่อลดผลข้างเคียง ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น ลอราทาดีน (Loratadine), เซทิริซีน (Cetirizine), เฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine), เลโวเซทีริซีน (Levocetirizine), เดสลอราทาดีน (Desloratadine) เป็นต้น

ยาในกลุ่มนี้สามารถรักษาอาการต่าง ๆ ได้คล้ายกับยากลุ่มดั้งเดิม คือ เยื่อบุจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ เยื่อตาขาวอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ที่เป็นตามฤดูกาล ผื่นลมพิษ แต่มีฤทธิ์ในการผ่านเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางน้อย

ทำให้มีผลข้างเคียงในเรื่องการง่วงซึมที่น้อยกว่ากลุ่มดั้งเดิม จึงเหมาะกับวัยเด็กที่ต้องไปโรงเรียน รวมถึงลดผลข้างเคียงในเรื่อง จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่ามัว  และมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้สามารถรับประทานเพียง 1-2 ครั้งต่อวันขึ้นอยู่กับขนาด และชนิดของยา

โดยสำหรับตัวยา ลอราทาดีน (Loratadine) ซึ่งเป็นยาต้านฮิสตามีนกลุ่มที่สอง ที่สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข มีมติให้ปรับลดสถานะของยา จากยาอันตราย เป็น ยาบรรจุเสร็จ ที่ไม่ใช่ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษ (ขนาดบรรจุแผงละไม่เกิน 10 เม็ด กล่องละไม่เกิน 2 แผง)

โดยการพิจารณาของคณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับข้อบ่งใช้ ในโรคภูมิแพ้ เนื่องจาก ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้กลุ่มใหม่ ที่มีความปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น

จุดมุ่งหมายในการดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในเด็ก คือ ลดอาการแสดง และป้องกันการเกิดโรคร่วม และภาวะแทรกซ้อน จึงควรมีการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป คือ ทานอาหารครบหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษา คือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง เช่น ทำความสะอาดบ้าน จัดห้องให้โล่ง ไม่ควรใช้พรมปูพื้น ระวังไม่ให้เกิดความอับชื้นในบ้านเพื่อป้องกันเชื้อรา หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ที่มีขน หลีกเลี่ยงสารก่อความระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควันรถ ควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้

การเลือกใช้ยาแก้แพ้ในเด็ก

การเลือกใช้ยาแก้แพ้ในเด็ก ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย  ขนาดการใช้ยา ผลข้างเคียง รวมถึงประวัติการแพ้ยา โดยเลือกยาที่มีผลข้างเคียงต่ำ ความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพในการลด และควบคุมอาการได้ดี ออกฤทธิ์เร็ว และมีความสะดวกในการรับประทาน

โดยทั่วไปจึงมักมีการใช้ยาต้านฮีสตามีนในกลุ่มที่สอง มากกว่ายาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ดี ผลข้างเคียงที่น้อยกว่า และออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า โดยอาจพิจารณายาแก้แพ้ที่มีความปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อย และก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ในการเลือกชนิด ขนาด และวิธีการรับประทานของยาแต่ละตัวอย่างเหมาะสม

บทความโดย : ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ


เอกสารอ้างอิง

1. Antihistamines, in Drug Fact and Comparisons 2017, Wolters, Kluwer Health.:Nevada. p. 1284-1304
2. Histamine, Bradykinin, and their antagonists, in Goodman & Gilman’s the Pharmacological Basis of Therapeutics,
12th edition. New York: McGraw-Hill, 2011. p.918-924
3. แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2554), ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและภูมิคุ้มกันวิทยาแห่งประเทศไทยและสมาคมแพทย์โรคจมูก (ไทย)
4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยาอันตราย ฉบับที่ 32. (2562, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save