“ไข้เลือดออก” ภัยร้ายถึงตาย รู้เท่าทันก่อนสาย!

28 มิ.ย. 24

 

ไข้เลือดออก (Dengue Fever) คือ โรคระบาดประจำฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่มียุงลายชุกชุม โดยในปี 2556 นั้น มีผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกมากถึง 142,925 ราย! และในปี 2563 นี้ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 5 พฤษภาคม มีผู้ป่วยจากไข้เลือดออกถึง 10,938 ราย เข้าไปแล้ว ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยโควิด-19 ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว!! เรียกได้ว่าเป็นโรคที่น่ากลัว และอันตรายมากเลยทีเดียว งั้นมาดูกันดีกว่าว่า เราจะสามารถเตรียมพร้อมรับมือ กับโรคร้ายนี้ได้ยังไงบ้าง?

– 9 สัญญาณ อาการไข้เลือดออก เช็คให้เป็น ป้องกันตัวเองให้ดี!
– โรคไข้เลือดออก ระบาดหน้าฝน เตรียมลูกให้พร้อม
– วิธีเสริมภูมิคุ้มกันในฤดูฝน ให้ห่างไกลหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นไข้!

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

สาเหตุของโรค ไข้เลือดออก เกิดจากอะไร?

โรคนี้มียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค โดยเกิดจากเชื้อไข้เลือดออกซึ่งเป็นไวรัสมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ เดงกี (Dengue) กับ ชิกุนคุนยา (Chigunkunya)

  • ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีสาเหตุจากเชื้อเดงกี
  • ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีสาเหตุจากเชื้อชิกุนคุนยา ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรงเท่าเชื้อไวรัสเดงกี
  • เชื้อไวรัสเดงกีแบ่งออกได้เป็น 4 สายพันธุ์ DEN-1, DEN-2, DEN-3, DEN-4

ไข้เลือดออก ติดต่อได้อย่างไร?

ตัวการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกนี้ คือ ยุงลาย โดยยุงลายจะเป็นพาหะนำโรคจากการกัดคนที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออกแล้วไปกัดคนปกติแล้วถ่ายทอดเชื้อไปสู่คนปกติได้ โดยส่วนใหญ่เป็นยุงลายบ้านที่มีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ในภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นในบ้าน และรอบบ้าน เช่น อ่างเก็บน้ำ โอ่งน้ำ กระถางต้นไม้ หรือแม้แต่น้ำขังตามพื้น เป็นต้น

ไข้เลือดออก จึงไม่ใช่โรคติดต่อโดยตรงจากคนสู่คนเหมือนไข้หวัด วิธีเดียวที่ไข้เลือดออกสามารถติดจากคนสู่คนได้ คือการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกผ่านการคลอดตามธรรมชาติ โดยลูกสัมผัสกับเลือดของมารดาระหว่างการคลอด

ผู้ป่วยไข้เลือดออก มักเป็นกลุ่มไหน?

ผู้ป่วยโรคนี้พบได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี และ 15-19 ปี ภูมิภาคที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ระยอง ชัยภูมิ อ่างทอง ขอนแก่น และ นครราชสีมา

อาการของผู้ป่วย ไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 : ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน

แม้กินยาลดไข้ หรือเช็ดตัวแล้วไข้ก็ยังไม่ลดลง เนื้อตัวและใบหน้า มักจะแดงกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือมีผื่นขึ้น มีอาการคลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนังร่วมด้วย เช่น มีจุด หรือมีเลือดกำเดาออก

ไข้เลือดออก

ระยะที่ 2 : ระยะช็อก / ระยะวิกฤต มีเลือดออก

มักจะพบในไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเดงกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 อาการจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 3 – 7 ของโรค ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤติของโรค

ระยะนี้อาการไข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการไม่สบาย เช่น

  • มีอาการปวดท้อง และอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น
  • กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น
  • เหงื่อออก ปัสสาวะออกน้อย
  • ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว และความดันตํ่า ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อก

ถ้าเป็นรุนแรงผู้ป่วยอาจมีอาการไม่ค่อยรู้สึกตัว หากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีก็อาจเสียชีวิตได้ภายใน 1-2 วัน

นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจํ้าเขียวพรายยํ้าขึ้น) เลือดกำ เดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสด ๆ หรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด ๆ ถ้าเลือดออกมักทำให้เกิดภาวะช็อกรุนแรงถึงเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โดยระยะที่ 2 นี้ จะกินเวลาประมาณ24-27 ชั่วโมง ถ้าหากผู้ป่วยสามารถผ่านช่วงวิกฤติไปได้ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3

ระยะที่ 3 : ระยะฟื้นตัว

ในรายที่มีภาวะช็อกไม่รุนแรง เมื่อผ่านช่วงวิกฤติไปแล้ว จะมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกรุนแรง เมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที ก็จะฟื้นตัวสู่สภาพปกติได้

อาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยดีขึ้น คือ ผู้ป่วยจะเริ่มอยากกินอาหาร อาการต่าง ๆ จะกลับคืนสู่สภาพปกติ ระยะนี้อาจกินเวลา 7-10 วัน หลังผ่านระยะที่ 2

ไข้เลือดออก

อาการทางผิวหนังในโรคไข้เลือดออก

อาการทางผิวหนังที่พบในโรคไข้เลือดออก ได้แก่ อาการผิวหนังแดงบริเวณใบหน้า ลำคอ และหน้าอก สามารถพบได้ราว 50-80% ของผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากการที่มีหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว อาการนี้มักพบได้ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกของการเจ็บป่วย

อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวไม่ได้จำเพาะต่อโรคไข้เลือดออกเท่านั้น แต่ยังอาจพบในโรคการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น และแบคทีเรียบางชนิดได้ เช่น ไข้ดำแดง

ผื่นอีกชนิดหนึ่งของโรคไข้เลือดออก นั่นคือ ผื่นปื้นแดงคล้ายหัด ผื่นชนิดนี้จะพบได้ราว 3-5 วัน ภายหลังจากผื่นชนิดแรกหายไป ผื่นชนิดนี้มักเริ่มที่หลังมือ หลังเท้า ซึ่งกระจายไปยังแขน ขา และลำตัวในภายหลัง (แต่มักไม่พบที่บริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า)

ภายหลังผื่นหายจะกลายเป็นผิวปกติ ไม่ค่อยทิ้งรอยดำหรือแผลเป็น อาจพบอาการผิวหนังลอกเป็นขุยได้

อาการทางเยื่อบุ เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุในช่องปาก มักพบในไข้เดงกี่ชนิดเลือดออก และไข้เดงกี่ช็อคมากกว่าไข้เด็งกี่ธรรมดา อาการที่พบได้แก่ ตาแดงที่เยื่อบุตาขาวและบริเวณตาขาว อาจพบตุ่มน้ำ และรอยถลอกที่เพดานปาก รวมทั้งอาการแดง และแห้งเป็นขุยที่ลิ้นและริมฝีปาก

สำหรับการรักษา ยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับอาการทางผิวหนัง หากผู้ป่วยมีอาการคัน อาจรักษาด้วยการใช้ยาแก้คันชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการคันได้

ภาวะแทรกซ้อนในโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรครุนแรง แต่ก็มีโอกาสรักษาให้หายได้สูง หากได้รับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 50% ซึ่งมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น

  • เลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ
  • เกิดภาวะช็อก
  • อาจทำให้เกิดภาวะตับวาย มีอาการดีซ่าน
  • มีภาวะน้ำเกินในร่างกาย จนเกิดมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้องมากเกินไป ทำให้หอบ หายใจลำบาก
  • อาจทำให้เป็นปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ สมองอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแทรกซ้อนได้

ไข้เลือดออก มีวิธีการรักษาอย่างไร?

ในปัจจุบัน ยังไม่มียาสำหรับรักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงโรคนี้ก็จะหายได้เอง การรักษาจึงมักเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ

  • หากมีไข้สูง โดยไม่มีอาการไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูกไหลร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หรือช่วงที่โรคไข้เลือดออกระบาด
  • นอนพักผ่อนมาก ๆ ในที่อากาศถ่ายเทดี
  • ดื่มน้ำมาก ๆ จนปัสสาวะออกมากและใส โดยอาจเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำอัดลมที่เขย่าฟองออกแล้ว หรือผงละลายเกลือแร่ก็ได้ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำจากไข้สูง และจากการรั่วของน้ำออกนอกหลอดเลือด
  • ห้กินยาลดไข้ พาราเซตามอล
    • ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 1 เม็ด
    • เด็กโต กินครั้งละ ครึ่ง – 1 เม็ด หรือตามแพทย์สั่ง
    • เด็กเล็ก ใช้ชนิดนํ้าเชื่อม กินครั้งละ 1-2 ช้อนชา (ดูขนาดตามฉลากยา)
    • ห้ามกินยากลุ่มแอสไพริน หรือยาลดไข้อื่นๆ เป็นอันขาด
  • กินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย ถ้าอาเจียน ควรดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดทุกชนิด และหลีกเลี่ยงอาหาร หรือน้ำที่มีสีดำ สีน้ำตาล หรือสีแดง เพราะหากผู้ป่วยอาเจียน อาจทำให้สับสนกับภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่นโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาสเตียรอยด์ และยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
  • หากมีไข้สูง ให้ดูแลเช็ดตัวลดไข้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันภาวะช็อก

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

1. การป้องกันที่สำคัญในปัจจุบันอยู่ที่การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น

  • ปิดฝาโอ่งนํ้า
  • เปลี่ยนนํ้าในแจกันทุก 7 – 10 วัน
  • จานรองตู้กับข้าว ควรใส่นํ้าเดือดลงไปทุก 10 วัน
  • ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า ๆ หรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังนํ้า
    ในบริเวณบ้าน โรงเรียน และแหล่งชุมชน ทำลายหรือฝังดินให้หมด
  • ปรับพื้นบ้าน และสนามอย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อที่มีนํ้าขังได้

2. เด็กที่นอนกลางวันควรกางมุ้ง หรือทายากันยุงเพื่อป้องกันยุงกัด
3. การใช้กลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม เป็นต้น

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก กับ โควิด-19

ไข้เลือดออก

ในขณะที่หลายคนกำลังตื่นตระหนกกับการระบาดหนักของโรค Covid-19 อยู่นั้น ไข้เลือดออก ก็กำลังระบาดมาแบบเงียบ ๆ โดยทิ้งแซงโควิดไปถึง 3 เท่าตัว! เมื่อเทียบกับสถิติที่กรมควบคุมโรคเปิดเผยมาในครึ่งปีแรกของปี 2563 ดังนี้

  • มีผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออก มากถึง 10,938 ราย เสียชีวิตแล้ว 9 ราย (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ถึง 5 พฤษภาคม 2563)
  • ในขณะที่ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อยู่ที่ 3,017 ราย เสียชีวิตไป 56 ราย (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม ถึง 12 พฤษภาคม 2563)

โดย กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 261 “เตือนประชาชนช่วงนี้มีพายุฤดูร้อน ทำให้ฝนตกหลายพื้นที่ อาจมีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ขอให้ทุกคนร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ดังกล่าว เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก”

ฉะนั้น รู้ป้องกันโรคโควิด-19 กันแล้ว ก็อย่าลืมรู้ป้องกันโรคไข้เลือดออกกันด้วยนะ ด้วยหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1. เก็บบ้านให้สะอาด 2. เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน และ 3. เก็บน้ำ

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

อ้างอิง : 1. ddc.moph.go.th 2. medparkhospital 3. srinagarind.md.kku.ac.th 4. https://med.mahidol.ac.th

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save