รู้แล้วต้องแชร์ อย่าให้เสียสิทธิ์! หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเจอผลข้างเคียง สามารถยื่นเรื่อง ‘เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด’ จาก สปสช. ได้เลยทันที! เรื่องนี้จะมีเงื่อนไขอย่างไร ใครมีสิทธิ์บ้าง ต้องยื่นคำร้องทางไหน? มาติดตามไปกับ Ged Good Life ได้เลย แล้วอย่าลืมบอกต่อเพื่อน ๆ กันด้วยนะ
– วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ
– วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา ต่างกันยังไง ยี่ห้อไหนผลข้างเคียงน้อยกว่า ?
– ป่วยไมเกรน ฉีดวัคซีนโควิด ได้ไหม? ต้องหยุดยาก่อนฉีด รึเปล่า? โดย สมาคมประสาทฯ
สปสช.ย้ำ เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด ยื่นขอได้เลย ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าเกิดจากวัคซีนหรือไม่
สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ย้ำ ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิต ให้ยื่นขอรับเงินเยียวยาได้เลย
ย้ำเป็นหลักการเยียวยาเบื้องต้น ไม่พิสูจน์ถูกผิดว่าสาเหตุเกิดจากวัคซีนหรือไม่ แต่ช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบ ชี้! อย่าเพิ่งตัดสินใจเอาเองว่าจะได้รับชดเชยหรือไม่ ให้อนุกรรมการ สปสช. เป็นคนพิจารณาให้
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า…
ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.2564 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะเริ่มระดมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมประชากร 50 ล้านคน หรือ 70% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะมีผู้มีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน
ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่กลุ่มดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นใจว่าประชาชนจะได้รับการดูแล และ สปสช.ก็ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์วิธีการการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว
ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ ฯลฯ มีสิทธิยื่นขอเงินชดเชย หรือไม่?
นพ.จเด็จ กล่าวว่า “การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ที่เป็นความเสียหายจากการรับวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมคนไทยทุกสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ ฯลฯ
อย่างไรก็ดี วัคซีนที่ฉีดนั้น ต้องเป็นวัคซีนตามแผนงานโครงการที่รัฐจัดให้ฟรี และขอย้ำว่า การช่วยเหลือเบื้องต้นนี้ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้โดยโรงพยาบาลเอกชน และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น”
ผลข้างเคียง แบบไหนถึงจะยื่นขอชดเชยได้?
สปสช. กล่าวว่า “ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าอาการใดสามารถยื่นได้ หรืออาการใดยื่นไม่ได้ แต่หากผู้เข้ารับวัคซีนมีความสงสัยว่า หลังฉีดแล้วมีอาการข้างเคียงที่คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ก็สามารถยื่นเรื่องมาได้ตลอด”
เลขาฯ สปสช. ยืนยันอีกว่า หากคุณไม่แน่ใจว่าใช่อาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนโควิด-19 จริงหรือไม่ ให้ติดต่อแพทย์แล้วส่งเรื่องมาก่อนได้เลย โดยตลอดที่ผ่านมา การดำเนินการเบื้องต้นอาการมีตั้งแต่เป็นไข้, ปวดแผล หรือชา หรือบางรายต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล
หากเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน ต้องรอผลการชันสูตรศพหรือไม่ ยื่นเรื่องขอเงินชดเชยได้เลยหรือเปล่า?
นพ.จเด็จ กล่าวว่า “เมื่อใดที่ไปฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการข้างเคียง หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต แต่แพทย์จะระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเรื่องอื่น แต่ถ้าสงสัยว่าจะเกี่ยวกับวัคซีน ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเข้ามาได้เลย ไม่ต้องรอผลการชันสูตรอะไรทั้งสิ้น
สปสช.จะมีคณะอนุกรรมการทั้ง 13 เขตทั่วประเทศดำเนินการพิจารณาเรื่องเงินเยียวยาให้ และจ่ายเงินภายใน 5 วัน หลังมีมติ และแม้ว่าต่อมาจะพิสูจน์ได้ว่าการเสียชีวิต หรือเจ็บป่วยไม่ได้มาจากวัคซีน ก็จะไม่มีการเรียกเงินคืนแต่อย่างใด
คณะอนุกรรมการจะพิจารณาโดยใช้ความเชี่ยวชาญของความเป็นแพทย์ ดูจากประวัติ จากข้อมูลต่าง ๆ บางครั้งจะเห็นว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวแล้วไปฉีดวัคซีนแล้วเสียชีวิต เป็นไปได้ว่าวัคซีนไปทำให้โรคประจำตัวกำเริบได้
ดังนั้นทุกกรณีที่สงสัย ขอให้ส่งเรื่องมายังอนุกรรมการ การที่แพทย์บอกว่าไม่เกี่ยวกับวัคซีน ไม่ได้เป็นการตัดสินว่าจะไม่จ่ายเงินชดเชย เพราะคณะอนุกรรมการเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจ่ายเงินชดเชย ไม่ใช่คุณหมอหน้างาน หรือใครก็ตามที่พูด
รวมทั้งกรณีการเจ็บป่วยต่อเนื่องต่าง ๆ อย่าเพิ่งไปวินิจฉัยหรือตัดสินเอาเองว่าจะได้ หรือไม่ได้ ถ้าสงสัยว่าเกี่ยวกับวัคซีนให้ยื่นเรื่องเข้ามาตามกระบวนการก่อน”
เกณฑ์การจ่ายเงินคุ้มครองคนไทย 3 กลุ่ม จากผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนโควิด-19
กลุ่มที่จะได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หากได้รับผลข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กรณี บาดเจ็บ – เจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 1 แสนบาท
กลุ่มที่ 2 กรณี เสียอวัยวะ – พิการ จ่ายไม่เกิน 2.4 แสนบาท
กลุ่มที่ 3 กรณี เสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง
1. ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท
2. กรณีไม่มีทายาท ผู้อุปการะที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล หรือดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ สามารถยื่นคำร้องแทนได้
เอกสารประกอบคำร้อง
1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาใบมรณบัตรของผู้รับบริการกรณีที่เสียชีวิต
3. ความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษา และการหยุดพักงาน
3 สถานที่ สำหรับยื่นคำร้อง
ช่องทางที่ 1 โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด
ช่องทางที่ 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ช่องทางที่ 3 สำนักงานสปสช. ทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ
ระยะเวลาในการพิจารณาจ่ายเงิน
จ่ายเงินช่วยเหลือภายใน 5 วัน หลังมีมติจากอนุกรรมการฯ
– ดาวน์โหลดแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจาก สปสช. -> ที่นี่
– สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. โทร. 1330
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok : @gedgoodlife