ธาตุเหล็ก (Iron) เป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับคนท้อง คนท้องจะต้องการธาตุเหล็กเพิ่มมากขึ้นกว่าคนปกติ แต่หลายคนก็ยังไม่แน่ใจว่า ตัวเองได้รับธาตุเหล็กเพียงพอไหม ? ธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง จะเริ่มเตรียมตัวเสริมได้เมื่อไหร่ เพราะได้รับมากไป น้อยไปก็อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
ธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง ดีต่อลูกมีประโยชน์กับแม่
- เพื่อช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงในขณะตั้งครรภ์
- ป้องกันภาวะโลหิตจางของคนท้อง ระหว่างตั้งครรภ์
- จำเป็นในการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์ และรก
ปริมาณธาตุเหล็ก สำหรับแม่ตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ ความต้องการธาตุเหล็กจะมีเพิ่มมากขึ้น โดยคนท้องต้องการธาตุเหล็ก ตลอดการตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม
- ใช้ในการสร้างเม็ดเลือดของแม่ 500 มิลลิกรัม
- สูญเสียไปในระบบขับถ่ายตามปกติ 200 มิลลิกรัม
- ส่งไปให้ทารก และรกในครรภ์ 300 มิลลิกรัม
ดังนั้น คนท้องต้องการธาตุเหล็กในปริมาณ 6-7 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งในอาหารที่รับประทานทุกวัน มีปริมาณเพียง 1-2 มิลลิกรัมเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการ คนท้อง หญิงตั้งครรภ์ จึงอาจจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กเพิ่มในรูปของ ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
ปริมาณธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง กินเท่าไหร่ดี ?
เมื่อไปฝากครรภ์ คุณหมอจะทำการตรวจดูความเข้มข้นของเลือดด้วย โดยถ้าพบว่าคุณแม่มีภาวะโลหิตจาง หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโลหิตจาง ก็อาจจะให้วิตามินธาตุเหล็กมาเสริม หรือป้องกันไว้ก่อน
โดยในแต่ละวัน แม่ตั้งครรภ์ควรได้รับส่วนประกอบของธาตุเหล็กชนิด ferrous fumarate อย่างน้อยวันละ 200 มิลลิกรัม เพื่อที่จะได้ธาตุเหล็กที่เพียงพอ คือ วันละ 7 มิลลิกรัม
ช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความต้องการธาตุเหล็กยังมีน้อยอยู่ ประกอบกับเป็นช่วงที่มีอาการแพ้ท้อง ถ้าฝากครรภ์ ตรวจร่างกายแล้ว ไม่มีความเสี่ยงของภาวะโลหิตจาง คุณหมออาจจะให้ยาเสริมธาตุเหล็กในปริมาณไม่สูงในช่วงนี้ หรือให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงแทน เช่น เนื้อสัตว์ ตับ กุ้ง หอย เพราะยาเสริมธาตุเหล็กอาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ได้บ้าง
ช่วงไตรมาสแรก หรือ เมื่อไปฝากครรภ์ครั้งแรก
- ไม่มีภาวะโลหิตจาง เสริมธาตุเหล็ก หรือ Ferrous fumarate 60-120 มก./วัน
- มีภาวะโลหิตจาง ควรได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก หรือ Ferrous fumarate 200 มก./วัน
ช่วงไตรมาสที่ 2-3
- ไม่มีภาวะโลหิตจาง ควรได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก หรือ Ferrous fumarate 200 มก./วัน
- มีภาวะโลหิตจาง ควรได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก หรือ Ferrous fumarate 200 มก./วัน
ธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง เริ่มกินตอนไหนดี?
หากวางแผนตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาสมอง และระบบประสาทของทารก ซึ่งหากได้รับธาตุเหล็ก โฟลิก จะช่วยให้ทารก คลอดอย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิด โดยอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เลือด ตับ ปลา กุ้ง หอย ไข่แดง เป็นต้น
หลังจากช่วงไตรมาสแรก ควรได้รับวิตามินคนท้อง ยาเสริมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ ป้องกันภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์
5 อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง คลิก
อาการข้างเคียงเมื่อเสริมธาตุเหล็ก
ถึงแม้จะเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงได้ ซึ่งโดยทั่วไปไม่มีอันตราย หากรับประทานในปริมาณที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ โดยผลข้างเคียงหากได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป ได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย
- อุจจาระเป็นสีดำ เพราะธาตุเหล็กถูกขับถ่ายออกมา ไม่ได้ถูกดูดซึม ถือว่าปกติ สามารถรับประทานต่อได้
ทิปส์ : สำหรับการใช้ยาเสริมธาตุเหล็ก
- กินก่อนอาหาร อย่างน้อย 30 นาที
- หากมีอาการเช่น คลื่นไส้ อาเจียน หลังกินยา ควรเปลี่ยนมากินยาเสริมธาตุเหล็ก หลังอาหาร 30 นาที หรือหลังอาหารทันที หรือกินก่อนนอน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าว
- ถ้าหายจากอาการแพ้ ให้ปรับเวลาการกิน เป็นก่อนอาหาร
- ธาตุเหล็ก จากสัตว์ เช่น เนื้อแดง เลือด ตับ ดูดซึมได้ดีกว่าธาตุเหล็กจากผัก
- อาหารบางชนิดขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น นม ชา กาแฟ ไข่แดง ข้าวโพด ลูกเดือย เม็ดแมงลัก หรือ อาหารเส้นใยสูง จะไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก จึงไม่ควรรับประทานร่วมกันกับ ยาเสริมธาตุเหล็ก ควรรับประทานห่างกัน 2 ชั่วโมง
- ยาเสริมธาตุเหล็ก มีปฎิกิริยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี