9 อาการป่วยเรื้อรังจากภูมิแพ้อากาศ ที่ชาวภูมิแพ้อาจคาดไม่ถึง!

3 ก.ค. 24

อาการป่วยเรื้อรังจากภูมิแพ้อากาศ

 

รู้หรือไม่?! ในโลกนี้มีผู้ป่วย “โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้” หรือที่เรียกกันว่า ภูมิแพ้อากาศ ถึง 400 ล้านคนทั่วโลก ส่วนในไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ถึง 10-15 ล้านคนเลยทีเดียว! และโรคภูมิแพ้อากาศนี้สามารถนำพาอาการเรื้อรังต่าง ๆ มาสู่เราได้หลายอาการเลยทีเดียว บทความนี้ GED good life จะพาไปดูว่า ” 9 อาการป่วยเรื้อรังจากภูมิแพ้อากาศ” ที่ผู้ป่วยภูมิแพ้อาจคาดไม่ถึง จะมีอะไรบ้าง และควรป้องกันอย่างไร…

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

9 อาการป่วยเรื้อรังจากภูมิแพ้อากาศ

1. มีกลิ่นปากแรง (Bad smell)

สาเหตุเกิดจากจมูกบวมจนทำให้น้ำมูก หรือเมือกในช่องจมูก ไม่สามารถไหลออกมาทางจมูกภายนอกได้ เมื่อน้ำมูกค้างอยู่และติดอยู่หลังคอเป็นระยะเวลานาน ก็จะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นภายในปาก นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่หายใจทางปากเป็นประจำ จะทำให้น้ำลาย ซึ่งมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียลดน้อยลง ทำให้แบคทีเรียมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นในช่องปาก เกิดกลิ่นปาก คอแห้ง ปากแห้ง และเจ็บคอเรื้อรังได้

2. มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย (Bloating)

อาการคล้ายกับกรดไหลย้อน ซึ่งคิด ๆ แล้วก็ไม่น่าเกี่ยวกับภูมิแพ้จมูกสักเท่าไหร่ ใช่ไหม? แต่ในความจริงแล้ว เมื่อจมูกบวมตัน หรือน้ำมูกเหนียวจนจมูกตัน ก็จะทำให้ผู้ป่วยภูมิแพ้เผลอหายใจทางปากโดยไม่รู้ตัว และอาการมักเป็นมากตอนกลางคืน ซึ่งการหายใจทางปากนี่แหละ ทำให้ลมเข้าท้องเยอะ จึงเป็นสาเหตุของอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแม้จะเลอหรือผายลมก็อาจจะยังไม่หมด

3. เพลียง่าย หรือหลับง่ายในเวลากลางวัน (Drowsiness)

ชาวภูมิแพ้ ที่มีอาการ มึน ๆ เพลีย ๆ เวลากลางวันเป็นประจำ เป็นเพราะว่า ร่างกายต้องต่อสู้กับสารฮิสตามีนที่ถูกปล่อยออกมาเกินปกติ และอีกสาเหตุก็เกิดจากจมูกบวมตัน จนหายใจลำบากในตอนกลางคืน จึงทำให้นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นมาก็จะเพลีย ๆ พอกลางวันเริ่มหมดแรง จึงต้องงีบหลับเป็นประจำ

4. ไอเรื้อรัง (Chronic cough)

หลายคนคงสงสัยว่าอาการไอทำไมต้องกินยาแก้แพ้ ทำไมไม่กิน ยาแก้ไอ อย่างเดียว นั่นก็เพราะว่า ผู้ป่วยภูมิแพ้มักมีอาการไอที่เกิดจากน้ำมูกไหลลงคอ จึงทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะในคอ หรือกระแอมบ่อย บางรายอาจรู้สึกว่ามีอะไรติด ๆ อยู่ในลำคอได้

5. มุมปากอักเสบเรื้อรัง (Cheilitis)

สาเหตุก็เหมือน ๆ กันกับข้อข้างบน คือ เกิดจากภูมิแพ้ จมูกบวมตัน แล้วผู้ป่วยหายใจจากทางปาก นอนอ้าปาก ทำให้ริมฝีปากแห้ง แตก และอักเสบ ส่วนผู้ป่วยที่นอนแล้วมีน้ำลายไหลออกมาขณะหลับ ก็ยิ่งทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณรอบปากเพิ่มขึ้นไปอีก พอริมฝีปากแห้ง แล้วเอาลิ้นไปเลียริมฝีปากบ่อย ๆ ยิ่งเพิ่มอาการอักเสบให้กับริมฝีปาก

6. มีอาการผิดปกติทางหู และเสียการทรงตัว (Ear pain & loss of balance)

ภูมิแพ้อากาศทำให้เกิดอาการผิดปกติทางหูได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะ เวลาเยื่อจมูกบวมมาก ๆ ไม่ว่าจะข้างเดียว หรือสองข้างก็ตาม อาจลามไปถึงเยื่อบุรอบ ๆ ท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) หรือ ท่อปรับแรงดันหู ที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก เมื่อท่อนี้เกิดอาการบวม ผิดปกติ ทำให้มีอาการหูอื้อ, เสียงดังในหู และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตของแบคทีเรีย และไวรัส ทำให้เกิดการติดเชื้อจนกลายเป็น โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) ตามมา และอาการผิดปกติทางหู ทำให้สูญเสียการทรงตัวได้เช่นกัน

7. อาการปวดศีรษะเรื้อรัง (chronic daily headache)

มีสาเหตุมาจากเยื่อบุจมูกบวมมาก จนกระทบไปถึงโพรงไซนัสทำงานผิดปกติ ทำให้มีอาการปวดบริเวณตำแหน่งของโพรงไซนัสได้ เช่น ปวดบริเวณหัวตา, ปวดบริเวณหน้าผาก การทดสอบง่าย ๆ คือ ให้กดข้างจมูกทีละข้าง แล้วลองหายใจเข้าออกเบา ๆ ทำสลับกันข้างละ 10-20 วินาที ถ้ารู้สึกข้างใดหายใจอึดอัด แสดงว่าจมูกข้างนั้นบวมมาก

อ่านเพิ่มเติม -> ไซนัสคืออะไร? ไซนัสอักเสบ มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษาอย่างไร?

8. หอบเหนื่อยง่าย (Panting)

เวลาจมูกบวมมาก ๆ โดยที่ผู้ป่วยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม จะมีอาการหายใจไม่สะดวกเหนื่อยง่าย หายใจไม่สุด หรือหายใจไม่ทั่วท้อง (คล้าย ๆ กับอาการของโรคหืด) บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคหืด พ่นยาก็ไม่หาย สุดท้ายไปพบแพทย์ส่องกล้องที่จมูก ถึงได้ทราบว่าเป็นภูมิแพ้จมูก

9. ตาดำคล้ำ (Dark circle under eyes)

ขอบตาดำคล้ำจากภูมิแพ้ เกิดจากร่างกายปล่อยสารฮีสตามีนออกมามาก เมื่อสารนี้ออกมาเยอะ ร่างกายจึงต้องเอาหลอดเลือดไปเลี้ยงเยอะ และหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเป็นหลอดเลือดดำ จึงทำให้เกิดขอบตาดำคล้ำ หากทิ้งไว้นาน อาจทำให้มีขอบตาดำถาวร

อาการป่วยเรื้อรังจากภูมิแพ้อากาศ

ป่วยภูมิแพ้บ่อย ต้องจัดการที่สาเหตุ และใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศ จำเป็นต้องสังเกตตัวเองว่าแพ้อากาศลักษณะไหน และหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้น เพื่อไม่ให้อาการภูมิแพ้กำเริบ

โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ป่วยภูมิแพ้อากาศ มีดังนี้

  • ภาวะมลพิษ โดยเฉพาะ ฝุ่นPM2.5 ควันบุหรี่ ควันรถ เป็นต้น
  • แพ้อากาศเย็น อากาศเปลี่ยน โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือเปิดพัดลม เปิดเครื่องปรับอากาศจ่อตัว
  • ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เกสรละอองหญ้า

หากมีอาการแพ้อากาศ สามารถเลือกใช้ ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง (หรือง่วงน้อย) ที่มีส่วนผสมของตัวยาลอราทาดีน (Loratadine) เพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม เป็นต้น แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าควรใช้อย่างไรดี แนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา

 

อ้างอิง : 1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2. คลินิกภูมิแพ้ 3. hhcthailand 4. National Library of Medicine

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save