4 โรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง?

28 มิ.ย. 24

โรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย

 

บทความนี้ GED good life จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 4 โรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย จะมีอะไรบ้าง และแตกต่างกันยังไง ซึ่งโรคภูมิแพ้ผิวหนังนี้ จะมีตั้งแต่อาการตั้งแต่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงมีตุ่มน้ำเหลือง ผิวลอกทั้งตัวได้ ส่งผลกะทบต่อคุณภาพชีวิตมากทีเดียว หากใครอยากรู้แล้วอย่ารอช้า มาติดตามกันต่อเลย!

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

4 โรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย

คนที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนังมักมีผิวแห้ง มีอาการคันง่าย จึงมักเกาจนเป็นแผลที่ผิวหนัง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ปัจจุบันแม้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดสนิท แต่ก็ถือว่าแนวทางทางการแพทย์สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ โรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย มีดังนี้

1. ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)

คือ ภูมิแพ้ผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับสารก่อระคายเคือง หรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น เครื่องสำอาง น้ำหอม น้ำยาย้อมผม สารฟลูออไรด์ในยาสีฟัน ทรายแมว สิ่งสกปรกต่าง ๆ เป็นต้น โดยทั่วไปจะแสดงอาการภายใน 1-7 วัน

อาการ – ลักษณะของผื่นจะคล้ายทรายละเอียด และต่อมาอาจจะลอกเมื่อเป็นนาน ๆ จะมีผื่นหนา และมีสีคล้ำขึ้น มีอาการคันมาก ถ้ามีอาการแพ้มากขึ้นก็จะมีน้ำเหลืองซึมออกมา รอยโรคจะเกิดบริเวณที่สัมผัสกับสารที่แพ้ และอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน

อ่านเพิ่มเติม -> ผื่นแพ้สัมผัส สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

2. โรคลมพิษ (Urticaria)

เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเมื่อร่างกายมีปฎิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ ร่างกายปล่อยสาร “ฮีสตามีน (Histamine)” และสารอื่น ๆ เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว มีพลาสมา หรือน้ำเลือดซึมออกมาในผิวหนัง จนทำให้เกิดผื่นนูนแดงที่ผิวหนังขึ้นผื่น ผื่นลมพิษขึ้นได้ทั้งร่างกาย แขน ขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี อาการมักอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ก็อาจมีผื่นลมพิษขึ้นมาใหม่อีกได้

อาการ – ผื่นลมพิษจะมีลักษณะวงนูนแดง ขนาด และรูปร่างต่างกัน เช่น วงกลม วงรี วงหยัก ไม่มีขุย เนื้อภายในวงจะนูน และซีดกว่าขอบเล็กน้อย มีอาการคัน มีไข้ร่วมด้วย

อ่านเพิ่มเติม -> โรคลมพิษ คันยิก ๆ รักษายังไงดี?

3. ผื่นภูมิแพ้ (Atopic dermatitis)

เป็นโรคที่มีการอักเสบของผิวหนังอย่างเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ โดยโรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก แต่สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน มักเกิดร่วมกับภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด แพ้อากาศ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุ์เข้าไปเกี่ยวข้องโดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น

อาการ – ผิวหนังแห้งอักเสบ และมีอาการคัน ซึ่งมักคันมากตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังอาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง มีน้ำเหลืองไหล หากมีการติดเชื้อร่วมด้วย

อ่านเพิ่มเติม -> โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ทำไงให้หายเสียที!? สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

4. ผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา (Cutaneous drug eruption)

อาการไม่พึงประสงค์จากการแพ้ยาที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับระบบผิวหนัง รวมทั้ง ผม ขน เล็บ และเยื่อบุ อาการดังกล่าวไม่สามารถคาดเดาได้ และสามารถเกิดขึ้นแม้จะได้รับยาขนาดปกติ หรือไม่จำเป็นต้องได้รับในขนาดสูงก็สามารถเกิดผื่นแพ้ยาได้ การหยุดยาที่สงสัยแล้วทำให้อาการของผื่นดีขึ้น และ/หรือเกิดขึ้นอีกหากมีการใช้ยาซ้ำ

อาการ – มีลักษณะเป็นผื่นขอบนูนแดง มีขอบเขตไม่ชัดเจน พบตามลำตัว แขน ขา มักพบอาการคันร่วมด้วย ในระยะนี้ผื่นมีขนาดเล็ก แล้วจะค่อย ๆ ขยายออก มีขอบยกนูนที่ชัดเจนตรงกลางผื่นจะมีสีซีดจาง มักมีรูปร่างไม่แน่นอน ผื่นแพ้ยาลักษณะนี้สามารถเกิดอาการหลังจากได้รับยาประมาณ 5 นาที – 1 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม… อาการผดผื่นคัน มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ผื่นที่เกิดหลังจากเป็นไข้ หรืออากาศร้อนจัด อีสุกอีใส ยุงกัด อาหารเป็นพิษ โรคประจำตัวอื่น ๆ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องเกิดจากภูมิแพ้ผิวหนังเสมอไป เมื่อมีอาการจึงควรหาสาเหตุ หรือพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

โรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบบ่อย

เราจะป้องกัน และรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้อย่างไร ?

ต้องเข้าใจว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ เป้าหมายของการรักษาโรคนี้จึงเป็นการควบคุมอาการต่าง ๆ ของโรค ป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ และอยู่ในช่วงสงบนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร หรือสิ่งที่เราแพ้
  • หลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด หรือหนาวจัด และไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด สารเคมี
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย เช่น ไข่ นมวัว แป้งสาลี อาหารทะเล
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
  • หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง

ส่วนการรักษาผื่นภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับระยะ และความรุนแรงของโรค

  • ระยะเฉียบพลัน มีตุ่มน้ำ และน้ำเหลือง ควรใช้ผ้าพันแผลชุบน้ำเกลือที่สะอาดประคบแผลให้น้ำเหลืองแห้งก่อนจึงตามด้วยการทายา ยาที่ได้ผลเร็วคือยาสเตียรอยด์ เมื่อผื่นหายแล้วต้องหยุดยา ไม่ควรซื้อยาสเตียรอยด์มาทานเอง เพราะจะมีผลข้างเคียงในระยะยาว
  • ระยะผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ควรใช้ยาที่ไม่มีสเตียรอยด์ทา และทานยาต้านฮีสตามีนอาจช่วยลดอาการคัน
  • ระยะที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยาสเตียรอยด์ หรือฉายแสงอัลตราไวโอเลต ที่เรียกว่า Phototherapy ซึ่งช่วยกดภูมิในร่างกาย ไม่ให้ไวต่อสิ่งแวดล้อม และผลข้างเคียงน้อยกว่าการรับประทานยาสเตียรอยด์

“ลอราทาดีน” ยาแก้แพ้ชนิดใหม่ ไม่ทำให้ง่วงนอน

ยาต้านฮิสตามีน หรือยาแก้แพ้ (Antihistamine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการภูมิแพ้ทางผิวหนัง ในอดีตยาแก้แพ้จะมีอาการข้างเคียงคือ ทำให้ง่วงนอน… แต่ในปัจจุบันมียาแก้แพ้ตัวใหม่ ที่มีชื่อว่า “ลอราทาดีน – Loratadine” ไม่ทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการง่วงนอน (หรืออาจง่วงน้อย) รับประทานเพียงวันละ 1 เม็ด มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยสูง แต่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

อ่านเพิ่มเติมเรื่องยากลอราทาดีน ที่นี่ -> รู้มั้ย ลอราทาดีน คือยาอะไร รักษาอาการอะไรได้บ้าง?

 

อ้างอิง : 1.. bumrungrad 2. bangkokhospital 3. mccormickhospital

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save