วิธีรับมือ “ลูกไอหนักตอนกลางคืน” จนไม่ได้นอน

27 มิ.ย. 24

ลูกไอหนักตอนกลางคืน

 

ตอนกลางวัน ลูกมีอาการปกติดีทุกอย่าง แต่พอตกกลางคืน เข้านอนเมื่อไหร่ ก็เริ่มส่งเสียงไอ บางครั้งไอจนแทบไม่ได้นอนทั้งแม่ทั้งลูก ลูกไอหนักตอนกลางคืน เกิดจากอะไร จะรับมืออย่างไรดี

ทำไมลูกถึงมีอาการ ไอหนักตอนกลางคืน ?

– อากาศกลางคืนเย็นกว่ากลางวัน หากไอหนักตอนกลาง แต่กลางวันปกติไม่มีอาการไอ อาจเป็น เพราะตอนกลางคืน อากาศเย็นกว่าตอนกลางวัน อากาศเย็นทำให้หลอดลมตีบตัวลง จึงมีอาการไอมากขึ้นในตอนกลางคืน

– ห้องนอนอากาศแห้ง ไม่ถ่ายเท ในห้องนอนที่ปิดทึบ การระบายอากาศไม่ดี และยังเปิดแอร์ตลอดด้วย อาจทำให้ลูกมีอาการไอมากขึ้นในตอนกลางคืนเพราะอากาศแห้ง ความชื้นน้อย เวลาหายใจก็อาจก่ออาการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุจมูกได้

– ฝุ่นในห้องนอน เราอาจจะคิดว่าทำความสะอาดห้องนอนดีแล้ว แต่อาจจะยังไม่ดีพอ เพราะฝุ่นสามารถสะสมได้ตามเครื่องนอน หมอน ผ้าห่ม และโดยเฉพาะหากมีตุ๊กตาขนนุ่มต่าง ๆ ในห้องนอน อาจเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง ไรฝุ่น ซึ่งเมื่อลูกนอนในตอนกลางคืน ก็จะหายใจ สูดเอาฝุ่นเข้าไป กระตุ้นให้เกิดอาการไอเพิ่มมากขึ้น

 

วิธีแก้ ลูกไอหนักตอนกลางคืน จนไม่ได้นอน

ใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะ สังเกตว่าหากลูกมีอาการไอแบบมีเสมหะ อาจจะต้องช่วยระบายเสมหะให้ลูกก่อน โดยการให้ลูกจิบน้ำอุ่นเพื่อลดความเข้มข้นเหนียวของเสมหะ งดดื่มน้ำเย็น หรือของทอด ของมัน ที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอ หรือใช้ยาละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอ ที่มีตัวยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine)

ดื่มน้ำอุ่น ละลายเสมหะ นอกจากการใช้ยาละลายเสมหะแล้ว วิธีการที่ดีสำหรับลูกน้อยคือ การดื่มน้ำอุ่น ซึ่งควรให้ลูกจิบน้ำอุ่นเป็นประจำทั้งวัน โดยเฉพาะก่อนนอน เพราะน้ำจะช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการระคายเคือง และละลายเสมหะที่เหนียวข้นได้

ลูกไอหนักตอนกลางคืน

ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ที่ลูกมีอาการไอ โดยเฉพาะไอหนักตอนกลางคืน ส่วนหนึ่งเกิดจากมีน้ำมูกเรื้อรัง และไหลลงจากจมูกสู่ลำคอ ซึ่งหากไม่ระบายน้ำมูก เสมหะเป็นประจำ ปล่อยไว้อาจลุกลามเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ การล้างจมูก ทำได้โดยการใช้น้ำเกลือล้าง (ดูเทคนิคการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ)

ไม่นอนทันทีหลังกินอิ่ม หลังกินอาหารอิ่ม อย่าเพิ่งรีบให้ลูกเข้านอน ควรเว้นระยะอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารเย็น เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดกรดไหลย้อนได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องนอน อาจต้องจัดท่านอนให้ยกหัวสูงขึ้น ไม่นอนราบ

จัดห้องนอนให้อากาศถ่ายเท เด็กหลาย ๆ คนจะมีอาการไอเฉพาะเวลากลางคืน และช่วงเช้าที่อยู่ในห้องนอนเท่านั้น นั่นก็เป็นเพราะ ภายในห้องนอน และที่นอนของเค้ามีฝุ่นสะสมอยู่ ฝุ่นนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบ ดังนั้นคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดห้องนอน ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนทุกสัปดาห์ ที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการวางสิ่งของ หรือตุ๊กตา ใกล้ตัวลูกน้อย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นแหล่งสะสมฝุ่นชั้นดีทีเดียว

ปรับแอร์ไม่ให้เย็นเกินไป ในห้องนอนลูก ตอนกลางคืนไม่ควรเปิดแอร์เย็นเกินไป อาจจะเปิดเพียง 27 องศาเซลเซียสพอ และเปิดโหมดแบบพัดลมแบบสวิง คือ ไม่ให้ลมเป่าที่ตัวลูกโดยตรง หรือ ไม่ควรจัดที่นอนลูกตรงที่แอร์ลงตรง ๆ และถ้าลูกนอนดิ้น หรือ ไม่ชอบห่มผ้ากลางคืน ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงเท้าด้วย เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น

เพิ่มความชื้นในห้องนอน ปกติเมืองไทยอากาศจะชื้น จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับความชื้นในห้องนอน แต่บางครั้งในห้องนอนก็ปิดมิดชิด ไม่ได้เปิดระบายอากาศ ในตอนกลางวันจึงควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ เพิ่มความชื้นด้วย หรือวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยเพิ่มความชื้น คือ เอาน้ำใส่ภาชนะ กะละมังเล็ก ๆ วางไว้ในห้องตอนกลางคืน เพื่อเพิ่มความชื้นในห้องนอน

ลูกไอหนักตอนกลางคืน

ลูกไอหนักตอนกลางคืน เป็นสัญญาณโรคอะไรได้บ้าง ?

1. โรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) กลางวันอาจจะไม่ค่อยมีอาการ แต่กลางคืนจะไอมาก เพราะมีน้ำมูกไหลลงคอกลายเป็นเสมหะในคอ ทำให้ต้องไอเพื่อขับเสมหะออก

2. ภูมิแพ้ (Allergy) ตอนกลางวันไม่มีอาการ อาจเป็นเนื่องจากไม่ได้เจอกับสิ่งที่แพ้ แต่กลางคืนเข้าห้องนอน อยู่บนเตียงนอน อาจมีฝุ่น ไรฝุ่น หรือสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ ที่อยู่ตาม ตุ๊กตา หมอน ผ้าห่ม พรม เมื่อสูดหายใจเข้าไปจึงกระตุ้นให้ไอ หรือหอบจากภูมิแพ้ได้

3. กรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease : GERD) สาเหตุที่ทำให้มีอาการ ไอตอนกลางคืน อาจเกิดจาก กรดที่ไหลย้อน เข้ามาในหลอดอาหารกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติของทางเดินหายใจ ทำให้เกิดหลอดลมหดเกร็งตัว เกิดอาการไอ และที่มีอาการไอตอนกลางคืน อาจเป็นเพราะกินมื้อเย็นแล้วนอนเร็ว เมื่อถึงเวลานอนแล้วอาหารยังย่อยไม่หมด พอไปนอนราบจึงมีโอกาสไหลย้อนขึ้นมาได้ง่ายกว่าเวลาอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม หากลูกมี อาการไอ นอกจากสังเกตว่าลูกไอช่วงเวลาไหนแล้ว ควรสังเกตด้วยว่า มีอาการไอร่วมกับอาการผิดปกติอย่างอื่นอีกไหม เช่น การไอร่วมกับอาการหายใจวี้ด อาจเป็นโรคหืด หรืออาการเหนื่อยเจ็บแน่นหน้าอกอาจเป็นโรคหัวใจล้มเหลว หรืออาการไข้และเสมหะมีเลือด อาจเป็นวัณโรค หรืออาการน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วผิดปกติ และหาก ไอติดต่อกันนานกว่า 3 สัปดาห์ ให้กินยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอแล้วก็ยังไม่หาย ไม่ควรปล่อยไว้ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการไอต่อไป

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save