โรคไอพีดี โรคติดเชื้ออันตรายที่มากับสายฝน

27 มิ.ย. 24

โรคไอพีดี

 

เนื่องจากในฤดูฝนนั้นอากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย มีความชื้นมากทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้ดี หากถูกฝนก็มีโอกาสเจ็บป่วยมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้ง่าย และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคไอพีดี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ชอบมากับหน้าฝน

ทำความรู้จัก โรคไอพีดี

โรคไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease – IPD) หรือ โรคติดเชื้อนิวโมคอกคัส (Invasive Pneumococcal Infection) เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อ นิวโมคอกคัส ที่สามารถติดต่อกันได้ระหว่างคนสู่คน สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่จะพบบ่อยในเด็กเล็ก ที่อายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องมาจากร่างกายยังมีภูมิคุ้มกันน้อย อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิตหรือพิการได้

ตัวเชื้อนิวโมคอคคัสมักพบอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ (เป็นพาหะ) แต่แพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ เพียงการ ไอ จาม สัมผัสสิ่งคัดหลั่ง

ไอพีดี สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ในอวัยวะหลายระบบ ได้แก่
การติดเชื้อในทางเดินหายใจ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อในระบบประสาท

สาเหตุของโรคไอพีดี (IPD)

เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcus) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก มี

อาการป่วยเมื่อติดเชื้อไอพีดี

เริ่มจากเมื่อเชื้อ IPD เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะก่อให้เกิดอาการภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับเชื้อ ซึ่งถือเป็นช่วงเป็นระยะฟักตัวของโรค

อาการของโรคนี้ จะมีอาการไข้เหมือนกับโรคติดเชื้อทั่วไป แต่ถ้าการติดเชื้อรุนแรงลุกลาม ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ คือ

– การติดเชื้อในระบบประสาท ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ซึม อาเจียน คอแข็ง ส่วนในเด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวน กระหม่อมโป่งตึง และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

– การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน เชื้อสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดการช็อค และเสียชีวิตได้

– การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดอักเสบ เด็กมีไข้ ไอ หอบ ถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลว

– การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คือ คออักเสบ หูน้ำหนวก (หรือหูชั้นกลางอักเสบ) และไซนัสอักเสบ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องเชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้

โรคไอพีดี

ตัวอย่าง : ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค IPD

โรคไอพีดี

ตัวอย่าง : ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค IPD

โรคไอพีดี ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

การใช้วัคซีนเป็นวิธีหนึ่งใช้ในการป้องกันโรคได้ ซึ่งแบ่งวัคซีนเป็น 2 ประเภท คือ

1. วัคซีน polyvalent polysaccharide vaccine วัคซีนนี้ไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี จึงแนะนำในเด็กที่อายุ 2 ปีขึ้นไป หรือผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

วัคซีนนี้ฉีดเพียงครั้งเดียว แต่อาจฉีดกระตุ้นอีกครั้งหลังฉีดครั้งแรก 3-5 ปี ประสิทธิภาพของวัคซีนนี้สามารถป้องกันโรคได้ 60-70%

2. วัคซีน pneumococcal conjugate vaccines ใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี หรือเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 4 เข็มที่อายุ 2, 4, 6 และ 12-15 เดือน ถ้าเด็กไม่ได้รับวัคซีนในช่วงอายุดังกล่าว จำนวนครั้งของการได้รับวัคซีน และระยะห่างของวัคซีนขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก

ส่วนทางด้านประสิทธิภาพ จากผลการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าวัคซีนสามารถครอบคลุมเชื้อที่ก่อโรคได้มากกว่า 90% แต่ยังไม่มีผลการศึกษาประสิทธิภาพการครอบคลุมเชื้อของวัคซีนนี้ ในประเทศไทย

วิธีการรักษา โรคไอพีดี

การติดเชื้อนิวโมคอคคัส สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ หูน้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบ สามารถให้ในรูปแบบยารับประทานได้

แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบบลุกลาม (IPD) ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน และให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดพร้อมกับการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องการหายใจ ยากันชัก เป็นต้น

เชื้อนิวโมคอคคัส บางสายพันธุ์มีการดื้อยา ทำให้การรักษาลำบากมากขึ้นและหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้พิการ และเสียชีวิตได้

เด็กกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

  • เด็กที่มีสุขภาพดีอายุน้อยกว่า 2 ปี
  • เด็กที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคตับเรื้อรัง
  • เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี
  • เด็กที่อยู่สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน
  • เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ดูแลลูกอย่างไร ให้ห่างไกลโรคติดเชื้อในหน้าฝน

  • สังเกตอาการไข้เด็กเล็ก อาการไข้ในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักหายได้เอง อย่างไรก็ตามควรเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพราะบางครั้งอาจไม่ใช่ไข้ธรรมดา เพราะหากติดเชื้อไอพีดี เชื้อจะลุกลามอย่างรวดเร็ว และหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ใน 2-3 วัน
  • นมแม่เสริมภูมิคุ้มกัน ควรให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่ายจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุ ต่ำกว่า 2 ปี ควรได้รับวัคซีน เพราะมีความเสี่ยงเมื่อป่วยมากกว่าผู้ใหญ่
  • ไม่พาเด็กเล็กออกไปที่ที่คนเยอะ พ่อแม่พาลูกออกไปนอกบ้านได้บ้าง แต่ไม่ควรพาเด็กเล็กมาก ๆ เบบี๋แรกเกิดออกไปในที่ที่คนเยอะ พลุกพล่านโดยไม่จำเป็น เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก เพราะเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคเยอะ อาจติดเชื้อได้ง่าย
  • ระวังเรื่องอากาศ ถ้าฝนตก หรืออากาศชื้นควรสวมเสื้อผ้าให้ลูกอบอุ่น กลางคืนก็ต้องห่มผ้าให้มิดชิด
  • รีบทำความสะอาดหลังเปียกฝน ถ้าลูกเปียกฝน ให้รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย ทำร่างกายให้อบอุ่น
  • รักษาความสะอาด ข้าวของเครื่องใช้ ล้างมือเป็นประจำ ระวังไม่ให้ลูกเอามือเข้าปาก ขยี้ตา
  • พกแอลกอฮอล์เช็ดมือติดตัว ไว้ทำความสะอาดให้ลูก เมื่ออยู่นอกบ้าน

 

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save