ไอ เสียงแหบนาน อย่าวางใจ! เพราะอาจเป็นอาการของ “มะเร็งกล่องเสียง”

27 มิ.ย. 24

มะเร็งกล่องเสียง

 

แม้ว่า มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal Cancer) จะไม่เป็นที่พูดถึงเท่ากับมะเร็งชนิดอื่น ๆ มากนัก และมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูงกว่า แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังน่ากลัวไม่น้อยไปกว่ามะเร็งชนิดอื่นเลย เพราะมะเร็งกล่องเสียง สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าเป็นการสูญเสียความสามารถในการพูด หรือทานอาหาร…

มาทำความเข้าใจกับโรคมะเร็งกล่องเสียงกันให้ดีกว่านี้อีกสักนิด เพื่อที่จะได้สังเกตว่า คุณมีอาการบ่งชี้เบื้องต้นของ มะเร็งกล่องเสียง อย่าง ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบนานๆ อยู่รึเปล่า

มะเร็งกล่องเสียง คืออะไร?

กล่องเสียง เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการออกเสียง ช่วยในการหายใจ และกลืนอาหาร เมื่อมีเนื้อร้ายอย่าง มะเร็งกล่องเสียง เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่อบุผิวของกล่องเสียง จึงทำให้กล่องเสียงไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ และทำให้ผู้ที่ป่วยเป็น มะเร็งกล่องเสียง ออกเสียง หายใจ และกลืนอาหารได้ยากลำบากยิ่งขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง คือ

สูบบุหรี่ – การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดสำหรับ มะเร็งกล่องเสียง โดยผู้ที่สูบบุหรี่จัด จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 20 เท่า

ดื่มแอลกอฮอล์ – แอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นเยื่อบุกล่องเสียงให้เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้

การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุกล่องเสียง – เช่น คอ หรือหลอดลมที่เกิดการอักเสบเรื้อรัง

มลพิษทางอากาศ – การสูดดมอากาศที่เป็นพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่น ควัน และสารเคมี จากโรงงานอุตสาหกรรม

ติดเชื้อไวรัส – ติดเชื้อไวรัส จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีการแบ่งเซลล์ผิดปกติ

การฉายรังสี – การฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณคอสามารถก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งได้

พันธุกรรม – เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

อาการของมะเร็งกล่องเสียง

อาการของมะเร็งกล่องเสียงจะขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของก้อนมะเร็ง มีอาการโดยทั่วไปดังนี้

  • เสียงแหบเรื้อรัง และมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เกี่ยวกับเสียง
  • กลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วเจ็บ หรือมีอาการสำลัก
  • ไอ ไอเรื้อรัง อาจมีเสมหะปนเลือดในผู้ป่วยบางราย รู้สึกคล้ายคัดจมูก หายใจไม่ออก หรือมี น้ำมูกไหลลงคอ
  • เจ็บคอเรื้อรัง รู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ที่คอ
  • หายใจมีเสียงฮื๊ด เป็นเสียงแหลมที่แสดงว่าทางเดินหายใจแคบลงหรือถูกขัดขวาง
  • หายใจลำบาก หรือติดขัด
  • ลมหายใจเหม็น
  • มีก้อนโตที่คอ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ปวดหู

การตรวจหาโรคมะเร็งกล่องเสียง

วิธีการตรวจว่า คุณเป็นโรคมะเร็งกล่องเสียงหรือไม่ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

• โดยเบื้องต้น แพทย์จะเริ่มจากการตรวจประวัติคนไข้ และตรวจดูสภาพร่างกายภายนอกก่อน โดยจะคลำดูช่วงคอเหนือกระดูกไหปลาร้า เพื่อตรวจโรคต่อม และก้อนอื่น ๆ รวมถึงเสียงกรอบแกรบที่กล่องเสียง ส่องดูช่องปาก และคอหอยที่สามารถมองเห็นได้ และใช้กระจกส่องลงไปที่กล่องเสียงเพื่อตรวจดูเนื้องอก

• ถ้าแพทย์สงสัยว่ามีก้อนมะเร็ง จะต้องทำการตัดเนื้อต้องสงสัยเพื่อส่งไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง

• ก่อนการส่องกล้องตรวจกล่องเสียง และการตัดชิ้นเนื้อ จะมีการตรวจเลือด ปัสสาวะ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการดมยาสลบ

อาจมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น เอ็กซเรย์ปอด เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไร หรือมีการแพร่กระจายไปที่ใดบ้าง

มะเร็งกล่องเสียง

การรักษามะเร็งกล่องเสียง

แนวทางการรักษา จะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และระยะของเนื้องอก ซึ่งอาจรวมการผ่าตัด รังสีบำบัด หรือเคมีบำบัด หรือหลายวิธีรวมกัน โดยแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ เช่น หมอหูคอจมูก และหมอโรคมะเร็ง สำหรับคนไข้ที่มีอาการรุนแรง อาจต้องตัดกล่องเสียงบางส่วน หรือทั้งหมด


มะเร็งกล่องเสียงรักษาหายได้หรือไม่?

แม้ว่ามะเร็งกล่องเสียง จะถูกจัดให้เป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลาง แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งโอกาสในการรักษาให้หายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น…
• ระยะโรค
• ส่วนของกล่องเสียงที่เกิดโรค
• อายุ
• สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงระยะแรก หากรับการรักษาด้วยการฉายรังสีจนหายขาด ก็จะสามารถรักษากล่องเสียงเอาไว้ และผู้ป่วยจะสามารถพูดได้ตามปกติ ส่วนการรักษาด้วยการผ่าตัด อาจทำให้ผู้ป่วยมีเสียงแหบบ้าง แต่ก็จะสามารถทานอาหารได้ตามปกติ

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงในระยะลุกลาม และต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น ผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด ร่วมกับการฉายรังสี หรือใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย หลังผ่าตัด ผู้ป่วยมักทานอาหารได้เป็นปกติ แต่จะพูดไม่ได้ และต้องฝึกการพูดแบบไม่มีกล่องเสียง หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพูด ขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษา

แม้ว่ามะเร็งกล่องเสียง จะเป็นโรคที่มีความรุนแรงปานกลาง และสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่นั่นหมายความว่า ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเท่านั้น เราจึงควรสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ และรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่เหมาะสม ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

solmax

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save