ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ?

27 มิ.ย. 24

ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น

 

วันนี้ GedGoodLife ได้หยิบคำถามสุขภาพที่น่าสนใจจากทางบ้าน มาตอบให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัยกัน ในหัวข้อเรื่อง “ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ?” จะว่าไป โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นเรื่องที่ถูกถามเข้ามาใน บอร์ดสุขภาพ Ask Expert อยู่เป็นประจำ เพราะ ยิ่งนานไปวัน คนไทยก็ยิ่งเผชิญกับโรคภูมิแพ้มากขึ้น ฉะนั้นเรามาดูกันเลยว่า จะจัดการกับโรคภูมิแพ้อากาศอย่างไรได้บ้าง!

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

ทำความเข้าใจกับ โรคภูมิแพ้อากาศ

โรคภูมิแพ้อากาศ มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis) – คือ โรคที่ร่างกายเราตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่เราหายใจเข้าไป แล้วเกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก ภูมิแพ้อากาศเป็นโรคภูมิแพ้อันดับ 1 ในไทย และทั่วโลก สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ทุกช่วงอายุเลยทีเดียว

สารก่อภูมิแพ้อากาศยอดฮิต ที่คนไทยแพ้กันเยอะ

  • ฝุ่นละออง ฝุ่นPM2.5 ไรฝุ่น
  • สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ เช่น หมา แมว เป็นต้น
  • ละอองของเกสรดอกไม้ ดอกหญ้าต่าง ๆ ตามฤดูกาล
  • กรรมพันธุ์ ก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของโรคนี้
  • อากาศเย็น เช่น อากาศช่วงเช้าตรู่ กับ กลางคืน หรือเพิ่งอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ
  • ควันธูป ควันบุหรี่
  • สารเคมี น้ำหอม

อาการภูมิแพ้อากาศ

  • คันในจมูก หรืออาจคันไปถึงในคอ
  • มีอาการคันตา หรืออาจคันไปถึงหูด้วย
  • จามบ่อย จามไม่หยุด และอาจมีอาการไอร่วมด้วย
  • มีน้ำมูกใส ๆ
  • มีอาการแน่นจมูก หรือหายใจทางจมูกไม่สะดวก
  • มีอาการหูอื้อ
  • มีน้ำมูกไหลลงคอ มีเสียงดังในหู
ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น

ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ?

“สวัสดีครับ อยากถามเรื่องวิธีการ รักษา หรือ ยา น่ะครับ ว่า ใช้ยาอะไร ได้บ้างครับ แสบจมูกและมีน้ำมูกไหล มีจาม และ เสมหะด้วยครับ แล้ว มันจะรักษา หายได้ ขาดไหม หรือ ให้มันเบาบางลงน่ะครับ เวลาโดนฝุ่นด้วย บางครั้ง ป่วยเลยก็มี ขอบคุณครับ” ขอบคุณคำถามจากทางบ้าน ของคุณปัญญาพงษ์ GedGoodlife ขออนุญาตตอบให้ดังนี้…

วิธีรักษาภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น

สิ่งสำคัญอันดับแรกของการรักษาภูมิแพ้อากาศ คือ เรารู้ต้องก่อนว่า เราแพ้อะไร เมื่อรู้แล้ว ก็ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้นั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • เมื่อรู้ตัวว่าแพ้ฝุ่น ก็ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ ที่มีฝุ่นเยอะ
  • ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องเผชิญกับฝุ่น เช่น ตอนทำความสะอาดบ้าน หรือทำงานข้างนอกในสถานที่ที่มีฝุ่นมาก และในช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 เยอะ ก็ยิ่งต้องใส่หน้ากากอนามัยให้ดีเลยทีเดียว

นอกการจากหลีกเลี่ยงฝุ่นแล้ว ยังมีการดูแลรักษาอาการแพ้ฝุ่น ด้วย 5 วิธีนี้

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก อย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง, เดินเร็ว, ขึ้นลงบันได, ว่ายน้ำ, ขี่จักรยานฝืด, เตะฟุตบอล, เล่นเทนนิส, แบดมินตัน หรือบาสเกตบอล วันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน จะช่วยให้ความไวของเยื่อบุจมูก และหลอดลมลดลง ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น

2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

สังเกตไหมว่า หากมีอาการ จาม น้ำมูกไหล เพียงแค่เรานอนเยอะ ๆ ในวันที่เป็นภูมิแพ้ ตื่นเช้ามาอาการก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะการนอนพักผ่อนมาก ๆ ทำให้ร่างกายเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อมาต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี

3. หมั่นกำจัดฝุ่นในบ้านอยู่เสมอ

อยู่บ้านเฉย ๆ ก็สามารถเป็นภูมิแพ้ได้ เพราะในบ้านมีฝุ่นมากเหลือเกิน ต้องหมั่นทำความสะอาดบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะในห้องนอน ควรซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำ ผึ่งแดดร้อน ๆ เพื่อฆ่าไรฝุ่น และก็อย่าลืมสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าจมูก

4. ติดตั้งเครื่องกรองอากาศไว้ในห้อง

ในปัจจุบันเครื่องกรองอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีติดบ้านไว้ ยิ่งในช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 สูง ยิ่งต้องเปิดเครื่องกรองอากาศช่วยไว้เลย และในปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องกรองอากาศ ก็พัฒนาไปมากขึ้น สามารถช่วยให้อากาศสะอาด สดชื่น ได้ดีมากขึ้นนั่นเอง

5. งดเลี้ยงสัตว์มีขนอย่าง หมา แมว

ผู้ที่มีอาการแพ้ฝุ่น มักจะแพ้ขนแมว ขนหมา ร่วมด้วย ฉะนั้นถ้าหากเป็นไปได้ ก็ควรเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน แต่ถ้าหากเป็นทาสหมา ทาสแมว ก็คงปฏิเสธความน่ารักของเจ้านายไม่ได้จริง ๆ อย่างน้อย ก็อย่าให้ถึงขั้นเอาขึ้นมาหลับนอนบนเตียงด้วย จะช่วยลดความเสี่ยงภูมิแพ้ได้มากขึ้น

ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น กินยาอะไรได้บ้าง?

เมื่อมีอาการภูมิแพ้ จาม น้ำมูกไหล สามารถกินยาแก้แพ้ เพื่อบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เนื่องจากภูมิแพ้ได้ (ยาแก้แพ้ไม่สามารถแก้โรคไข้หวัด ไข้ขึ้นสูงได้ เมื่อมีไข้ให้กินยาลดไข้) หน้าที่ของยาแก้แพ้ จะไปออกฤทธิ์ยับยั้งผลของฮีสตามีน (histamine) ซึ่งมีผลทําให้การหลั่งน้ำมูก และอาการแพ้ อาการคันลดลง

ในปัจจุบัน ยาแก้แพ้มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 คือ ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม หรือ ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทําให้ง่วงซึม
  • กลุ่มที่ 2 คือ ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มที่ไม่ทําให้ง่วงนอน

โดยยาแก้แพ้กลุ่มที่ 2 จะมีความปลอดภัยกว่า เพราะ ผ่านเข้าสมองได้น้อยมากจึงทําให้ง่วงซึมน้อยกว่านั่นเอง ตัวอย่าง เช่น ลอราทาดีน (loratadine) เซทิริซีน (cetirizine) เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine) และอื่น ๆ

ฉะนั้นหากมีอาการภูมิแพ้กำเริบ แนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ 2 มีความปลอดภัยกว่า กินเพียงวันละ 1 เม็ด ไม่ทำให้ง่วงระหว่างวัน และสามารถรักษาอาการแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรในการเลือกยาแก้แพ้

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save