วิธีรับมือกับฝุ่น PM2.5 และโรคระบาดของทางเดินหายใจ

14 มิ.ย. 24

วิธีรับมือกับฝุ่น PM2.5 และโรคระบาดของทางเดินหายใจ

ระยะนี้มีอุบัติการณ์โรคระบาดของระบบทางเดินหายใจมาอีกระรอก ทำให้หวั่นไหวว่าเมื่อไหร่เราจะมีอิสระทางลมหายใจกันสักที เมื่อเราพบว่า WHO ได้ประกาศเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่จะระบาดปี 2567 โดยปีนี้ชื่อสายพันธุ์ มีทั้ง Thailand ทั้ง Phuket โดยปกติแล้วไข้หวัดใหญ่ ในแต่ละปีอาจจะมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมขึ้นมา

ซึ่งในปี 2566 มี 2 กลุ่ม 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A / H1N1, H3N2 และสายพันธุ์ B/ Yamagata, Victoria โดยในประเทศไทย สามารถพบการระบาดได้ทั้งปี แต่จะพบมากขึ้นในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งในปี 2566 นี้ พบผู้ป่วยมากกว่าปี 2565 ถึง 3 เท่า โดยล่าสุด มีจำนวนผู้ป่วยมากถึง 138,766 ราย อัตราป่วยเพิ่มสูงถึงกว่า 200 รายต่อประชาการแสนราย

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

และเหมือนถูกหวยซ้ำซ้อนเมื่อหนาวนี้เริ่มมีฝุ่น PM2.5 มาเยือน โดยจากสถิติพบว่ามีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจกว่า 500 คน ในช่วงที่ฝุ่นเกิน 76 ไมครอน ติดต่อกันเกิน 3 วัน มีอาการตั้งแต่ แสบตา คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ หอบ

ฝุ่น PM2.5 สามารถเดินทางเข้าสู่ปอดได้ในระดับเซลล์

ก่อนจะถึงการป้องกัน เราต้องเข้าใจก่อนว่า PM2.5 ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ผสมกัน เช่น ควัน เขม่า อนุภาคของเหลวหรือของแข็ง เชื้อรา แบคทีเรีย ละอองเกสร และสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ ขึ้นกับสถานที่ เมื่อสูดดมเข้าไป มันสามารถเดินทางเข้าสู่ปอดได้ในระดับเซลล์ โดยฝุ่นจิ๋วนี้มาจากหลายแหล่ง ทั้งจาการเผาไหม้ ควันจากท่อไอเสีย การผลิตไฟฟ้า และการปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยในกรุงเทพมหานครมากกว่า 50% มาจากการขนส่งทางถนน

ผลกระทบของฝุ่น PM2.5

  • ผลจาก PM2.5 ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย
  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจคือ หลอดลมอักเสบ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจกำเริบ
  • อุบัติเหตุเส้นเลือดสมอง ไขมันเลือดสูงผิดปกติ คนที่เป็นเบาหวาน เกิดการดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น
  • เกิดโรคไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นจนถึงโรคมะเร็ง

และจากการติดตามสุขภาพจิตกว่า 389,185 คน ในสหราชอาณาจักรตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลว่าสัมผัสมลพิษ เป็นเวลากว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2020 พบว่า เกิดผู้ป่วยซึมเศร้า 13,131 คน และอีกกว่า 15,835 คนเป็นโรควิตกกังวล จึงไม่แปลกใจที่งานวิจัยใหม่พบว่า PM 2.5 ไนโตรเจนไดออกไซด์ที่มาจากรถติด หรือจากมลพิษของโรงงาน ทำให้คนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

วิธีรับมือกับฝุ่น PM2.5 และโรคระบาดของทางเดินหายใจ

  • ติดตามรายงานสภาพอากาศ และระดับ PM2.5 อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรใช้เครื่องฟอกอากาศในบ้าน หรืออาคาร ที่สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้
  • สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือสวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องออกจากบ้าน หรืออาคาร
  • สวมแว่นกันลม กันฝุ่น สวมเสื้อแขนยาวมิดชิด
  • ล้างมือสม่ำเสมอ
  • ลดเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคารโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ PM2.5 สูง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง
วิธีรับมือกับฝุ่น PM2.5 และโรคระบาดของทางเดินหายใจ

กินสารอาหารที่ช่วยลดกระบวนการอักเสบ

กลุ่ม วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก ที่มีมากใน ข้าวกล้อง ผักสีเขียวเข้ม ผักสีส้ม ที่มีเบต้าแคโรทีน เช่น บรอกโคลี แครอท ฟักทอง ส่วนวิตามินบี 12 มีอยู่ในเนื้อสัตว์ เนื้อแดง เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จะส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูง การได้รับวิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และโฟเลต สามารถลดโฮโมซิสเตอีนในเลือดได้

กลุ่มวิตามิน E และ Healthy fat กรดไขมันจำเป็น น้ำมันมะกอก น้ำมันงาม้อน อะโวคาโดพบได้ในปลาหลายชนิด รวมทั้งอะโวคาโด วอลนัท เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดธัญพืช ถั่ว ไข่แดมีการศึกษาทางคลินิกในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีฝุ่น PM 2.5 สูง การกินน้ำมันปลา 2 กรัม/วัน ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้

กลุ่มวิตามิน C  ซัลโฟราเฟน และ เคอซิติน อยู่ในบรอกโคลี และผักกะหล่ำดอกต่าง ๆ ผลไม้สด มะขามป้อม ตรีผลา ส้ม สตรอว์เบอร์รี แอปเปิ้ล แตงโม มะละกอ ทับทิม ผักสีเขียวเข้ม ใบบัวบก ผักโขม หัวหอม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยลดความเสียหายทางพันธุกรรมของ DNA เมื่อสัมผัสกับอนุมูลอิสระที่จะทำลายเซลล์ และมีการศึกษาพบว่าการได้รับวิตามินซีจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และลดอาการแพ้ต่อระบบต่าง ๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ อาการคันตา อาการคัน แสบร้อน อาการคัน และแสบร้อน

นอกจากนี้ให้ ลดการกินอาหารปิ้ง ย่าง ทอด สารใส่สี ใส่กลิ่น ผงชูรสซึ่งเร่งปฏิกิริยาอักเสบในร่างกาย รวมถึงการนอนดึก และความเครียดก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน เมื่อรู้อย่างนี้ อย่าลืมป้องกันกันนะคะ

 

บทความโดย พญ. กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล
แพทย์เวชศาสตร์ป้องกันผู้มีประสบการณ์ด้าน Integrative Medicine กว่า 20 ปี

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save