ดูแลสุขภาพ กรดไหลย้อนรักษาได้

26 พ.ย. 24

นายแพทย์ยงยุทธ หวังรุ่งทรัพย์
สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

เนื่องจากวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองที่ต้องตื่นแต่เช้า ทำทุกอย่างด้วยความเร่งรีบ ตั้งแต่เดินทางออกจากบ้านไปถึงที่ทำงาน ขณะทำงานก็ต้องเหน็ดเหนื่อยกับงานทั้งวันจนถึงเย็น พอตกเย็นเลิกงาน ก็ต้องเร่งรีบกลับบ้าน กว่าจะถึงบ้านก็ค่ำ บางท่านกว่าจะได้รับประทานอาหารเย็นได้ก็ดึก จากนั้น ก็ต้องรีบนอนหลับพักผ่อน เพื่อจะได้ตื่นเช้าในวันรุ่งขึ้น และต่อสู้กับวิถีชีวิตเช่นนี้อีก เป็นวัฏจักรเช่นนี้ตลอดไป จนดูกลายเป็นเรื่องปกติ

วิถีชีวิตแบบสังคมเมืองเช่นนี้ จึงกลายเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคหลายอย่างตามมาโดยไม่รู้ตัว โรคหนึ่งที่พบเห็นกันบ่อยในปัจจุบันคือ โรคกรดไหลย้อน หรือที่เรียกกันว่า GERD (Gastro-Esophageal Reflux Disease)

โรคกรดไหลย้อน หรือ GERD คือ ภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร ทำให้มีอาการจุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกเหนือลิ้นปี่ ที่เรียกว่า Heartburn

การรักษาโรคกรดไหลย้อน หรือ GERD
ในกรณีที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อน แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย การรักษาโรคกรดไหลย้อนอย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ลดความรุนแรงของโรค รวมถึงลดการเกิดซ้า (relapse) ของโรคได้ การรักษาโรคกรดไหลย้อนมีหลายวิธี ดังนี้

1. รับประทานยาลดกรด

a. ยากลุ่ม Antacid จะลดอาการกรดไหลย้อน โดยไปทาปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ทาให้อาการโรคกรดไหลย้อนทุเลาลงได้แต่หากรับประทานยาลดกรดกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ถ่ายเหลวเกิดเปลี่ยนแปลงระดับ
สารแคลเซี่ยมและแมกนีเซียมในร่างกายซึ่งอาจเป็นอันตรายในผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย
b. ยากลุ่มยับยั้ง H2 (H2 Blocker or H2RA) ซึ่งจะยับยั้งการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยา cimetidine (Tagamet), famotidine (Pepcid), และ nizatidine (Axid, Tazac)
c. ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม (PPI: Proton pump inhibitor) เป็นตัวยาที่ยับยั้งการสร้างโปรตีนที่จาเป็นต่อการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร ปัจจุบันเป็นยา
ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ ยา Omeprazole, Esomeprazole, Rabeprazole, Pantoprazole, Lansoprazole, Dexlansoprazoleโดยทั่วไป
ต้องรับประทานยานี้ติดต่อกันนาน 6-8 สัปดาห์ บางรายอาจต้องรับประทานยาเป็นเวลานานหลายเดือน ทั้งนี้ ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
d. ยากลุ่ม potassium-competitive acid blocker (P-CABs) ซี่งเป็นยากลุ่มใหม่ที่ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารโดยตรง ได้แก่ Vonoprazan (Voquezna) ต้องรับประทานยาติดต่อกันนาน 4-8 สัปดาห์
e. บางกรณี อาจต้องใช้ยาเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร เช่น ยา metoclopramide ร่วมด้วย

2. ศัลยกรรมผ่าตัด ส่วนใหญ่มักใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย หากการรักษาด้วยยาและปรับพฤติกรรมไม่ได้ผล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ มักใช้
กับผู้ป่วยในรายต่อไปนี้

a. ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีภาวะแทรกซ้อนสูง
b. ผู้ป่วยที่จาเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย หรือซ่อมแก้ไขกระเพาะเลื่อนผ่านกะบังลม (Hiatal hernia)
c. ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาได้ผลดี แต่ไม่ต้องการรับประทานยาอีกต่อไป และต้องการผ่าตัด
d. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อผลค้างเคียงของการใช้ยา หรือไม่สามารถรับประทานยาอย่างสม่าเสมอได้
e. ผู้ป่วยที่อายุน้อย

การทำศัลยกรรมมีหลายวิธี แต่โดยหลักการ แบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ ดังนี้

1) เย็บหูรูดหลอดอาหาร ด้วยวิธีเทคนิค TIF
2) ผ่าตัดเย็บหูรูดหลอดอาหาร

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน หรือ GERD
แม้ว่าโรคกรดไหลย้อน จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมาน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น หากท่านมีอาการของโรคนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป หากละเลยไม่รับการรักษา เมื่อเป็นเรื้อรัง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ดังนี้

1) หลอดอาหารอักเสบ จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเวลากลืนอาหาร
2) แผลในหลอดอาหาร จะมีอาการกลืนลำบาก เจ็บ และอาจมีเลือดออก เช่น อาเจียนเป็นเลือด หรือมีถ่ายดำ
3) หลอดอาหารตีบตัน เป็นผลจากแผลเป็นในหลอดอาหาร ทำให้กลืนอาหารลำบาก และอาเจียนบ่อย
4) หากรุนแรง อาจเกิดเป็นมะเร็งหลอดอาหาร มีอาการเจ็บขณะกลืนอาหาร กลืนลำบาก อาเจียนบ่อย และน้ำหนักลด
5) ปัญหาเรื่องปอด หากกรดไหลย้อนถึงคอบ่อย ๆ อาจทำให้สำลักเข้าปอด ทำให้เสียงแหบ ไอแห้ง ๆ บางรายอาจเกิด
เนื้อปอดอักเสบหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)หรือแม้กระทั้งเป็นโรคปอดบวม (Pneumonia) ได้

หากท่านพบว่า ท่านมีอาการเหล่านี้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบพบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย พร้อมรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

อย่าลืม การรักษาแต่เนิ่น ๆ ย่อมมีผลต่อการรักษา และไม่นำไปสู่ผลที่อาจเป็นอันตรายต่อไป..ในภายหลัง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save