ปวดท้องแบบไหน… เสี่ยงแท้งลูก!

27 มิ.ย. 24

แท้งลูก

 

คุณแม่เกือบทุกคนที่ตั้งครรภ์มักจะมีอาการ ปวดท้อง เป็นปกติอยู่แล้ว บางคนปวดมากบางคนปวดน้อย แต่ในบางรายปวดมาก เจ็บมากจนอาจถึงขั้น แท้งลูก ก็มีให้เห็นกันมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่สุดสำหรับคุณแม่ท้องก็ว่าได้ แล้วปวดท้องแบบไหนล่ะ ที่อันตรายถึงขั้นแท้งลูกได้ เราหาคำตอบมาให้แล้ว…

ทำไมถึงมีอาการ ปวดท้องขณะตั้งครรภ์ ?

การตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนร่างกายอาจรับไม่ทัน และทำให้มีอาการปวดท้อง สาเหตุสำคัญก็คือ มดลูกของคุณแม่กำลังเริ่มขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นนั่นเอง โดยอาจเริ่มปวดท้องทางด้านขวาหรือซ้าย ปวดแบบนิด ๆ หน่อย ๆ เนื่องจากการฝังตัวของตัวอ่อน แต่จะเกิดขึ้นไม่นาน

นอกจากนี้ ระหว่างตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีเพศสัมพันธ์ เดินออกกำลังกาย หรือขึ้นลงบันได ก็อาจทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้ เนื่องจากมีการใช้งานของกล้ามเนื้อในส่วนนั้น ๆ

จะทำอย่างไรเมื่อมีอาการ ปวดท้องระหว่างตั้งครรภ์?

ถ้าอาการปวดท้องน้อยของคุณแม่ เป็นอาการปวดท้องแบบปกติ ไม่เกี่ยวกับภาวะแท้งคุกคาม ก็สามารถบรรเทาอาการปวดท้องได้ ดังนี้

• หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ทันที แล้วนั่งหรือนอนให้ร่างกายผ่อนคลาย อาการจะดีขึ้น

• เมื่อนอนลงแล้ว ให้สังเกตว่ามีอาการปวดข้างไหน ลองนอนตะแคงซ้ายหรือขวา เพื่อสังเกตว่า นอนด้านไหนแล้วอาการปวดท้องลดลง

• อาบน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือกินยาลดปวด

• ถ้ามีอาการปวดมาก ทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือขอคำปรึกษา

อาการปวดท้องที่อาจนำไปสู่การ แท้งลูก ได้ มีดังนี้

1. ปวดท้องเนื่องจากอาการติดเชื้อ
อาการปวดท้องที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้เกิดจากการตั้งครรภ์ แต่เกิดจากการติดเชื้อจากกระเพาะอาหาร ปวดไส้ติ่ง หรืออาหารเป็นพิษได้ ซึ่งจะมีอาการอาเจียน และอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

2. อาการปวดท้อง เนื่องจากการ ตั้งครรภ์นอกมดลูก
การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากความผิดปกติของท่อนำไข่ ที่ไม่สามารถนำไข่ไปฝังตัว ยังจุดที่เหมาะสมในมดลูกได้ ตัวอ่อนจึงฝังตัวบริเวณท่อนำไข่ (ปีกมดลูก) ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกได้ และทำให้เกิดอาการปวดท้อง หากไม่ได้รับการรักษา เนื้อเยื่อจะเจริญเติบโต สร้างความเสียหายแก่ท่อนำไข่ และเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้

โดยสัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูก ที่มีอาการป่วยรุนแรง และควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที ได้แก่
• ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
• มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดจำนวนมาก
• ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดบริเวณทวารหนัก
• หน้ามืดเป็นลม วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
• มีภาวะช็อก

ภาวะ ท้องนอกมดลูก เป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยง ที่อาจก่อความเสียหายต่ออวัยวะในช่องท้องและระบบสืบพันธุ์ ที่นำไปสู่การท้องนอกมดลูกได้ เช่น

• มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้ออักเสบบริเวณอุ้งเชิงกราน

• รักษาสุขภาพ ไม่สูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงในการท้องนอกมดลูกสูง

3. อาการปวดท้องเนื่องจากการคลอดก่อนกำหนด ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ก่อนจะ แท้งลูก นั้น จะเกิดภาวะแท้งคุกคาม หรือภาวะใกล้แท้งก่อน…

ภาวะแท้งคุกคาม เป็นภาวะที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หรือนำไปสู่การแท้งบุตร มักจะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

อาการแท้งคุกคาม
• มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด (โดยปกติแล้วไม่ควรมีเลือดออก)
• อาจมีอาการปวดท้องน้อยคล้ายกับประจำเดือน มีลักษณะปวดแบบบีบ ๆ บิด ๆ ร่วมกับการมีเลือดออก หรืออาจจะไม่มีก็ได้

ภาวะแท้งคุกคามนี้ เกิดขึ้นจากการลอกตัวของรก ที่เกาะติดอยู่บนผนังมดลูก เมื่อรกลอกตัว ก็จะมีเลือดออกซึมแทรกอยู่ระหว่างตัวรกกับผนังมดลูก และเลือดบางส่วนไหลซึมออกมาทางปากมดลูก และช่องคลอด มักมีสาเหตุมาจาก

• คุณพ่อ หรือคุณแม่ มีอายุมากเกินไป คุณแม่ที่มีอายุมาก จะมีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามมากกว่า โดยคุณแม่ที่มีอายุเกิน 35 ปี จะมีโอกาสแท้ง 15% และถ้าอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสแท้งมากกว่า 30%
• คุณแม่มีประวัติแท้งมาก่อน
• การได้รับอุบัติเหตุในขณะตั้งครรภ์ที่บริเวณท้องน้อย ทำให้การฝังตัวของทารกที่ผนังมดลูกไม่ดีพอ แต่ก็ไม่รุนแรงถึงกับทำให้ แท้งลูก ในทันที
• เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์
• มดลูก โพรงมดลูก ปากมดลูก มีรูปร่างผิดปกติ หรือเกิดความผิดปกติ เช่น มีเนื้องอกหรือพังผืดในมดลูก
• ผลจากการขูดมดลูก
• คุณแม่มีการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อในช่องคลอด หัดเยอรมัน ซีเอ็มวีไวรัส
• การขาดฮอร์โมนเพศ ที่ช่วยประคับประคองการตั้งครรภ์ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาพอจะรับการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูกได้
• คุณแม่มีความเครียด มีโรคประจำตัว เป็นผู้สูบบุหรี่ หรือเป็นผู้สูบบุหรี่มือสอง (คุณพ่อหรือคนใกล้ชิดเป็นผู้สูบ)
• การดื่มสุรา หรือกาแฟมากเกินไป
• การใช้สารเสพติดประเภทโคเคน ซึ่งทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง และการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย

วิธีป้องกันการแท้งคุกคาม ที่สามารถป้องกันได้
• รักษาและควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่แล้วให้ดี แก้ไขหรือผ่าตัดความผิดปกติของโพรงมดลูก ให้เรียบร้อยก่อนตั้งครรภ์
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบทั้ง 5 หมู่ งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกฮอล์ทุกชนิด
• หลีกเลี่ยงการใช้ยาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น
• ไม่ยกของหนักในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
• ระมัดระวังเรื่องการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ
• ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ และฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์

นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุของการแท้งคุกคามที่ไม่สามารถป้องกันได้อีกด้วย เช่น โครโมโซมของทารกผิดปกติ ระบบสืบพันธุ์ของคุณแม่มีความผิดปกติ เป็นต้น

4. ปวดท้องคลอดก่อนกำหนด ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
อยู่ระหว่างสัปดาห์ที่ 23-37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการปวดตรงเชิงกราน หรือแถวหัวหน่าว ถ้าคุณแม่มีมดลูกที่ต่ำลงมากแล้ว บางคนอาจมีอาการน้ำคล่ำแตก ซึ่งเป็นอาการของการคลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดออกมาในช่วงนี้ โดยมากแล้วจะมีชีวิตรอดต่อไป

ตามที่กล่าวไปข้างต้น หากมีอาการปวดท้อง เจ็บท้องมาก หรือพบว่ามีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด รู้สึกปวดหลังผิดปกติ ปวดท้องน้อยผิดปกติ ให้รีบไปหาหมอหรือไปโรงพยาบาลทันที เพื่อจะได้รับการตรวจรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save