สรุปข้อมูล โรคฝีดาษ Mpox ที่กำลังระบาดหนักในไทย!

17 ก.ค. 24

โรคฝีดาษ Mpox

 

สถานการณ์การระบาดของ “โรคฝีดาษ Mpox” หรือ “โรคฝีดาษลิง” ค่อนข้างน่าเป็นห่วงในประเทศไทย แม้อาการของโรคจะไม่รุนแรงเท่า โควิด-19 แต่ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ฉะนั้นอย่าได้ประมาทไป! มาดูกันว่า โรคฝีดาษ Mpox  มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา ป้องกันอย่างไร และใครคือกลุ่มเสี่ยง GED good life จัดมาให้ครบทุกข้อที่ควรรู้แล้ว ติดตามกันต่อเลย!

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

รู้จักกับ โรคฝีดาษ Mpox

โรคฝีดาษ Mpox” หรือชื่อเก่า “โรคฝีดาษลิง”* เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus (เป็นกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือโรคไข้ทรพิษ) โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ร้อยละ 99 เป็นผู้ชาย ซึ่งมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมา โดยติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์แบบชายรักชาย

* ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น “Mpox” เพื่อไม่ต้องการให้ใช้ชื่อสัตว์ สถานที่ บุคคลมาตั้งชื่อให้เป็นตราบาป เช่น ถ้าเรียกฝีดาษลิง ทุกคนจะไปโทษลิง ซึ่งที่จริงแล้ว ลิงไม่ใช่ต้นเหตุของการระบาดครั้งนี้

• การระบาด

โรคฝีดาษ Mpox เป็นเชื้อที่มาจากสัตว์ แต่สามารถก่อโรคในคนได้ ค้นพบครั้งแรกในลิง เมื่อปี พ.ศ.2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก มาจากลิงที่ส่งมาจากสิงคโปร์เพื่อใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบโรคนี้ในมนุษย์ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา ก่อนจะพบการระบาดข้ามพรมแดนไปยังราว ๆ 100 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

สายพันธุ์หลักของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ

  1. สายพันธุ์แอฟริกากลาง (clade 1) พบอัตราการเสียชีวิต 10%
  2. สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (clade 2) พบอัตราการเสียชีวิต 1-2%

• สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค

พาหะของโรคฝีดาษลิง ได้แก่ “สัตว์ฟันแทะ” เช่น กระรอก หนู แพรีด็อก ฯลฯ แต่พบครั้งแรกในลิง จึงตั้งชื่อโรคนี้ว่า ฝีดาษลิง

• การติดต่อ และระยะฝักตัวของโรค

เชื้อไวรัส Mpox มีระยะฟักตัวอยู่ที่ 10-14 วัน (หรืออาจพบได้ถึง 21 วัน) เข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังที่มีบาดแผล และเยื่อบุต่าง ๆ หลังจากนั้นเชื้อไวรัสก็แพร่เข้าสู่ระบบน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง โดยผู้ป่วยจะเริ่มแพร่เชื้อตอนที่ผื่นเริ่มขึ้น สามารถแพร่กระจายสู่คนได้ 2 ทาง คือ

  1. จากสัตว์สู่คน – เช่น สัตว์จำพวกหนู กระรอก และลิง ผ่านทางการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคโดยตรง หรือสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งของสัตว์ที่เป็นโรค
  2. จากคนสู่คน – ผ่านทางการสูดดมละอองฝอยขนาดใหญ่จากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย หรือผ่านทางการสัมผัสรอยโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วยโดยตรง
  3. จากแม่สู่ลูกผ่านทางรก – มีรายงาน ทารกเสียชีวิตเนื่องจากติดเชื้อฝีดาษ Mpox จากแม่ หลังคลอดก่อนกำหนด

สถานการณ์การติดเชื้อโรคฝีดาษ Mpox ในประเทศไทย

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ประกาศว่า ประเทศไทยพบผู้ป่วยฝีดาษ Mpox รายแรกวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี โดยเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกที่มีความรุนแรงน้อย หลังจากนั้นก็มีการระบาดเพิ่มขึ้นในประเทศไทยเรื่อยมา

จนถึงวันที่ 11 เดือน สิงหาคม 2566 พบผู้เสียชีวิตรายแรกในไทย เป็นเพศชาย อายุ 34 ปี มีประวัติเป็นไข้ ปวดศีรษะ คัน มีผื่น และตุ่มขึ้นบริเวณผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และเชื้อซิฟิลิส

ข้อมูลกรมควมคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 ส.ค. 2566 มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทยรวม 217 ราย เป็นชาวต่างชาติ 30 ราย คนไทย 187 ราย อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 20-64 ปี โดยพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว

“หมอยง” เผยไทยป่วยฝีดาษ Mpox 120 คน สูงสุดในอาเซียน!

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan โดยส่วนหนึ่งระบุว่า “ประเทศไทยมีรายงานแล้วมากกว่า 120 คน สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะเดือน มิ.ย. พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” จากรายงานเดือน สิงหาคม 2566

กลุ่มเสี่ยงต้องระวัง!

  1. บุคคลที่เกิดหลังปี 2523 เพราะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน
  2. มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนแปลกหน้า โดยเฉพาะในชายรักชาย
  3. บุคลากรทางการแพทย์

ลักษณะอาการของ โรคฝีดาษ Mpox

เมื่อได้รับเชื้อฝีดาษ Mpox จะมีอาการเกิดขึ้นได้ภายใน 6-13 วัน หรืออาจพบได้ถึง 21 วัน (หรือที่เรียกว่าระยะฟักตัว) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้

1. ระยะแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย (อาการนำ) ระยะนี้อาจมีอาการได้นาน 5 วัน

  • ในช่วง 2 วันแรก ผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย ที่สำคัญคือ ต่อมน้ำเหลืองโต
  • หนาวสั่น เหงื่อออก
  • ปวดศีรษะ ปวดหลัง
  • เจ็บคอ ไอ

2. ระยะผื่น (อาการทางผิวหนัง) พบหลังจากมีไข้ประมาณ 2-3 วัน

  • ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มแบน จากนั้นจะค่อย ๆ นูนเป็นตุ่มน้ำใส เป็นตุ่มหนอง (อาจดูเหมือนคล้ายกับสิว)
  • หลังจากนั้น 2-4 สัปดาห์ ผื่นก็จะตกสะเก็ด และลอกหลุดไปในที่สุด หลังจากที่ผื่นหลุดลอกไป บางรายยังหลงเหลือรอยดำอยู่ได้

รอยโรคบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ ได้ ได้แก่

  • โพรงปาก ร้อยละ 70
  • อวัยวะเพศ ร้อยละ 30
  • เยื่อบุตา และกระจกตา ร้อยละ 20

โรคฝีดาษ Mpox เป็นโรคที่หายได้เอง ระยะแสดงอาการตั้งแต่ 2 ถึง 4 สัปดาห์ แต่อาการรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่นานนี้อัตราการป่วยตาย (case fatality ratio) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3-6 มักเกิดจากการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่ปอด แล้วลามไปที่สมอง เกิดอาการอักเสบที่สมอง

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของ โรคฝีดาษ Mpox

  • การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ และ ปอดอักเสบ

ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจพบได้

  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร อาเจียน ถ่ายเหลว
  • แผลที่กระจกตา
  • ภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
  • ภาวะกลืนลำบาก
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

“3 สัมผัส” ต้องระวัง! พาติดเชื้อฝีดาษ Mpox

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การอยู่ร่วมบ้านกันแล้วติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 สัมผัสนี้

  1. สัมผัสแนบชิด เช่น การมีกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ที่แม้จะสวมถุงยางอนามัยก็ติดเชื้อได้ เพราะตุ่มหนองของผู้ป่วยอาจจะโดนผิวบริเวณอื่น ๆ ทำให้เกิดการติดเชื้อ
  2. สัมผัสใกล้ชิด เช่น นอนเตียงเดียวกัน ใช้ห้องน้ำร่วมกัน ส่วนการอยู่ใกล้กัน หรือแค่จับมือกัน ความเสี่ยงจะลดลงมา
  3. สัมผัสทางอ้อม เช่น ผู้ป่วยไปนอนโรงแรม แล้วพนักงานไปทำความสะอาดห้อง การกินเลี้ยงทั่วไปที่ไม่ได้ใกล้มากจนแนบชิดกัน การนั่งกินข้าวร่วมโต๊ะกัน เป็นต้น

การวินิจฉัยและรักษาโรคฝีดาษ Mpox

การวินิจฉัย : สามารถตรวจสารพันธุกรรม (PCR) ของเชื้อได้จาก น้ำลาย น้ำ หรือหนองจากตุ่มแผล

การรักษา : ยังไม่มียามาตรฐานเฉพาะเจาะจงแต่สามารถใช้ยาที่รักษาฝีดาษคนมารักษาได้ เช่น ยา Tecovirimat และ Cidofovir, Brincidofovir

หากเราพบผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่สงสัยติดเชื้อ จะต้องแยกผู้เสี่ยงติดเชื้อออกจากผู้อื่น เป็นเวลา 21-28 วัน จนกว่าผื่นจะตกสะเก็ด ในกรณีที่เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกันกับผู้เสี่ยงติดเชื้อ (อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน, เป็นสามีภรรยากัน, มีความสัมพันธ์กัน) ให้สังเกตอาการของตนเอง และแยกตัวเองออกจากผู้อื่นเช่นเดียวกัน

วิธีป้องกัน

  • ฉีดวัคซีน Smallpox ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคฝีดาษ Mpox สูงถึงร้อยละ 80-85
  • ควรออกห่างจากผู้ติดเชื้อ และไม่สัมผัสร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณผื่น ตุ่ม หนอง ของผู้ติดเชื้อ
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
  • สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่

 

อ้างอิง : 1. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ 2. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. รพ. ศิครินทร์ 5. thaigov 6. bangkokbiznews 7. matichon

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save