กินเยอะ แต่ผอม! สัญญาณเตือน “โรค เบาหวาน”

27 มิ.ย. 24

โรค เบาหวาน

 

โรคเบาหวาน (Diabetes) โรคที่ใครได้ยินแล้วก็ต้องรู้จัก แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่แค่คนอ้วนเท่านั้น ที่เป็นโรคเบาหวานได้ คนที่รูปร่างผอมเพรียวเอง ก็มีสิทธิ์เป็นโรคเบาหวานได้เหมือนกัน! เพราะเมื่อผอมแล้ว ความระมัดระวังเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะลดลง จนอาจทำให้เป็น โรค เบาหวาน โดยไม่รู้ตัวได้

โรค เบาหวาน คืออะไร?

โรค เบาหวาน คือ ความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนผลิตออกมาไม่เพียงพอ หรือใช้ไม่ได้ตามปกติ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนาน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสียหาย จนทำลายอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต สมอง หัวใจ

ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด โดยปกติจะอยู่ที่ 70-120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดเกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไตจะกรองน้ำตาลออกมา ทำให้สามารถตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้

โดยโรคเบาหวานนั้น โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
• เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
• เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน อาการจะแสดงแบบค่อยเป็นค่อยไป

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นเบาหวาน

อาการที่บ่งชี้ว่า คุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน มีได้หลายอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อยครั้ง ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย เป็นแผลหรือฝีง่าย แต่หายยาก คันตามผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์ ตาพร่ามัว ชาปลายมือปลายเท้า ความรู้สึกทางเพศลดลง หากบิดามารดาเป็น เบาหวาน มาก่อน ลูกก็จะมีโอกาสเป็นเบาหวาน เพิ่มมากขึ้นถึง 6-10 เท่า

อาการของโรคเบาหวาน

ในระยะแรก โรคเบาหวานจะไม่แสดงอาการผิดปกติ โดยอาจตรวจพบโรคเบาหวาน เมื่อตรวจพบภาวะแทรกซ้อน อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิด จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่อาการที่พบส่วนใหญ่ คือ
• หิวน้ำมาก หิวน้ำบ่อย
• ปากแห้ง
ปัสสาวะบ่อย
• หิวบ่อย กินจุ
• น้ำหนักลด หรือเพิ่มอย่างผิดปกติ
• สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด
• เหนื่อยง่าย
• มีอาการชา โดยเฉพาะมือ และขา
• บาดแผลหายยาก

การตรวจหาเบาหวาน

ในการตรวจหาเบาหวานนั้น แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วย และบุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัยการตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยวิธีวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
• การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เวลาใดก็ได้
• การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
• การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี
• การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลิน ต่อระดับน้ำตาลในเลือด

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

เบาหวาน เป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมเรื่องการกินอาหาร และการดูแลรักษาสุขภาพ อย่างถูกต้อง ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือด สูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือด ที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกาย จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น
• โรคแทรกซ้อนที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต
• โรคแทรกซ้อน ชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
• โรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วนได้ นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ และการแท้งบุตรเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคเบาหวาน

การรักษาผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลิน เข้าไปทดแทนในร่างกาย ด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่กับการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในระยะเบื้องต้น สามารถรักษาได้ด้วย การกินอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยา หรือฉีดอินซูลินทดแทน เช่นเดียวกับโรคเบาหวานประเภทที่ 1

การป้องกันโรคเบาหวาน

สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ โดยไม่จำเป็นว่าอ้วน หรือผอม เน้นการกินอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save