แม่ควรสอน… EF EQ IQ สำคัญต่อลูก อย่างไร?

27 มิ.ย. 24

ef eq iq

 

อนาคตอันสดใสของลูกน้อย คือสิ่งที่ผู้เป็นแม่ทุกคนเฝ้าฝันอยากเห็น แต่ด้วยการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการวัดค่ามาตรฐานต่าง ๆ อันมากมายในปัจจุบันนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต่างก็ต้องปวดหัวว่า ควรจะเตรียมความพร้อมให้กับลูกน้อยในด้านใดบ้าง และเรื่องไหนที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องสำคัญอย่าง IQ และ EQ ไหนยังจะมีคำใหม่อย่าง EF อีก แต่ละอย่างนั้นสำคัญอย่างไร และระหว่าง EF EQ IQ อะไรสำคัญกว่ากัน วันนี้ เรามีคำตอบมาให้แล้ว

มาทำความรู้จักกับ… EF EQ IQ

IQ

ไอคิว หรือ Intelligence Quotient คือ ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา รวมถึงการคิด การเชื่อมโยง การใช้เหตุผล การคำนวณ เป็นความสามารถที่สามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ ด้วยแบบทดสอบทางสติปัญญา โดยการคำนวณระดับของไอคิว จะเป็นการเทียบระดับการเรียนรู้ หรือพัฒนาการของสมองว่า อยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับอายุจริง โดยคนส่วนใหญ่ มีระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 90-110 คนที่มีระดับไอคิวสูง จะเรียนหนังสือเก่ง สมองรับรู้ได้ว่องไว โดยระดับค่าไอคิวทั้งหมด มีดังนี้

ระดับค่าไอคิว 
• ฉลาดมาก ( very superior) 130 ขึ้นไป
• ฉลาด ( superior) 120-129
• สูงกว่าปกติ ( bright normal) 110-119
• ปกติ ( normal) 90-109
• ต่ำกว่าปกติ ( dull normal) 80-89
• คาบเส้น ( borderline) 70-79
• ปัญญาอ่อน ( mental retardation) ต่ำกว่า 70

ระดับไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และอาจแก้ไขได้ยาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถจัดสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยพัฒนาสมองให้ลูกได้ ด้วยการกระตุ้นอย่างเหมาะสม

EQ

อีคิว หรือ Emotional Quotient คือ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ ความสามารถทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเอง และผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับ หรือควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้

กรมสุขภาพจิต ได้มีการพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยจะประเมินจากความสามารถ 3 ด้าน คือ ดี เก่ง และ สุข
ดี – ควบคุมอารมณ์ และความต้องการของตนเองได้ เห็นใจผู้อื่น มีความรับผิดชอบ
เก่ง – รู้จักตนเอง มีแรงจูงใจในตนเอง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
สุข – ภูมิใจในตนเอง พอใจในชีวิต มีความรู้สึกสุขสงบ

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วยุ ล่อตา ล่อใจ ซึ่งอาจทำให้เด็กหลงไปในทางที่ผิดได้ EQ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องสอนให้เด็กเข้าใจ เพื่อรู้จักแยกแยะ และเรียนรู้ในสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ

EF

EF หรือ Executive Functions เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) หรือการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ รวมไปถึงการไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย การวางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำ และเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ และการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ

โดย EF ประกอบไปด้วยทักษะ 9 ด้าน ได้แก่
1. Working memory – ความจำที่นำมาใช้งาน
2. Inhibitory Control – การยั้งคิด ไตร่ตรอง
3. Shift / Cognitive Flexibility – การยืดหยุ่นทางความคิด
4. Focus / Attention – การใส่ใจจดจ่อ
5. Emotional Control – การควบคุมอารมณ์
6. Planning and Organizing – การวางแผน และการจัดระบบการทำงาน
7. Self -Monitoring – การรู้จักประเมินตนเอง
8. Initiating – การริเริ่ม และลงมือทำงานตามที่คิด
9. Goal-Directed Persistence – ความพากเพียร เพื่อให้จุดมุ่งหมายประสบความสำเร็จ

จะเห็นได้ว่า คุณลักษณะของ EF นั้น ต่างก็เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้ และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต มีงานวิจัยออกมาชี้ชัดแล้วว่า ช่วงวัย 3-6 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจหลักการพัฒนาทักษะ EF ให้ชัดเจน แล้วสังเกตว่า ลูกมีจุดแข็ง EF ในด้านใด มีจุดอ่อนด้านใด เพื่อฝึกฝนเสริมสร้างในด้านนั้น โดยพัฒนาผ่านประสบการณ์ในชีวิตจริง ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน

แล้วระหว่าง EF EQ IQ อะไรสำคัญที่สุด?

เนื่องจากไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ และเป็นสิ่งที่ส่งผลที่มีการวัดค่าได้อย่างชัดเจน ซึ่งก็คือผลการเรียน คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับไอคิวมากกว่าอย่างอื่น เพราะเมื่อเด็กเรียนเก่ง ก็จะมีแต่คนชื่นชม ต่างจากเด็กที่เรียนได้ระดับปานกลาง หรือเด็กที่มีผลการเรียนแย่ มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้งที่เด็กที่ไม่เก่งในด้านวิชาการ อาจจะมีความสามารถในด้านอื่นได้ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ

ส่วนอีคิว แม้ว่าจะได้รับความสนใจ และมีการให้ความสำคัญมากขึ้นในช่วงหลัง เพราะเป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ในขณะที่ทักษะ EF กลับยังไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก แต่ก็… มีนักวิชาการระดับโลกออกมาบ่งชี้แล้วว่า ทักษะ EF นั้น มีความสำคัญมากกว่าทั้ง IQ และ EQ เนื่องจากเป็นทักษะสำคัญในการชีวิตที่ทุกคนต้องมี เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทักษะที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อความสำเร็จในชีวิตของลูกน้อย

 

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save