“โรคหอบหืด” รู้ทันอาการ เซฟชีวิตคุณได้!

27 มิ.ย. 24

โรคหอบหืด

 

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมาประกาศเตือนว่า โรคหอบหืด เป็นโรคที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลก และส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย จึงยิ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรรู้จัก และให้ความสนใจ… โรคหอบหืด จะมีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา ป้องกันอย่างไร มาติดตามกันเลย!

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

ทำความรู้จักกับ โรคหอบหืด

โรคหอบหืด หรือ โรคหืด (Asthma) เป็นโรคเรื้อรังระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากการอักเสบของผนังหลอดลมเรื้อรัง ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ส่วนมากจะไม่มีอันตรายร้ายแรง ยกเว้นในรายที่เป็นมาก อาจทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นถาวร หรือทำเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

สถิติโรคหืดในประเทศไทย

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกล่าสุดในปี 2017 พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคหืดถึง 6,808 ราย โดยคิดเป็น 7.76 รายต่อประชากร 1 แสนคน หรือ 1.3% ของคนที่เสียชีวิตทั้งหมด

– เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการเสียชีวิตจากโรคนี้ในระดับโลก พบว่า ประเทศไทยจัดเป็นอันดับที่ 76 ของโลก โดยเป็นอันดับที่ 5 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

– เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการเสียชีวิตของคนไทยจากโรคอื่น ๆ พบว่า โรคหืดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในคนไทยเป็นอันดับที่ 19 โดยอันดับที่ 1-3 คือ หลอดเลือดหัวใจ ไข้หวัดใหญ่/ปอดบวม และโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหอบหืด อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

สาเหตุของโรคหอบหืด

  • พันธุกรรม คนในครอบครัว พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง มีประวัติเป็นโรคหืดหรือโรคภูมิแพ้อื่น ๆ
  • สารก่อภูมิแพ้ ได้รับการกระตุ้น เช่น ขนสัตว์ ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้
  • ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • สิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ เช่น อากาศเย็น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ มลภาวะในอากาศ
  • การออกกำลังกาย บางคนอาจมีอาการหอบหืดที่เกิดจากการออกกำลังกาย ออกกำลังกายหนักเกินไป หรือออกกำลังกายในที่อากาศแห้ง
  • ความเครียด ส่งผลต่อการหายใจที่ผิดปกติ อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง หายใจลำบาก

อ่านเพิ่มเติม –
1. ภูมิแพ้เกสรดอกไม้ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
2. ไรฝุ่น ภัยเงียบ ร้ายลึก สาเหตุของโรคภูมิแพ้!
3. ฟัดด้วยทีไร ฮัดเช่ยทุกที! ภูมิแพ้ขนสัตว์ สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

สัญญาณเตือนของ โรคหอบหืด

อาการสำคัญที่เป็นสัญญาณของโรคหอบหืดมีทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ ไอเรื้อรัง หายใจมีเสียงวี้ด เหนื่อยหอบ หากพบว่ามีครบทั้ง 3 อาการ ทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นของการเป็นโรคหืด

  • มีอาการไอ สัญญาณเตือนเริ่มแรกของโรคหอบหืด คือ อาจมีอาการไอมากในตอนกลางคืน หรือตอนเช้ามืด
  • หายใจมีเสียงหวีด เวลาหายใจออกมีเสียงหวีด แต่ถ้าอาการกำเริบมากขึ้น อาจจะมีเสียงหวีดทั้งตอนหายใจเข้า และหายใจออก
  • แน่นหน้าอก หายใจติดขัด มีอาการเหนื่อยหอบซ้ำ ๆ อาการมักเกิดขึ้นตอนกลางคืน
  • มีอาการของโรคภูมิแพ้ หรือประวัติโรคภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก คันคอ เป็นหวัด จาม เคยเป็นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น
  • เกิดอาการหอบหืดเมื่อมีสิ่งกระตุ้น เช่น ควันบุหรี่ ไรฝุ่นบ้าน ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ยา
  • ออกกำลังกายแล้วเกิดอาการวิงเวียน ไอ เจ็บหน้าอก ไม่สามารถวิ่งต่อเนื่องได้นานเกินห้านาที หรือมีอาการหอบหืดหลังการออกกำลังกาย อาจกำลังมีอาการของโรคหอบหืด

ถ้ามีอาการรุนแรงต้องรีบปรึกษาแพทย์ และต้องใช้ยาควบคุมอาการที่แพทย์จ่าย ต้องใช้ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับยาพ่นฉุกเฉินที่ใช้ขยายหลอดลมหรือที่เรียกกันว่า ‘ยาสูด’ อันนี้ใช้เมื่อมีอาการหอบกำเริบเท่านั้น และทุกคนต้องมีติดตัว

การรักษา โรคหอบหืด

การรักษาโรคหอบหืดโดยการใช้ยา แพทย์จะเลือกใช้ยาตามความรุนแรงของโรค แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1. ยาบรรเทาอาการ (reliever) เป็นยาออกฤทธิ์บรรเทาอาการของภาวะหลอดลมตีบ บรรเทาเสียงหวีดในอก แน่นหน้าอก หายใจแรง

2. ยาพ่นควบคุมอาการ (controller) เป็นยาที่ต้องใช้ทุกวัน และใช้เป็นเวลานาน เพื่อคุมอาการของโรคหอบหืด ยาจะลดการอักเสบ และความไวของหลอดลม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด

ดูแลป้องกันโรคหอบหืด ด้วยหลัก 4Es

ศ.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล แนะนำวิธีการดูแลรักษาคนไข้โรคหอบหืด นอกจากการใช้ยาแล้ว ควรดูแลตัวเองด้วยวิธีการ 4Es ดังนี้

  • ออกกำลังกาย (Exercise) ควรออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง แต่ควรออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ การออกกำลังกายเบา ๆ บางอย่าง เช่น การว่ายน้ำ เป็นการช่วยฝึกควบคุมการหายใจให้ดี พร้อมกับได้บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอีกด้วย
  • กินอาหารดีมีประโยชน์ (Eating) เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ พยายามเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดการแพ้ของตัวเอง เช่น อาหารทะเล
  • สิ่งแวดล้อม (Environment) ให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นและสารก่อภูมิแพ้ ทั้งฝุ่นละออง ควันพิษ ควันบุหรี่ ละอองเกสร สารเคมี หรือ สาเหตุที่จะทำให้ตัวเองเกิดอาการภูมิแพ้ได้
  • อารมณ์ความรู้สึก (Emotion) ความเครียดวิตกกังวล ก็ส่งผลต่อร่างกายได้ ควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย สบาย ไม่เครียด ฝึกหายใจช้า ๆ เป็นจังหวะ เหมือนการฝึกทำสมาธิ

เกร็ดความรู้เรื่อง วันหืดโลก

วันโรคหืดโลก หรือ world asthma day มีขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2541 โดยองค์การอนามัยโลก และองค์การหืดโลก Global Initiative for Asthma ซึ่งมีขึ้นในวันอังคารแรกของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

อ้างอิง : สสส. / รพ. รามาธิบดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save