โรคภูมิแพ้ผิวหนัง มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษาอย่างไร?

27 มิ.ย. 24
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่มีอาการกำเริบเป็นระยะ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ คนที่เป็นโรคนี้จะมีโอกาสรักษา หายขาดได้ไหม ทำยังไงให้เลิกทรมานจากโรคนี้เสียที! Ged Good Life มีคำตอบรออยู่แล้ว มาติดตามกันเลย

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

ทำความรู้จักกับ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Skin Allergy / Atopic dermatitis / Eczema) เป็นโรคที่พบในเด็กได้ประมาณ 10-20% มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งพบที่ 1-3% เท่านั้น เป็นโรคที่มีอาการกำเริบเป็นระยะ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม เพราะส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง มักจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น โรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากอะไร?

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดไปจากปกติ เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง

ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบ

– สิ่งแวดล้อม ละอองเกสร ไรฝุ่น แมลง ขนสัตว์

– สารเคมี สบู่ ผงซักฟอก ที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะละลายไขมัน ทำให้ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากขึ้นได้

– แพ้อาหาร เด็กที่เป็นเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาจเกิดจากได้รับการกระตุ้นจากอาหาร อาหารที่แพ้บ่อย ได้แก่ ไข่ นม ถั่ว

– เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ทำให้เกิดผื่นขึ้นได้

– ฤดูกาล บางคนเป็นช่วงอากาศหนาว อากาศแห้ง ชื้น แต่บางคนก็อาการกำเริบช่วงหน้าร้อน ที่เหงื่อออกเยอะ ทำให้ผิวอักเสบ เกิดผื่นคัน

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง มีอาการอย่างไร?

อาการที่สังเกตได้เอง คือ จะมีผื่นบวม ผื่นแดง หรือผิวแห้งแตก เป็นขุย คันมาก ยิ่งเกายิ่งคัน อาจจะมีตุ่มน้ำด้วย

อาการของ ภูมิแพ้ผิวหนัง แบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะเฉียบพลัน

  • มีผื่นบวมแดง และคัน
  • มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ
  • อาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

ระยะกึ่งเฉียบพลัน

  • ผื่นแดงคัน ตุ่มแดง มีขุย
  • อาจมีตุ่มน้ำบ้าง แต่ไม่มีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

ระยะเรื้อรัง

  • ผื่นจะไม่แดงมาก แต่จะเป็นสีน้ำตาลแดง
  • อาจนูนหนา คัน มีขุย เห็นร่องผิวหนังชัดเจน

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง มักเกิดบริเวณไหน?

โรคนี้เกิดขึ้นได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็กทารก คือ ใบหน้า ซอกคอ ด้านหน้าของแขน ขา ส่วนผู้ใหญ่ ที่พบบ่อย คือ ด้านในข้อพับแขน ขา หรือด้านนอกของข้อเข่า ข้อศอก รอบคอ

การรักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังด้วยยา

– ยาสเตียรอยด์ชนิดทา โดยแนะนำให้ใช้ยาทาเสตียรอยด์ที่มีฤทธิ์อ่อน ถึงปานกลาง ซึ่งความแรงต่างกันไปตามบริเวณผื่น และอายุ ทาวันละ 2 ครั้ง เมื่ออาการจะดีขึ้น ควรลด หรือหยุดใช้ยา

– ยาทาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งแพทย์จะสั่งยาให้ ไม่ควรซื้อยามาใช้เองเพราะจะมีผลข้างเคียงในระยะยาว

– กินยาแก้แพ้ ได้แก่ ยาต้านฮีสตามีน ยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการผื่นคัน

– กินยาฆ่าเชื้อ กรณีที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย แพทย์อาจให้กินยาปฎิชีวนะ หรือยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานกรณีที่อาการผื่นรุนแรงมาก

วิธีสังเกต ผื่นผิวหนังที่เกิดจากโรคภูมิแพ้

ผู้ป่วยมักมีผื่นคันร่วมกับมีประวัติภูมิแพ้ของตนเอง และครอบครัว เช่น โรคภูมิแพ้อากาศ โรคหอบหืด มีประวัติการแพ้อาหาร มักมีผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ มีการกระจายของผื่นที่มีลักษณะเฉพาะของโรค คือ มีผื่นคันบริเวณใบหน้า ซอกคอ และด้านนอกของแขนขาในวัยทารก และเด็กเล็ก

ส่วนในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ มักพบผื่นดังกล่าวบริเวณข้อพับแขนขา นอกจากนี้ยังอาจมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ผิวแห้ง กลากน้ำนม ขนคุด และเส้นลายมือชัดลึก เป็นต้น

ภูมิแพ้ผิวหนัง เป็น ๆ หาย ๆ รักษาให้หายขาดได้ไหม?

หลายคนที่ต้องเจอกับอาการภูมิแพ้ผิวหนัง เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวหาย บางคนเป็นมาเป็นสิบปีก็ยังไม่หาย คงรู้สึกว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้ชีวิตลำบาก และเป็นที่น่าเสียดายที่ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับสารระคายเคือง สารก่อภูมิแพ้ ก็ทำให้เกิดอาการขึ้นได้เสมอ แต่เราสามารถดูแลตัวเองให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้อาการภูมิแพ้กลับมาได้

วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกล ภูมิแพ้ผิวหนัง

– สังเกตพฤติกรรมตัวเอง หลายคนที่มีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง เป็น ๆ หาย ๆ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองแพ้อะไร ต้องคอยหมั่นสังเกตตัวเอง ว่าอาการกำเริบขึ้นตอนไหน ตอนกินอะไร ทำอะไร อากาศแบบไหน ซึ่งทั้งพฤติกรรม และ ส่ิงแวดล้อมรอบตัว ล้วนมีผลต่อการเกิด ภูมิแพ้ผิวหนัง ได้ทั้งนั้น

– ดูแลความสะอาดเสมอ พยายามอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย และล้างมืออยู่เสมอ

– หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง ที่จะทำให้แพ้ คันมากขึ้น เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์​ สารเคมี

– ระวังอาหารที่จะทำให้แพ้ อาหารบางชนิด เป็นตัวกระตุ้นให้อาการแพ้ ผื่นคัน มากขึ้น เช่น นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง

– ระวังไม่ให้ป่วย ดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ระวังไม่ให้เจ็บป่วย เพราะหากป่วย อาจทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และอาจเกิดภูมิแพ้ผิวหนังขึ้นได้เช่นกัน

– อาบน้ำอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน ซึ่งอาจทำให้ผิวแห้ง แตกเป็นขุย ใช้สบู่อ่อน ๆ ที่ไม่มีน้ำหอม ไม่มีสารกันเสีย ที่ระคายเคืองกับผิว ไม่อาบน้ำนานเกินไป คือ ไม่ควรเกิน 5-10 นาที

– บำรุงผิวให้ชุ่มชื่น ทาครีม หรือโลชั่นทุกครั้ง หลังอาบน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับผิว ป้องกันผิวแห้ง ระคายเคือง แต่ต้องเลือกโลชั่นที่อ่อนโยนกับผิว ไม่มีสารกันเสีย หรือ น้ำหอม

– หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดมาก เนื้อหยาบหนา หรือผ้าขนสัตว์ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว

– ระวังสารเคมีในผงซักผอก เลือกใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอกที่ไม่มีสารเคมี หรือน้ำหอมแรงๆ

– ระวังไม่ให้เหงื่อออกเยอะ ถ้าแพ้เหงื่อ อาจจะต้องระวังไม่ให้เหงื่อออกเยอะ หรือรีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย อย่างปล่อยให้เหงื่อออกนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save