เผยสถิติฝุ่น PM 2.5 กับข้อเท็จจริงที่อาจไขปริศนา คืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับทุกคน

27 มิ.ย. 24

เผยสถิติฝุ่น PM 2.5

 

ในบรรดามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่มีสาเหตุจากการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับสรรพสิ่งมีชีวิตบนโลก คงไม่มีปัญหาใดที่จะถูกพูดถึงมากเท่ากับ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งความร้อนแรงของปัญหาฝุ่นที่ว่านี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงในวงกว้างทั้งในเชิงวิชาการอย่างนักวิจัย หน่วยงานทางด้านการดูแลและกำกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และในระดับประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาดังกล่าว เพื่อที่จะหาวิธีแก้ปัญหาในระยะยาว ตั้งต้นจากการหาสืบหาสาเหตุ ที่มาของปัญหาเพื่อทำให้การแก้ไขปัญหานั้นบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

จึงเป็นที่มาของหัวข้อบทความของเราในวันนี้ เผยสถิติฝุ่น PM 2.5 กับข้อเท็จจริงที่อาจไขปริศนาคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับเราทุกคน

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

เผยสถิติฝุ่น PM 2.5 กับข้อเท็จจริงที่อาจไขปริศนา คืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับทุกคน

 1. เกิดปรากฏการณ์อันคล้ายครอบแก้วที่ทำให้การถ่ายเทของอากาศในเมืองไม่ดีเท่าที่ควร

พวกเราเคยสังเกตกันไหมว่า ในช่วงเวลาที่ค่าฝุ่น PM 2.5 มีความรุนแรงในระดับสูง ๆ นั้น ลักษณะอากาศในเวลานั้นมักจะเป็น บรรยากาศที่ลมสงบนิ่ง ใบไม้ไม่ไหวติง ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้ลักษณะอากาศปิดคล้ายมีฝาครอบมาครอบเมืองไว้ทั้งเมือง ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถลอยตัวขึ้นสู่อากาศได้ และไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหน ฝุ่นละอองเหล่านั้นเองก็จะลอยค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศนานขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ บางครั้งกินเวลาอยู่หลายวัน และอยู่ยาวนานถึงหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง มีนาคม ของทุกปี

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก ๆ ลอยอยู่ในระดับต่ำ ดูคล้ายหมอก แต่อากาศโดยทั่วไปก็ยังอบอ้าว ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกสัมผัสถึงอบอ้าว ลมสงบนิ่ง ใบไม้ไม่ไหวติง ก็ควรตรวจสอบค่าฝุ่นก่อนที่จะวางแผนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการสัมผัสฝุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. ผู้ที่พักอาศัยอยู่บนอาคารสูงมีความเสี่ยงมากกว่าที่พักอาศัยแนวราบ

ผลสรุปจากงานวิจัยทดสอบโดยทำการติดตั้งเครื่องตรวจจับปริมาณฝุ่นละอองในเมือง ในช่วงเวลาตั้งแต่ 19.00-07.00 น. พบว่า ช่วงเวลาที่พบค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มานั้น จะเป็นในช่วงเวลาเช้าของวัน เพราะในเวลากลางคืนฝุ่นมักจะสามารถลอยตัวสูงขึ้นได้ดี และลอยต่ำลงมาอีกครั้งในช่วงเช้าของวัน

จึงทำให้พวกเราสามารถมองเห็นปริมาณฝุ่นจำนวนมากในช่วงเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปี และต้นปี ทำเอาหลายคนอาจเคยสับสนว่าวิสัยทัศน์ที่ลดลงในเวลาเช้าชั้น เกิดจากมีหมอกเข้าปกคลุมในเมือง ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสัญญาณเตือนภัยอันตรายที่ธรรมชาติกำลังส่งมาถึงพวกเรา

และงานวิจัยยังเผยให้เห็นว่า ค่าฝุ่นในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม ตึกสูง จึงทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าผู้อยู่อาศัยในบ้านแนวราบอย่างบ้านชั้นเดียวหรือบ้านสองชั้น และด้วยเหตุนี้เองคนในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมองหาบ้านพักอาศัยในแนวราบตามพื้นที่โดยรอบของเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร กันมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีรูปแบบการเดินทางสามารถอย่างรถไฟฟ้าคอยเชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

เผยสถิติฝุ่น PM 2.5

3. แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 มาจากปัญหาการจราจรสูงสุด

ในระยะเริ่มแรกที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่น PM2.5 นั้น สื่อต่าง ๆ ให้ความสนใจ และมุ่งเน้นการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเผาทำลายพื้นที่ป่าในช่วงหลังการทำการเกษตร รวมถึงการเกิดไฟไหม้ป่าในช่วงฤดูแล้ง จนทำให้คนส่วนใหม่เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ฝุ่นเหล่านั้นมีสาเหตุมาจากการเผาทำลาย

ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นพบว่า สาเหตุของการเกิดฝุ่น PM 2.5 นั้นมีแหล่งที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ และภาคอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ กล่าวคือ ปัญหากว่าครึ่ง 55% เกิดจากการใช้รถยนต์ ร้อยละ 15% มีสาเหตุมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง นั้นคิดเป็นสัดส่วนของปัญหาอยู่เพียง 14% จึงทำให้ในช่วงเวลาที่มีการหยุดเคลื่อนย้ายสัญจรของผู้คนอย่างในระหว่างที่มีการล็อกดาวน์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดนั้น ค่าฝุ่น PM 2.5 ตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกที่เคยมีปัญหาเหล่านี้ ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน

นอกจากนั้นแล้วจากการศึกษาค้นคว้ายังพบว่า ปัญหาการจราจรติดขัด ทำให้รถยนต์เคลื่อนตัวได้ช้าสลับกับการหยุดนิ่งนั้น ก็สามารถก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 ได้ทั้งสิ้นเพราะทุกครั้งที่มีการเหยียบเบรกจะเกิดการเสียดสีก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กตามมา ทำให้หลายคนมองว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง เช่นการโดยสารโดยรถสาธารณะ การใช้จักรยาน หรือรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการทำงานจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทางไปที่ทำงาน ก็เป็นสิ่งที่สามารถยับยั้งบรรเทาปัญหาได้ดีในระดับหนึ่งเช่นกัน

4. การปลูกต้นไม้ช่วยได้ แต่ต้องเข้าใจอย่างแท้จริง

 หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ไม้ฟอกอากาศ ซึ่งเป็นคำเรียกที่ติดปากเวลาไปเดินตามแหล่งขายต้นไม้ทั่วไป แต่การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวนั้น ต้องมีการวางแผนและทำอย่างเป็นระบบจึงจะเกิดผลที่เป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีบริเวณ ควรวางแผนที่จะปลูกตั้งแต่แนวรั้วของบ้าน โดยทำเป็นกำแพงป้องกันแนวลม ต้นไม้ที่นิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน เช่น อโศกอินเดีย สนประดิพัทธ์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณฝุ่นละออกจากภายนอกบริเวณ ถนนสัญจรไม่ได้พุ่งตรงเข้ามาสู่บริเวณบ้านได้อย่างไม่มีอะไรกั้น

สิ่งถัดไปที่อยากแนะนำให้ทำไปควบคู่กันก็คือการสร้างระบบหมุนเวียนอากาศ ทำให้อุณหภูมิรอบต้นไม้เย็นลง และเมื่อความร้อนเคลื่อนตัวเข้าหาอากาศเย็น เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศเป็นลมพัดเย็นๆ ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการพัดฝุ่นละอองให้เคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น การมีอ่างน้ำ สระน้ำอยู่รอบบริเวณบ้าน หรือการทำแนวระแนงกันความร้อนไม่ได้แสงสาดส่องเข้ามาสู่ตัวบ้านเกิดความพอดี ก็จะช่วยทำให้เกิดระบบหมุนเวียนถ่ายเทของอากาศอย่างเป็นธรรมชาติรอบ ๆ บ้าน

รวมถึงการปลูกไม้กระถาง ที่มีความสามารถในการดัก จับฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีใบหนา หยาบสาก มีขน เช่น ตะขบ ทองอุไร เสลา เป็นต้น ซึ่งการปลูกต้นไม้นั้นถือเป็นเรื่องที่ดี และควรมีในปริมาณมาก เพื่อที่จะสามารถลดปัญหามลภาวะทางอากาศได้อย่างแท้จริงนั้น

5. ไม่มีอะไรที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน หากไม่เริ่มที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 หลายคนตั้งความหวังกับการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ล้ำสมัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องฟอกอากาศ ทั้งที่ใช้ในอาคาร รวมถึงแบบพกพา หน้ากากกันฝุ่นละอองที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม รวมถังเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีความพยายามในการคิดค้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งดังกล่าวที่ว่ามานั้น เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายทางเท่านั้น

เพราะอุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านั้น ไม่ได้กำจัดให้ฝุ่นพวกนั้นหายไปจากโลกใบนี้ เมื่อถอดเครื่องฟอกอากาศที่ดักจับฝุ่นไว้ออกมาทำความสะอาด ฝุ่นก็กระจายตัวและลอยกลับมาในอากาศเช่นเดิม

ซึ่งเป็นโจทย์ที่ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เราควรจะวางแผนรับมือจัดการกับปัญหานี้อย่างไร แน่นอนว่า สิ่งหนึ่งที่เป็นคำตอบที่ไม่ต้องหาข้อพิสูจน์ก็คือ การคืนสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับธรรมชาติ การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่ไม่ก่อให้เกิดการเบียดเบียนธรรมชาติ

ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นการคัดแยกขยะ การเดินทางและการโดยสารโดยระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน การออกแบบอาคาร และที่พักอาศัยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้พลังงาน และอื่น ๆ คงไม่มีใครที่จะช่วยให้พวกเราทุกคนพ้นจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไปได้ นอกเสียจากตัวพวกเราทุกคนจะร่วมมือกันอย่างจริงจัง และเลิกมองปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save